มักจะมีอาการปวดบริเวณท้ายทอย หรืออาจมีอาการปวดร้าวจากศีรษะลงมาถึงท้ายทอย มีทั้งแบบปวดตุบ ๆ หรือปวดจี๊ด ๆ โดยสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย ตั้งแต่วัยรุ่น หนุ่มสาว วัยทำงาน วัยกลางคน ไปจนถึงผู้สูงอายุ ทั้งนี้อาการปวดอาจแตกต่างกันไป เพราะการปวดท้ายทอยเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้
ปวดท้ายทอยจากความเครียดและกล้ามเนื้อตึงตัว (Tension headache)
เป็นสาเหตุยอดฮิตที่พบได้บ่อยมาก เมื่อมีการเกร็งของกล้ามเนื้อรอบศีรษะ ก็จะทำให้มีอาการปวดศีรษะและปวดร้าวลงมาถึงท้ายทอย ไหล่ บ่า รวมถึงอาจมีอาการปวดเบ้าตา หรือคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วยได้ สาเหตุการปวดท้ายทอยจากความเครียดและกล้ามเนื้อตึงตัว มักเกิดจากสาเหตุ ดังนี้
● การนอนหลับพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ
● อยู่ในภาวะเครียด หรือกดดัน
● บางคนอาจมีอาการหลังดื่มแอลกอฮอล์
อาการปวดท้ายทอยบริเวณเส้นประสาทต้นคอ (Occipital neuralgia)
มักพบในผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่จะมีอาการรู้สึกปวดจี๊ด ๆ อย่างรุนแรงที่ท้ายทอย คล้ายมีเข็มทิ่มหรือมีกระแสไฟฟ้าวิ่งผ่าน และอาการปวดจะรุนแรงขึ้นเมื่อหันคอ และอาจปวดท้ายทอยลามไปถึงศีรษะด้านใดด้านหนึ่งและกระบอกตาได้ด้วย โดยมาจากสาเหตุ ดังนี้
● หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทบริเวณต้นคอ
● กล้ามเนื้อหลังคอยึดตึง หรือกล้ามเนื้อหลังคออักเสบ
● การนอนตกหมอน หรือนอนผิดท่า
● มีเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อและเส้นประสาทที่ท้ายทอยไม่เพียงพอ
● มีโรคประจำตัวอื่น ๆ เช่น โรคเบาหวาน ทำให้เส้นประสาทเสียหาย
อาการปวดท้ายทอยจากกล้ามเนื้อหดเกร็ง (Muscle pain syndrome)
พบได้ในคนทุกวัย โดยเฉพาะในกลุ่มคนทำงานที่ต้องก้ม ๆ เงย ๆ ใช้คอมพิวเตอร์ หรือนั่งทำงานเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้กล้ามเนื้อเกร็งอยู่ตลอดเวลา จึงมีอาการปวดท้ายทอยได้ แต่อาการปวดแบบนี้สามารถหายเองได้ หากพักการใช้กล้ามเนื้อและทำการยืดกล้ามเนื้อบ่อย ๆ แต่ถ้ายังคงใช้งานเหมือนเดิมก็อาจทำให้กล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรังจนกลายเป็นพังผืดได้
ทั้งนี้การรักษาอาการปวดท้ายทอยอาจมีวิธีรักษาที่แตกต่างกันไปตามสาเหตุของอาการ แต่วิธีการรักษาทั่วไปที่เราสามารถบรรเทาอาการเจ็บปวดได้ด้วยตัวเองเบื้องต้นมีดังนี้
1. ทานยาแก้ปวด
หากรู้สึกปวดรุนแรงควรทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล, พอนสแตน, ยาคลายกล้ามเนื้อบางชนิด เป็นต้น แต่ยาแก้ปวดสามารถบรรเทาอาการปวดได้ชั่วคราวเท่านั้น และไม่ควรทานติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เพราะจะส่งผลต่อตับและไตได้
2. การประคบร้อน
ใช้ถุงประคบร้อนหรือผ้าชุบน้ำอุ่นมาวางบนท้ายทอยหรือส่วนที่ปวดและกดเบา ๆ ค้างไว้ ประมาณ 10 - 15 นาที จะช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น ทำให้มีออกซิเจนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อ ส่งผลให้อาการปวดดีขึ้นตามไปด้วย
3. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสม
หากมีอาการปวดท้ายทอยจากความเครียดและกล้ามเนื้อตึงตัว ก็ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หรือหากเกิดจากการปวดจากกล้ามเนื้อหดเกร็ง ก็ควรพักใช้กล้ามเนื้อ และหมั่นยืดเส้นบ่อย ๆ และหลีกเลี่ยงท่าก้ม ๆ เงย ๆ จนกว่าอาการปวดท้ายทอยจะหายหรือดีขึ้น
4. การนวด กดจุด
วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการปวดท้ายทอยจากกล้ามเนื้อหดเกร็ง แต่ควรทำการนวดและกดจุดอย่างถูกวิธีหรือทำโดยผู้เชี่ยวชาญ ถึงจะช่วยลดอาการตึง และช่วยคลายกล้ามเนื้อได้ ทั้งนี้วิธีนี้ไม่แนะนำในผู้ป่วยที่มีอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อแบบฉับพลันเพราะอาจทำให้อักเสบได้
● มีอาการปวดท้ายทอยเรื้องรังเป็นระยะเวลานาน
● มีอาการปวดจนส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
● มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ขาช้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง เคลื่อนไหวร่างกายได้ลำบาก ฯลฯ
● มีอาการเจ็บแปลบ ๆ จี๊ด ๆ เหมือนเข็มทิ่มบริเวณที่ปวด
● มีไข้ร่วมกับอาการปวดหลังหรือปวดท้ายทอย
● ปัสสาวะมีสีขุ่นและแสบขัด
● หลีกเลี่ยงการก้มหรือเงยคอต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน
● หากต้องนั่งทำงานเป็นเวลานาน ควรหาเวลาพักเพื่อลุกยืดเส้น หรือเปลี่ยนท่าทางบ้าง
● ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และหาเวลาผ่อนคลายเพื่อไม่ให้รู้สึกเครียดมากเกินไป
● ออกกำลังกายเป็นประจำ โดยบริหารกล้ามเนื้อต้นคอและท้ายทอยให้แข็งแรง ยืดหยุ่น ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อเกิดการอักเสบหรือบาดเจ็บได้ง่าย
แหล่งข้อมูล
- ปวดท้ายทอย อาการกวนใจ เกิดจากอะไรได้บ้าง?
- ปวดท้ายทอยและศีรษะ ปวดตุ้บๆ ควรทำอย่างไร
- สาเหตุและอาการ ปวดหลัง ปวดท้ายทอย
- ปวดหัวท้ายทอย เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง