Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

ปวดหัวแบบไหนเรียกว่า ปวดหัวไมเกรน สาเหตุ อาการ การรักษา

Posted By Plook Creator | 23 พ.ค. 66
770 Views

  Favorite

ไมเกรน (Migraine) เป็นภาวะสุขภาพที่มักเกิดขึ้นในวันวัยผู้ใหญ่ตอนต้น จะมีอาการปวดศีรษะเป็นจังหวะตุบๆ อย่างรุนแรงที่ข้างใดข้างหนึ่งของศีรษะ รวมถึงมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และมีความรู้สึกไวต่อแสงและเสียงอย่างมาก อาการปวดไมเกรนอาจกินเวลหลายชั่วโมงหรือเป็นวัน และอาการปวดอาจรุนแรงจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันได้

 

ภาพ : 9nong - shutterstock

 


ประเภทและสาเหตุของอาการปวดหัวที่พบบ่อย

อาการปวดหัวมีหลายประเภท ดังนั้นการระบุตำแหน่งและลักษณะของอาการปวดจะช่วยบอกสาเหตุได้

ปวดศีรษะจากความตึงเครียด
อาการปวดศีรษะจากความตึงเครียดมีแนวโน้มจะแผ่กระจายไปทั่วศีรษะทั้งสองข้าง โดยมักเริ่มจากด้านหลังและคืบไปข้างหน้า ลักษณะนี้เป็นอาการปวดหัวที่พบบ่อยที่สุด อาการปวดตา ความเครียด ความหิว มักเป็นสาเหตุของอาการปวดหัวจากความตึงเครียด และอาจเป็นเรื้อรังได้

ปวดศีรษะจากไซนัส
อาการปวดหัวเหล่านี้มักเกิดขึ้นเมื่อรู้สึกป่วยหรือคั่งในจมูก เนื่องจากเกิดการบวมของโพรงไซนัส ทำให้เกิดอาการปวดที่หลังแก้ม จมูก และตา อาการจะปวดมากที่สุดเมื่อตื่นนอนตอนเช้าและขณะที่ก้มตัวไปข้างหน้า

ปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์
เป็นการปวดแบบแปล๊บๆ เป็นชุดๆ คือ ปวดทุกวันในช่วงเวลาเดิม บางครั้งอาจเป็นหลายครั้งต่อวันเป็นเวลาหลายเดือน อาการปวดหัวแบบนี้เป็นผลมาจากการขยายตัวของหลอดเลือดในสมอง และอาจเกิดจากการออกแรงหรือออกกำลังกายอย่างหนัก แสงจ้า หรือแม้แต่ความสูง


ไมเกรนคืออะไร?

ไมเกรน (Migraine) เป็นภาวะสุขภาพที่มีอาการปวดศีรษะเป็นจังหวะตุบๆ อย่างรุนแรงที่ข้างใดข้างหนึ่งของศีรษะ รวมถึงมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และมีความรู้สึกไวต่อแสงและเสียงอย่างมาก อาการปวดไมเกรนอาจกินเวลหลายชั่วโมงหรือเป็นวัน และอาการปวดอาจรุนแรงจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันได้

สำหรับบางคน มีสัญญาณเตือนที่เรียกกันว่า ออร่า (Aura) ซึ่งมักเกิดขึ้นก่อนหรือมาพร้อมอาการปวดหัว ออร่าอาจรวมถึงการรบกวนการมองเห็น เช่น แสงระยิบระยับแผ่ขยายเป็นวงกว้าง หรือเห็นจุดบอดขณะมองสิ่งต่างๆ รวมถึงการรบกวนอื่นๆ เช่น อาการชาที่ใบหน้าด้านใดด้านหนึ่ง หรือที่แขนขา และการพูดติดขัด พูดลำบาก
 

ภาพ : Maridav - shutterstock


อาการของไมเกรน

ไมเกรนมักเกิดขึ้นในวัยเด็ก วัยรุ่น และวัยเริ่มต้นผู้ใหญ่ โดยอาการมี 4 ขั้น คือ ระยะอาการบอกเหตุ (Prodrome), ระยะอาการเตือน (Aura), ระยะปวดศีรษะ (Headache) และระยะหลังจากปวดศีรษะ (Postdrome) ซึ่งไม่ใช่ทุกคนที่เป็นไมเกรนจะผ่านอาการทั้ง 4 ระยะนี้

ระยะอาการบอกเหตุ (Prodrome)
หนึ่งหรือสองวันก่อนเป็นไมเกรนอาจสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยที่เป็นสัญญาณเตือนได้แก่
- อารมณ์เปลี่ยนแปลงตั้งแต่ภาวะซึมเศร้าไปจนถึงภาวะเคลิ้มสุข
- มีความอยากอาหาร
- คอแข็ง
- ปัสสาวะบ่อย
- ท้องผูก
- หาวบ่อย
- มีภาวะบวม

ระยะอาการเตือน (Aura)
ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นไมเกรนแบบไม่มีอาการเตือน บางคนออร่าอาจเกิดขึ้นก่อนหรือระหว่างเป็นไมเกรน ออร่าเป็นอาการที่เกิดจากระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งอาการเตือนมักค่อยๆ ทวีความรุนแรงขึ้น และเป็นต่อเนื่องหลายชั่วโมง โดยอาการเตือนมีหลายรูปแบบ คือ
- มองเห็นแสงกระพริบ จุดสว่าง หรือแสงวาบ
- ตาพร่ามัว มองเห็นเป็นเส้นคลื่น
- มีอาการอ่อนแรง เคลื่อนไหวลำบาก
- พูดลำบาก
- ชาที่ใบหน้าด้านใดด้านหนึ่ง ชาที่มือหรือเท้า

ระยะปวดศีรษะ (Headache)
ไมเกรนมักเกิดขึ้นตั้งแต่ 4 ถึง 72 ชั่วโมงหากไม่ได้รับการรักษา ไมเกรนเกิดขึ้นบ่อยแค่ไหนนั้นแตกต่างกันไปแล้วแต่ละบุคคล ไมเกรนอาจเกิดขึ้นไม่บ่อยหรือเกิดขึ้นได้หลายครั้งต่อเดือน ระหว่างไมเกรนอาจมีอาการดังนี้
- ปวดศีรษะข้างเดียว แต่มักปวดทั้งสองข้าง
- ปวดเป็นจังหวะตุบๆ
- มีความรู้สึกไวต่อแสง เสียง บางครั้งรวมถึงกลิ่นและสัมผัสด้วย
- คลื่นไส้ และ อาเจียน

ระยะหลังจากปวดศีรษะ (Postdrome)
หลังอาการไมเกรนกำเริบ อาจจะรู้สึกเหนื่อยล้า สับสน และหมดสติไปนานเป็นวัน อย่างไรก็ตามหากเคลื่อนไหวศีรษะอย่างกะทันหันก็อาจทำให้ปวดศีรษะได้อีกครั้งในเวลาสั้นๆ
 

ภาพ : fizkes - shutterstock


เมื่อใดควรพบแพทย์?

หากมีอาการไมเกรนเป็นประจำและรุนแรงหรือควบคุมอาการไม่ได้ ให้จดบันทึกอาการไมเกรนที่เกิดขึ้นและวิธีที่ใช้รักษา จากนั้นไปพบแพทย์เพื่อหาทางรักษาต่อไป
หากพบว่ามีอาการปวดศีรษะผิดแปลกไปจากปกติที่เคยเป็นควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ เช่น
- ปวดศีรษะเฉียบพลันรุนแรงเหมือนฟ้าผ่า
- ปวดศีรษะร่วมกับมีไข้ คอเคล็ด สับสัน ชัก เห็นภาพซ้อน ชาหรืออ่อนแรงที่อวัยวะส่วนหนึ่งส่วนใด ซึ่งเป็นสัญญาณของโรคหลอดเลือดสมอง
- ปวดศีรษะหลังได้รับบาดเจ็บ
- ปวดศีรษะเรื้อรังแย่ลงหลังจากไอ ออกกำลัง ตึงเครียด หรือเคลื่อนไหวกะทันหัน


สาเหตุของไมเกรน

อาการปวดศีรษะมักพบสาเหตุได้ง่าย แต่ไมเกรนมีตัวกระตุ้นทั่วไป ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล
เพศและการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ผู้หญิงมีแนวโน้มจะเป็นไมเกรนมากกว่าผู้ชาย การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดไมเกรนในผู้หญิง

โรคภูมิแพ้ หรือโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ โรคภูมิแพ้ทำให้เกิดการระคายเคืองและการอักเสบในร่างกาย เนื่องจากไมเกรนมีความเกี่ยวข้องกับการอักเสบหลอดเลือด ดังนั้นโรคภูมิแพ้จึงเป็นหนึ่งในปัจจัยกระตุ้น

ประวัติครอบครัวและกรรมพันธุ์ ผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นไมเกรนมีแนวโน้มที่จะเป็นไมเกรนได้

สิ่งแวดล้อม เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดไมเกรน เช่นการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ความเครียด อาหาร กลิ่น และการอดนอน


การรักษาไมเกรนและอาการปวดศีรษะ

แม้จะไม่มีวิธีรักษาเฉพาะสำหรับไมเกรนและอาการปวดหัว แต่การใช้ยาและปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตสามารถช่วยรักษาและป้องกันอาการต่างๆ ในอนาคตได้

 

 


 
 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook Creator
  • 44 Followers
  • Follow