Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

ขั้นตอนที่ ๕ การลดความชื้นของเมล็ดพืช

Posted By Plookpedia | 25 ธ.ค. 59
4,554 Views

  Favorite
เครื่องลดความชื้นแบบกระบะ  
เครื่องลดความชื้นแบบคอลัมน์ชนิดเมล็ดพืชไม่ไหลคลุกเคล้า
เครื่องลอความชื้นแบบฟลูอิดไดซ์-เบค

 

ขั้นตอนที่ ๕ การลดความชื้นของเมล็ดพืช 

เครื่องอบเมล็ดพืช 

ในสภาวะปัจจุบัน เครื่องอบ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เครื่องลดความชื้น มีบทบาทมาก เนื่องจากเมล็ดพืช จำเป็นจะต้องลดความชื้นอย่างรวดเร็ว แต่เดิมเครื่องอบส่วนใหญ่จะใช้กับข้าวโพด เนื่องจากข้าวโพดเก็บเกี่ยวในช่วงฤดูฝน ทำให้มี ปัญหาความชื้นสูง การใช้ลานตากในช่วงฤดูฝน ทำได้ยากลำบาก เนื่องจากต้องคอยระวัง ถ้ามีฝนตก จะต้องเก็บหรือหาผ้าพลาสติกมาปิดกั้น จึงปรากฏว่า ข้าวโพดมีปัญหาเรื่องสารพิษ ที่เกิดจากเชื้อราอยู่บ่อยๆ สำหรับข้าวเปลือก ในอดีตไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องความชื้น สำหรับข้าวนาปี เพราะช่วงเวลานั้นไม่มีฝน ชาวนาจะเกี่ยวข้าว แล้วจะตากข้าวในนาสักระยะหนึ่ง จึงเก็บข้าวรวมกอง แล้วนำมานวด ทำให้ข้าวแห้ง ขณะที่ตากในนา สำหรับ ข้าวนาปรัง ซึ่งเก็บเกี่ยวในช่วงฤดูฝนแต่ปริมาณ ไม่มากนัก สามารถลดความชื้นในลานตาก หรือนำไปทำข้าวนึ่งได้ ปัจจุบันปัญหาในการปลูกข้าวก็คือ การขาดแคลนแรงงานในการเก็บเกี่ยว ทำให้เกษตรกรหันมาใช้เครื่องเกี่ยวนวดข้าว ทำให้ข้าวเปลือกมีปริมาณมากและความชื้นสูง เข้าสู่ตลาดในเวลาพร้อมกันเป็นจำนวนมากเกิน ความสามารถที่ลานตากข้าวโรงสีต่างๆ จะรับได้ มีผลทำให้ข้าวเปลือกมีความชื้นสูง ถ้าหากข้าว เปลือกมีความชื้นสูงจะต้องรีบลดความชื้นอย่าง รวดเร็วให้ทันเวลา ไม่เช่นนั้นคุณภาพของข้าว จะเสื่อมอย่างรวดเร็ว จึงมีความจำเป็น จะต้องนำเครื่องอบมาใช้ 

เครื่องลดความชื้นเมล็ดพืชที่ใช้อยู่ภายในประเทศ 

สามารถแบ่งได้หลายแบบ ดังนี้

๑. เครื่องลดความชื้นเมล็ดพืชแบบเมล็ดพืชบรรจุในกระสอบ 

เครื่องอบแบบนี้ส่วนใหญ่ใช้กับเมล็ดพันธุ์ ตัวเครื่องประกอบด้วย ห้องลมร้อน ที่ด้านบนเจาะช่องไว้หลายๆ ช่อง สำหรับวางกระสอบเมล็ดพืชได้หลายกระสอบ ลมร้อนจะเป่าผ่านช่องระหว่างเมล็ดพืชในกระสอบ เครื่องอบนี้จะใช้อุณหภูมิต่ำ ส่วนใหญ่ไม่เกิน ๔๕° ซ 

๒. เครื่องลดความชื้นแบบกระบะ 

ประกอบด้วยกระบะเมล็ดพืชที่บรรจุอยู่บนตะแกรง ด้านล่างของตะแกรงจะเป็นห้องลมร้อน ที่ต่อเข้ากับพัดลม และชุดเตาลมร้อน ลมร้อนจะพัดผ่านชั้นเมล็ดพืช ที่อยู่นิ่งกับที่ จากด้านล่างสู่ด้านบน มีผลทำให้ความชื้นของเมล็ดพืชด้านล่าง ลดลงเร็วกว่าด้านบน เครื่องลดความชื้นแบบนี้ จะใช้อุณหภูมิ ซึ่งไม่เกิน ๕๐° ซ และที่ใช้อยู่ในประเทศ ส่วนใหญ่จะใช้กับเมล็ดพันธุ์ โดยมีความสามารถ ในการลดความชื้นได้ ๐.๕ เปอร์เซ็นต์/ชั่วโมง 

๓. เครื่องลดความชื้นแบบถังหมุนเวียน 

เครื่องลดความชื้นแบบนี้ ถังบรรจุเมล็ดพืชจะทำด้วยตะแกรง เป็นรูปทรงกระบอกแนวตั้ง ส่วนกลางของถัง จะมีท่อลม ทำด้วยตะแกรงรูปทรงกระบอกซ้อนอยู่ภายใน ลมร้อนจะถูกเป่าให้ผ่านเมล็ดตามแนวรัศมี ผ่านรูตะแกรงออกสู่ภายนอก เมล็ดพืชที่อยู่ด้านล่าง จะถูกลำเลียงขึ้นไปด้านบนใหม่หลายเที่ยว จนกว่าจะแห้ง เครื่องอบแบบนี้ได้มีการสร้างจำหน่าย เมื่อประมาณสิบปีมาแล้ว แต่ไม่ได้รับความนิยม เนื่องจากปัญหาเรื่องฝุ่นละออง ที่ฟุ้งกระจายรบกวนผู้ปฏิบัติงาน และผู้ที่อยู่ใกล้เคียง รวมทั้งการสึกหรอของระบบลำเลียง ซึ่งใช้เกลียวลำเลียงในแนวตั้ง 

๔. เครื่องลดความชื้นแบบคอลัมน์ 

เครื่องลดความชื้นแบบนี้ มองภายนอกจะเห็นถังบรรจุเมล็ดพืช เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมแนวตั้ง ส่วนใหญ่สูงมากกว่า ๓ เมตร การบรรจุเมล็ดพืชจะต่อเข้ากับท่อลมร้อนทางด้านข้าง ซึ่งมีเตาลมร้อน และพัดลม เป็นส่วนประกอบ ส่วนล่างของถังบรรจุเมล็ด จะมีชุดควบคุมการไหลของเมล็ดพืช เครื่องลดความชื้นแบบนี้แบ่งออกได้ ๒ แบบ คือ 

๔.๑ ชนิดเมล็ดพืชไม่ไหลคลุกเคล้าภายใน ถังบรรจุเมล็ดพืชของเครื่องลดความชื้นแบบนี้ จะประกอบด้วย ช่องบรรจุเมล็ดพืชที่ด้านข้างทั้ง ๒ ด้าน เป็นตะแกรง เพื่อให้ลมผ่านได้ อย่างน้อยจะต้องมีช่องบรรจุเมล็ดพืช ๒ ช่อง ตรงส่วนกลางจะเป็นห้องลมร้อน ซึ่งจะพัดผ่านเมล็ดพืชออกแนวข้าง ทั้ง ๒ ช่อง เครื่องลดความชื้นแบบนี้ มีข้อเสีย คือ เมล็ดพืชที่อยู่ชิดห้องลมร้อน จะแห้งเร็วกว่าทางด้านลมออก จึงต้องใช้ปริมาณลมสูง คือ ๑๑๒-๒๖๒ ลูกบาศก์เมตร/นาที/ตันเมล็ดพืช เพื่อให้ความแตกต่างความชื้นของเมล็ดพืช ส่วนที่ติดห้องลมร้อน กับด้านลมออก มีค่าน้อย อุณหภูมิลมร้อนที่ใช้ต่ำคือ ประมาณ ๕๔° ซ. 

๔.๒ ชนิดเมล็ดพืชมีการคลุกเคล้า เครื่องลดความชื้นแบบนี้ ต่างจากแบบในข้อ ๔.๑ คือ แทนที่ระหว่างห้องลมร้อนกับช่องบรรจุเมล็ดพืช จะเป็นตะแกรง แต่จะเป็นแผ่นทึบ ที่ทำเป็นแนวกลับทิศการไหลของเมล็ดพืชสลับไปมา ซึ่งในระหว่างแผ่นนี้ จะมีช่องว่างให้ลมไหลผ่านได้ เมล็ดพืชที่ไหลจากด้านบนสู่ด้านล่าง จะมีโอกาสสัมผัสลมร้อนเท่าๆ กัน เนื่องจากเมล็ดพืชไหลกลับไปกลับมา 

เครื่องลดความชื้นแบบคอลัมน์ทั้ง ๒ แบบนี้ สามารถใช้งานได้ ๒ ลักษณะ คือ แบบแรก ใช้อบแบบเป็นครั้งหรืองวด โดยในขั้นแรกจะบรรจุเมล็ดพืชจนเต็มถัง จากนั้นจึงเปิดพัดลม และเตาลมร้อน ในขณะเดียวกัน ก็หมุนเวียนเมล็ดพืชส่วนที่อยู่ด้านล่าง ขึ้นไปสู่ด้านบนของถังบรรจุเมล็ดพืชหลายๆ ครั้ง จนกว่าเมล็ดพืชจะแห้ง ได้ความชื้นตามที่ต้องการ จึงถ่ายเมล็ดพืชออกจากถังเก็บ การใช้งานในลักษณะที่สอง คือ แบบไหลต่อเนื่อง เมล็ดพืชที่มีความชื้นสูง จะผ่านเข้าสู่ถังอบจากด้านบนลงล่างเพียงเที่ยวเดียว ความชื้นจะลดลงในระดับหนึ่ง จากนั้นนำไปเก็บในถังพักไว้ระยะหนึ่งเพื่อ ปรับสภาพความชื้นภายในเมล็ดพืชเองอย่างน้อย ๔ ชั่วโมง โดยทั่วไป ๔-๒๔ ชั่วโมง จากนั้นจึงนำ กลับมาผ่านเครื่องอบใหม่ ทำในลักษณะนี้จนกว่า เมล็ดพืชจะแห้ง 

๕. เครื่องลดความชื้นแบบเมล็ดไหลคลุกเคล้า 

ซึ่งทั่วไปเรียกว่า แบบแอลเอสยู เครื่องลดความชื้นแบบนี้ ดูภายนอกมีลักษณะเช่นเดียวกันกับแบบคอลัมน์ คือ ถังบรรจุเมล็ดพืชจะเป็นแบบถังทรงสี่เหลี่ยมแนวตั้ง เมล็ดพืชจะไหลจากด้านบนลงล่าง โดยมีอุปกรณ์ควบคุมการไหลของเมล็ด ภายในถังอบประกอบด้วย ท่อลมเป็นชั้นๆ แต่ละชั้นจะมีท่อลมหลายท่อ ท่อลมแต่ละ ชั้นจะเป็นท่อลมร้อนเข้าและท่อลมออกสลับกัน ท่อลมร้อนเข้านี้จะพัดผ่านเมล็ดพืชในถังอบและ ไหลออกทางท่อลมออกที่อยู่ชั้นด้านบนและด้านล่าง ท่อลมแต่ละท่อจะมีลักษณะเป็นรางคว่ำ ด้านบน แหลม ด้านล่างเปิดว่างในแนวขนานกับพื้นยาว ตลอดถัง ที่ปลายรางด้านหนึ่งจะเจาะช่องต่อเข้า กับห้องรวบรวมลม ส่วนปลายอีกด้านหนึ่งจะปิด ท่อลม แต่ละชั้นจะมีช่องที่เจาะเข้ากับห้องรวบ รวมลมสลับกัน โดยชั้นหนึ่งจะต่อเข้าทางด้าน ห้องลมร้อนเข้า และอีกชั้นหนึ่งจะต่อเข้ากับห้อง ลมออก เครื่องลดความชื้นแบบนี้จะทำให้เมล็ด พืชไหลกลับไปกลับมา และมีโอกาสสัมผัสกับลม ร้อนเข้าและลมชื้นที่เป่าออกสลับกัน เท่ากัน ตลอดทั้งถังบรรจุเมล็ดพืช ใช้ปริมาณลมในอัตรา ๔๔-๙๗ ลูกบาศก์เมตร/นาที/ตันเมล็ดพืช บางครั้งอาจสูงถึง ๑๑๒-๑๘๐ ลูกบาศก์เมตร/นาที/ ตันเมล็ดพืช และอุณหภูมิลมร้อนที่ใช้จะได้สูงกว่าแบบคอลัมน์คือ ๖๖° ซ 

สำหรับการใช้งานก็เช่นเดียวกันกับแบบคอลัมน์ คือ ใช้อบแบบเป็นครั้งหรืองวด และอบแบบไหลต่อเนื่อง 

๖. เครื่องลดความชื้นแบบฟลูอิดไดซ์-เบค 

เครื่องลดความชื้นแบบนี้ได้มีการพัฒนา และสร้างออกจำหน่ายภายในประเทศเมื่อไม่นาน มานี้ และการใช้งานในลักษณะไหลต่อเนื่อง และใช้ปริมาณลมสูงถึง ๑๙๐๐-๒๕๐๐ ลูกบาศก์- เมตร/นาที/ตันเมล็ดพืช ส่วนของห้องอบจะเป็น ห้องปิดมีตะแกรงอยู่ด้านล่าง ที่ปลายทั้ง ๒ ด้าน จะมีอุปกรณ์สำหรับป้อนเมล็ดพืชเข้าและออกจาก ห้องอบ ลมร้อนจะเป่าผ่านชั้นเมล็ดพืชที่อยู่บน ตะแกรงและความหนาไม่เกิน ๑๐ เซนติเมตร ด้วยความเร็ว ๑.๙ เมตร/วินาที ซึ่งทำให้เมล็ดพืช ลอยตัวได้ อุณหภูมิลมร้อนที่จะใช้สูงคือ มากกว่า ๑๐๐° ซ และช่วงระยะเวลาที่เมล็ดพืชสัมผัสลมร้อนจะสั้น ประมาณ ๓-๕ นาที เหมาะสำหรับใช้ลดความชื้นเมล็ดพืช ที่มีความชื้นสูง มากกว่า ๒๐% เนื่องจากเครื่องลดความชื้นแบบนี้ ใช้ปริมาณลม และความร้อนสูงเป่าผ่านเมล็ดพืช ในระยะเวลาอัน สั้น เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ลมร้อน จึงมีการนำเอาความร้อนที่ผ่านเมล็ดพืชแล้วกลับ มาทำให้ร้อนใหม่ประมาณ ๘๐% ส่วน ๒๐% เป่าทิ้งไป เมล็ดพืชเมื่อผ่านเครื่องลดความชื้น แบบนี้เพียงเที่ยวเดียวความชื้นจะลดลง ๕-๑๐% ทำให้มีอัตราการทำงานสูง เหมาะกับตลาดกลาง ที่มีปริมาณข้าวเปลือกความชื้นสูงเข้ามาใน ปริมาณมาก เมล็ดพืชที่ผ่านเครื่องลดความชื้น แบบนี้แล้ว สามารถนำไปอบแห้งในยุ้งเก็บที่มี การเป่าอากาศผ่านกองเมล็ดพืชได้ หรืออาจใช้ ร่วมกับเครื่องลดความชื้นแบบอื่นๆ ก็ได้

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow