Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อสัมผัสสารเคมี

Posted By Plook Creator | 16 พ.ค. 66
2,246 Views

  Favorite

มีสารเคมีหลายชนิดที่เราใช้ทั่วไปกันตามบ้าน โรงเรียน สำนักงาน เช่น น้ำยาทำความสะอาดท่อระบายน้ำ น้ำมันเบนซิน ทินเนอร์ เป็นต้น ซึ่งในระหว่างการใช้งานต้องมีความระมัดระวังเพราะหากสัมผัสสารเคมีเหล่านี้อาจทำให้ผิวหนังเผาไหม้ได้ ดังนั้นการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อสัมผัสสารเคมีจึงเป็นสิ่งจำเป็น
 

ภาพ : eldar nurkovic - shutterstock



การเผาไหม้ของสารเคมีคืออะไร?

สารเคมีที่เราใช้กันทั่วไปเมื่อสัมผัสถูกร่างกายอาจทำให้ผิวหนังไหม้อย่างรุนแรงได้ โดยปกติเมื่อถูกสารเคมีเราจะรู้สึกได้จากอาการแสบร้อน แต่บางครั้งอาจไม่รับรู้ในทันทีเช่นเดียวกับผิวไหม้แดดที่ความเสียหายอาจเกิดขึ้นหลังจากได้รับแสงมาหลายชั่วโมงแล้ว ดังนั้นหากถูกสารเคมีเผาไหม้อย่างรุนแรงต้องได้รับความช่วยเหลือทางการแพทย์ฉุกเฉิน แต่ถ้าเป็นแผลไหม้จากสารเคมีเพียงเล็กน้อยสามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้

แผลที่ถูกสารเคมีเผาไหม้อาจดูเล็กแต่ลึกได้มาก ความเสียหายของแผลถูกสารเคมีเผาไหม้ขึ้นอยู่กับ
- ประเภทของสารเคมี
- ความรุนแรงของสารเคมี
- ระยะเวลาที่สัมผัสสารเคมี


อาการเมื่อถูกสารเคมีเผาไหม้

แผลจากการถูกสารเคมีเผาไหม้คล้ายกับแผลไหมที่เกิดจากความร้อน โดยสัญญาณและผลกระทบจากการถูกสารเคมีเผาไหม้ ได้แก่
- เกิดรอยแดงและผิวไหม้
- ปวดแสบปวดร้อน หรือมีอการชา
- เกิดแผลพุพอง
- ผิวคล้ำ
- หากสารเคมีเข้าตา อาจทำให้เกิดปัญหาการมองเห็น
- หากสูดเข้าสู่ปอดอาจทำให้เกิดอาการไอ หายใจถี่
 

ภาพ : Rashid Valitov - shutterstock



และหากแผลไหม้รุนแรงมาก ผลจากการไหม้สามารถทำให้เกิดอาการ
- ความดันโลหิตต่ำ
- วิงเวียนศีรษะ เป็นลมหมดสติ
- ปวดศีรษะ
- มีอาการชัก
- หัวใจเต้นผิดปกติ หรือหัวใจวาย

 

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อสัมผัสสารเคมี

หากสัมผัสถูกสารเคมี และไม่แน่ใจว่าสัมผัสสารเคมีที่เป็นพิษหรือไม่ ให้โทรสายด่วนการแพทย์ฉุกเฉินเพื่อขอความช่วยเหลือ และถ้าคิดว่ามีรอยไหม้จากสารเคมี ให้รีบปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้ทันที
 

ภาพ : NotionPic - shutterstock



1. กำจัดสารเคมีแห้ง สวมถุงมือและปัดเศษวัสดุที่เหลือออก
2. ถอดเสื้อผ้าหรือเครื่องประดับที่เปื้อนสารเคมีออก และชำระล้างบริเวณที่สัมผัสหรือเปื้อนสารเคมีอย่างน้อย 20 นาที ระวังและป้องกันสารเคมีเข้าตา
3. ใช้ผ้าผ้าพันแผลสะอาดปิดพันแผลไหม้ โดยพันอย่างหลวมๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการกดบนผิวหนังที่ไหม้
4. ชำระล้างอีกครั้งหากจำเป็น ถ้ารู้สึกแสบร้อนมากขึ้น ให้ล้างบริเวณนั้นอีกเป็นเวลาหลายนาที
5. รีบไปพบแพทย์ทันที


 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook Creator
  • 44 Followers
  • Follow