ผู้ที่เป็นโรคลมชักส่วนใหญ่สามารถควบคุมอาการชักได้ด้วยยา อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่มีอาการชักต่อเนื่องมีความเสี่ยงที่จะเกิดการบาดเจ็บหรือหกล้มจากอาการชักได้ โดยเฉพาะเมื่อเกิดอาการชักโดยไม่มีการเตือนล่วงหน้า
1. ประคองผู้ป่วยให้นอนหรือนั่ง
2. สอดหมอนหรือวัสดุอ่อนนุ่มไว้ใต้ศีรษะ
3. คลายเสื้อผ้าให้หลวม
4. กวาดสิ่งของที่อยู่รอบๆ ออกให้หมด เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยกระแทกจนได้รับบาดเจ็บ
5. หากในปากผู้ป่วยมีอาหาร ของเหลว ให้นำออกให้หมด
6. ห้ามใส่สิ่งของใดๆ เข้าไปในปากของผู้ป่วย
7. หลังจากหยุดชัก ค่อยๆ พลิกตัวผู้ป่วยให้นอนตะแคง
8. ตรวจดูการหายใจ หากผู้ป่วยหายใจผิดปกติหรือไม่หายใจให้ทำ CPR และโทรแจ้งสายด่วนเจ็บป่วยฉุกเฉิน 1669
9. ปกติอาการชักจะเกิดขึ้นไม่เกิน 5 นาที หากเป็นนานกว่านั้นให้รีบนำส่งโรงพยาบาล
1. ปลดสายรัดหรือเข็มขัดนิรภัยออก เว้นแต่จะทำให้ได้รับบาดเจ็บ
2. ใส่เบรกรถเข็น หากเป็นรถเข็นปรับเอียงได้ให้ปรับเอียงที่นั่งและล็อก
3. พยุงศีรษะผู้ป่วยไว้จนกว่าอาการชักจะหยุดลง
4. เอนตัวผู้ป่วยไปด้านใดด้านหนึ่งเล็กน้อยเพื่อระบายของเหลวในปากออก
5. หลังอาการชักหากผู้ป่วยหายใจลำบากหรือต้องการนอนให้นำผู้ป่วยออกจากรถเข็นมานอนพัก
6. หากผู้ป่วยยังหายใจลำบากต่อเนื่องให้รีบนำส่งโรงพยาบาล และเตรียมพร้อมทำ CPR หากผู้ป่วยหยุดหายใจ
1. ประคองศีรษะผู้ป่วยให้พ้นน้ำ
2. เอียงศีรษะไปผู้ป่วยไปด้านหลังเพื่อให้แน่ใจว่าทางเดินหายใจโล่ง
3. หากผู้ป่วยอยู่ในสระให้รีบนำตัวขึ้นจากสระน้ำเมื่ออาการชักหยุดลง
(หากอาการชักไม่หยุดให้รีบขอความช่วยเหลือ และนำผู้ป่วยขึ้นจากน้ำไปตรงบริเวณที่น้ำตื้นที่สุด)
4. เมื่อนำผู้ป่วยขึ้นจากน้ำแล้ว ให้รีบโทรแจ้งสายด่วนเจ็บป่วยฉุกเฉิน 1669
5. ตรวดูลมหายใจของผู้ป่วย หากหายใจผิดปกติหรือไม่หายใจให้จัดท่าผู้ป่วยนอนหงายและทำ CPR