Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

ดูแลหัวใจ ห่างไกลโรค

Posted By sevenman | 03 ต.ค. 64
2,773 Views

  Favorite

“หัวใจอวัยวะขนาดเล็กเท่ากำปั้น แต่มีความสำคัญต่อร่างกาย เพราะทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตเพื่อไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง และเนื่องจากเป็นอวัยวะที่มีความซับซ้อน เมื่อมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ผู้ป่วยจึงอาจไม่ทราบในทันที ทำให้โรคหัวใจเป็นโรคยอดฮิตอันดับต้น ที่คร่าชีวิตของผู้คนทั่วโลก

 

ในประเทศไทย จากสถิติกระทรวงสาธารณสุข (16 กันยายน 2561) พบว่ามีจำนวนคนไทยที่ป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด 432,943 คน มีอัตราการเสียชีวิตถึง 20,855 คน ต่อปี หรือ ชั่วโมงละ 2 คน 

 

 

ทำไมเป็นโรคหัวใจกันเยอะ?

 

ในปัจจุบัน โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ นับได้ว่าเป็นโรคหัวใจที่คนไทยเป็นกันมากที่สุด โดยเกิดจากผนังของหลอดเลือดหัวใจ (Coronary) เสื่อมสภาพส่งผลทำให้ไขมันและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ก่อตัวหนาขึ้นและทำให้เกิดการอุดตันภายในหลอดเลือดหัวใจ เป็นเหตุให้หลอดเลือดหัวใจเกิดการตีบและตันส่งผลให้การไหลเวียนเลือดภายในหัวใจมีประสิทธิภาพลดลงและสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ไม่เพียงพอ ท้ายที่สุดแล้วจะส่งผลให้เกิด ‘ภาวะหัวใจล้มเหลว’ ได้ในที่สุด ซึ่งนอกเหนือจาก

 

 

ปัจจัยการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบมีอะไรบ้าง

 

- อายุ และเพศ มีผลต่อความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ 

- ปัจจัยทางพันธุกรรม อย่างการมีพันธุกรรมผิดปกติ การมีฮอร์โมนทางเพศไม่สมดุล หรือพันธุกรรมที่ส่งผลให้เกิดไขมันมากผิดปกติ 

- ปัจจัยด้านพฤติกรรมและปัญหาสุขภาพที่มีความเสี่ยง และส่งผลให้หลอดเลือดหัวใจเสื่อมสภาพ อย่างการสูบบุหรี่ ไม่ออกกำลังกาย ทานอาหารไม่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ

 

 

วิธีการสังเกตอาการเสี่ยง ที่จะทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

 

1. ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

- มีอาการเจ็บแน่นหน้าอกขณะออกกำลังกาย

- มีอาการเหนื่อยผิดปกติขณะออกกำลังกาย

- ดีขึ้นเมื่อได้พัก หรืออมยาใต้ลิ้น

 

2. ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

- มีอาการเจ็บแน่นหน้าอกมาก เป็นเวลาติดต่อกัน 20 นาทีหรือมากกว่า

- กินยาแล้วยังไม่ดีขึ้น

- เป็นลมหมดสติ

- มีเหงื่อออกมากเป็นพิเศษ

- ควรรีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด หรือติดต่อศูนย์เอราวัณ สายด่วน 1669

 

 

ลดเสี่ยง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม กับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพ

 

1. ควรออกกำลังกายให้พอเหมาะไม่หนักเกินไปอย่างสม่ำเสมอทุกวัน อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน อย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์

2. งด เลิกสูบบุหรี่

3. ดูแลรักษาสุขภาพและลดปัจจัยเสี่ยงของโรคอื่น ๆ อย่าง โรคเบาหวาน โรคความดัน โรคอ้วน ฯลฯ ที่มีปัจจัยเกี่ยวเนื่องและส่งผลให้หลอดเลือดหัวใจเสื่อมสภาพได้ 

4. ควบคุมอาหารและทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ ไม่ทานอาหารที่มีไขมันสูงจนเกินไป

5. จัดการความเครียดอย่างเหมาะสม และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 7-8 ชั่วโมง

6. หมั่นตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ เพื่อตรวจหาความเสี่ยงและวางแผนการป้องกัน

 

 

ยังมีวิธีการตรวจแบบ Thai CV Risk Score เป็นการประเมินความเสี่ยงโรคแบบออนไลน์ จากพฤติกรรม การใช้ชีวิต และปัญหาสุขภาพ

 

เนื่องจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบนั้นถือเป็นจุดเริ่มต้นที่จะนำไปสู่ภาวะรุนแรงต่าง ๆ ที่อาจส่งผลต่อชีวิต อย่าง ‘ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด’ และ ‘ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน’ ซึ่งเป็นผลมาจากไขมันที่สะสมอยู่ในผนังหลอดเลือดเกิดการแตกตัวออกและเกิดลิ่มเลือดอุดตันแบบเฉียบพลัน

 

 

เพราะฉะนั้นเมื่อเกิดข้อบ่งชี้ที่แสดงอาการของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกในขณะออกกำลังกาย มีอาการเหนื่อยผิดปกติ หรืออาจจะมีอาการเป็นลมล้มหมดสติ ซึ่งจะต้องรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลเพื่อให้แพทย์ดูอาการและรักษาโดยด่วนเพื่อป้องกันการเกิดภาวะเฉียบพลันและเสียชีวิตนั่นเอง

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • sevenman
  • 1 Followers
  • Follow