ในโลกธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การจัดการข้อมูลทางการเงินอย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง และสิ่งที่ช่วยให้กระบวนการนี้เป็นไปอย่างมีระบบและแม่นยำคือ ระบบสารสนเทศทางการบัญชี (Accounting Information System: AIS) ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการบริหารจัดการข้อมูลทางการเงินขององค์กร
ระบบสารสนเทศทางการบัญชี หรือ Accounting Information System: AIS คือระบบที่ถูกออกแบบมาเพื่อรวบรวม บันทึก ประมวลผล และรายงานข้อมูลทางการเงิน (Financial Data) และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในองค์กร ให้เป็นสารสนเทศที่มีประโยชน์ในการตัดสินใจต่อผู้ใช้ โดยระบบนี้ช่วยให้ผู้ใช้งาน เช่น นักบัญชี ผู้บริหาร และผู้ตรวจสอบบัญชี สามารถตัดสินใจอย่างมีข้อมูลและความมั่นใจ โดยระบบจะให้ความสำคัญกับการรวบรวมข้อมูลและการติดต่อสื่อสารทางการเงิน แสดงให้เห็นภาพรวม จัดเก็บ จัดโครงสร้าง ประมวลข้อมูล ควบคุมความปลอดภัย และการรายงานสารสนเทศทางการบัญชี
1. การจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ
ระบบสารสนเทศทางการบัญชีช่วยให้ข้อมูลทางการเงินถูกจัดเก็บอย่างเป็นระเบียบ ลดความเสี่ยงจากความผิดพลาดในการบันทึกข้อมูล และเพิ่มความรวดเร็วในการเข้าถึงข้อมูล
2. การวางแผนและการตัดสินใจ
ผู้บริหารสามารถใช้ข้อมูลจากระบบสารสนเทศทางการบัญชีในการวางแผนธุรกิจและตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุน การควบคุมต้นทุน และการวิเคราะห์ผลกำไร
3. ความโปร่งใสและความน่าเชื่อถือ
ระบบที่มีมาตรฐานช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับองค์กร โดยเฉพาะในด้านการตรวจสอบบัญชีและการรายงานภาษี
4. การปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมาย
ระบบสารสนเทศทางการบัญชีช่วยให้องค์กรสามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดและกฎระเบียบทางการเงินได้อย่างถูกต้อง
ระบบสารสนเทศทางด้านการบัญชี จะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ
1. ระบบบัญชีทางการเงิน (Financial Accounting System) จะเป็นการบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นในรูปตัวเงิน จัดหมวดหมู่รายการต่าง ๆ สรุปผลและตีความหมายในงบการเงิน ได้แก่ งบกำไรขาดทุน งบดุล และงบกระแสเงินสด โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ นำเสนอสารสนเทศแก้ผู้ใช้และผู้ที่สนในข้อมูลทางการเงินขององค์การ เช่น นักลงทุน และเจ้าหนี้
2. ระบบบัญชีผู้บริหาร (Managerial Accounting System) เป็นการนำเสนอข้อมูลทางการเงินแก่ผู้บริหารเพื่อใช้ในการตัดสินใจทางธุรกิจ ระบบบัญชีจะประกอบด้วย บัญชีต้นทุน การงบประมาณ และการศึกษาระบบ ให้ความสำคัญกับการจัดการ สารสนเทศทางการบัญชีแก่ผู้ใช้ภายในองค์กร ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานในอนาคตของธุรกิจ
1.เป้าหมายและวัตถุประสงค์ (Goals and Objectives)
2.ข้อมูลเข้า (Inputs) เช่น ยอดขายสินค้า ราคาขายของกิจการ ราคาขายของคู่แข่งขัน ยอดขายของคู่แข่งขัน
3.ตัวประมวลผล (Processor) หรือเครื่องมือที่ใช้ในการแปลงสภาพจากข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ
4. ผลลัพธ์ (Output)
5. การป้อนกลับ (Feedback)
6. การเก็บรักษาข้อมูล (Data Storage)
7. คำสั่งและขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Instructions and Procedures)
8. ผู้ใช้ (Users)
9. การควบคุมและรักษา ความปลอดภัยของข้อมูล (Control and Security Measures)
1. การรวบรวมข้อมูล (Data Collection)
2. การประมวลผลข้อมูล (Data Processing)
3. การจัดการข้อมูล (Data Management)
4. การควบคุมข้อมูลและรักษาความปลอดภัยของข้อมูล (Data Control and Data Security)
5. การจัดทำสารสนเทศ (Information Generation)
- ลดเวลาและต้นทุน การทำงานอัตโนมัติช่วยลดเวลาที่ใช้ในกระบวนการบันทึกและวิเคราะห์ข้อมูล
- เพิ่มความถูกต้อง ลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดจากการทำงานด้วยมือ
- ปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลง ระบบช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ทางการเงินและข้อกำหนดใหม่ ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
ระบบสารสนเทศทางการบัญชี ไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการข้อมูลทางการเงิน แต่ยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้องค์กรสามารถตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ได้อย่างมีข้อมูลและแม่นยำ ด้วยการใช้งานระบบสารสนเทศทางการบัญชีอย่างเหมาะสม องค์กรสามารถเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขัน และเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แหล่งข้อมูล
ระบบสารสนเทศและระบบสารสนเทศทางการบัญชี
Accounting Information Systems