Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

ภาวะกล้ามเนื้อสลาย สู่ไตวายเฉียบพลัน อันตรายที่อย่ามองข้าม

Posted By Plook Creator | 31 ม.ค. 66
6,413 Views

  Favorite

ภาวะกล้ามเนื้อสลาย (Rhabdomyolysis) คือ ภาวะที่กล้ามเนื้อลายเกิดการเสียหายแตกสลายจนปล่อยสารต่างๆ เข้าไปในกระแสเลือด ทำให้ระบบต่างๆ ของร่างกายทำงานผิดปกติโดยเฉพาะไตที่มีหน้าที่กรองของเสียออกจากเลือดจนนำไปสู่ภาวะไตวายเฉียบพลัน สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อสลายที่พบบ่อย คือ การออกกำลังกายอย่างหนักเกินกว่าสภาพร่างการจะรับไหว เช่น วิ่งมาราธอน การทำโทษโดยให้ลุกนั่ง หรือแทงปลาไหลในจำนวนครั้งที่มากไป เป็นต้น
 

BigBlueStudio - shutterstock / Plook Knowledge

 

สาเหตุและปัจจัยทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อสลาย
- การออกกำลังกายหนักเกินไปโดยไม่ได้เตรียมร่างกายให้พร้อม และออกกำลังกายต่อเนื่องเป็นเวลานาน
- ดื่มน้ำน้อย เกิดภาวะขาดน้ำ
- สภาพอากาศร้อนมาก อุณหภูมิร่างกายสูงผิดปกติ หรือฮีทสโตรก
- โรคประจำตัวบางชนิด หรือความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ เช่น ภาวะเลือดเป็นกรดจากเบาหวาน, ไทรอยด์เป็นพิษ
- โรคของกล้ามเนื้อ เช่น ภาวะพร่องเอนไซม์ของกล้ามเนื้อแต่กำเนิด
- การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อจากอุบัติเหตุ เช่น อุบัติเหตุทางรถยนต์, หกล้ม หรืออาคารถล่ม
- การกดทับของกล้ามเนื้อเป็นเวลานาน เช่น หมดสติอยู่บนพื้นแข็งเป็นเวลานาน
- บาดเจ็บจากการช็อตไฟฟ้า ฟ้าผ่า หรือไฟไหม้ระดับสาม
- การใช้ยาบางชนิด เช่น ยารักษาโรคทางจิตหรือยากลุ่มสแตติน
- การดื่มแอลกอฮอล์ การใช้สารเสพติด เช่น เฮโรอีน, แอมเฟตามีน
- พิษจากงูหรือแมลงมีพิษกัด


อาการของภาวะกล้ามเนื้อสลาย
สัญญาณเตือนภาวะกล้ามเนื้อสลายอาจระบุได้ยาก เนื่องจากระยะการเกิดแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาจเกิดขึ้นตรงส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายหรือส่งผลทั้งร่างกายก็ได้ นอกจากนี้อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ทั้งระยะแรกและหลังอีกด้วย อย่างไรก็ตามอาการหลักๆ ของภาวะกล้ามเนื้อสลายที่พบได้ ได้แก่
- ปวดบวมกล้ามเนื้อ
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือมีปัญหาในการขยับแขนขา
- ปัสสาวะมีสีเข้มคล้ายสีโค้ก และปัสสาวะออกน้อยลง
- ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน
- มีไข้ หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
- เวียนศีรษะ สับสน หมดสติ
 

220 Selfmade studio - shutterstock



การป้องกันภาวะกล้ามเนื้อสลาย
- เตรียมร่างกายให้พร้อมก่อนออกกำลังกาย ใส่เสื้อผ้าที่เหมาะสม
- หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่หนักเกินไปกว่าสภาพร่างกายจะรับไหว
- หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่ใช้แรงมากๆ ในสภาพอากาศที่ร้อนเกินไป
- พกน้ำติดตัวขณะออกกำลังกาย และหลังจากออกกำลังกายควรดื่มน้ำและเกลือแร่ให้พอเพียง
- หากพบอาการผิดปกติหลังจากออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่ใช้แรงหนักๆ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

 


แหล่งที่มาข้อมูล
โรงพยาบาลสินแพทย์, ฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจปอดและความฟิต โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา, ภาวะกล้ามเนื้อสลายหลังออกกำลังกาย…อันตรายที่ควรป้องกัน!!!, สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2566 จากเว็บไซต์: https://www.synphaet.co.th/
WebMD, Jennifer Robinson, MD, Rhabdomyolysis, สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2566 จากเว็บไซต์: https://www.webmd.com/
CDC, Rhabdomyolysis, สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2566 จากเว็บไซต์: https://www.cdc.gov/

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook Creator
  • 44 Followers
  • Follow