Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

ฮีทสโตรก (Heat Stroke) โรคลมแดด ภัยร้ายในช่วงฤดูร้อน

Posted By Plook Creator | 31 มี.ค. 66
1,481 Views

  Favorite

ฮีทสโตรก (Heat Stroke) คืออะไร? ฮีทสโตรก (Heat Stroke) หรือ โรคลมแดด เป็นภาวะที่อุณหภูมิในร่างกายสูงเกิน 40 องศาเซลเซียส และไม่สามารถระบายความร้อนให้กลับมาเป็นปกติได้ ส่งผลต่อการทำงานของระบบอวัยวะภายใน เช่น ระบบประสาท หัวใจ และไต ทำให้ร่างกายเข้าสู่ภาวะวิกฤต หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้เสียชีวิตได้
 

ภาพ : Juergen Faelchle - shutterstock

 

อาการและสัญญาณเตือนของฮีทสโตรก

- อุณหภูมิร่างกายสูงถึง 40 องศาเซลเซียส
- กระหายน้ำมาก
- ระยะเริ่มแรกมีเหงื่อออกมาก แต่เมื่อผ่านไปสักพักจะไม่มีเหงื่อออก แม้อยู่ในสถานที่ร้อนจัด
- หายใจถี่ ชีพจรเต้นแรง
- ปวดศีรษะ หน้ามืด ใจสั่น ความดันโลหิตลดลง
- อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน
- สภาวะจิตใจหรือพฤติกรรมเปลี่ยนไป สับสน กระสับกระส่าย หงุดหงิด พูดไม่ชัด เพ้อ
- ชัก หมดสติ อาการโคม่า

ปัจจัยเสี่ยงเป็นฮีทสโตรก

- อายุ เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้สูงอายุเสี่ยงเป็นโรคลมแดดได้มาก เนื่องจากร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้ดีเท่าคนหนุ่มสาว
- โรคประจำตัวหรือโรคเรื้อรัง ผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคลมแดด
- การออกกำลังกาย ทำงาน หรือทำกิจกรรมอย่างหนักกลางแจ้งในสภาพอากาศร้อนจัดเป็นเวลานาน เช่น การฝึกทหาร เล่นกีฬาฟุตบอลหรือวิ่งมาราธอน
- การสัมผัสอากาศร้อนอย่างกะทันหัน เช่น อากาศร้อนขึ้นอย่างกะทันหัน สัมผัสคลื่นความร้อนช่วงต้นฤดูร้อน หรือเดินทางไปยังสถานที่ร้อนจัด
- การกินยาบางชนิด ซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการควบคุมความชุ่มชื้นและระบายความร้อนของร่างกาย เช่น ยาควบคุมความดัน, ยาขยายหลอดเลือด ยาต้านอาการซึมเศร้า
- การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งส่งผลต่อการควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย
 

ภาพ : KieferPix - shutterstock


การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

- โทรแจ้งสายด่วน 1669 เพื่อรับบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน
- นำผู้ป่วยเข้าไปในที่ร่ม อากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่โดนแสงแดด
- คลายเสื้อผ้าให้หลวมเพื่อระบายความร้อน
- ให้ผู้ป่วยนอนราบ ยกเท้าสูงทั้งสองข้าง เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือดให้ไปเลี้ยงสมองมากขึ้น
- ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดหรือประคบตามซอกคอ หน้าผาก รักแร้ ขาหนีบ เนื้อตัว ของผู้ป่วยเพื่อลอดอุณหภูมิให้ต่ำลง
- หากผู้ป่วยไม่หมดสติให้ดื่มน้ำเปล่ามากๆ และรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที

การป้องกันโรคลมแดด

- ดื่มน้ำมากๆ อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
- สวมเสื้อผ้าหลวมๆ สีอ่อน ระบายอากาศได้ดี
- ใช้ครีมกันแดดที่มี SPF 15 ทาทุกๆ 2 ชั่วโมง
- ระมัดระวังเรื่องการใช้ยาบางชนิดที่อาจส่งผลต่อความสามารถในการควบคุมความชุ่มชื้นและระบายความร้อนของร่างกาย ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์ทุกครั้งที่ใช้ยา
- ระวังอย่าปล่อยให้เด็กอยู่ในรถที่จอดไว้กลางแดดหรือในสภาพอากาศร้อนจัด เมื่อจอดรถแล้วความตรวจสอบความเรียบร้อยว่าไม่มีเด็กหรือใครหลงเหลืออยู่บนรถ และล็อกรถเพื่อป้องกันไม่ให้เด็กแอบเข้าไป
- หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมกลางแดด
- งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

 

 

แหล่งที่มาข้อมูล
MAYO CLINIC, Heatstroke, สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2566 จากเว็บไซต์: https://www.mayoclinic.org/
CDC, Heat Related Illness, สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2566 จากเว็บไซต์: https://www.cdc.gov/
โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์, โรคฮีทสโตรก (Heat Stroke) หรือโรคลมแดด, สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2566 จากเว็บไซต์: https://www.synphaet.co.th/
โรงพยาบาลเปาโล, “โรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก” ภัยร้ายช่วงหน้าร้อน, สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2566 จากเว็บไซต์: https://www.paolohospital.com/th-TH/chokchai4/Home
โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล, แพทย์หญิงพิมลพรรณ วิเสสสาระกูล, ฮีทสโตรก ภัยเงียบในช่วงฤดูร้อน!, สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2566 จากเว็บไซต์: https://theworldmedicalhospital.com/th/new_site/index
 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook Creator
  • 44 Followers
  • Follow