Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

ขั้นตอนที่ ๒ การปลูกพืช

Posted By Plookpedia | 25 ธ.ค. 59
2,336 Views

  Favorite
เครื่องหยอดเมล็ด
เครื่องปลูกแบบล้อจิก ๒ แถว

ขั้นตอนที่ ๒ การปลูกพืช

การปลูกพืชเป็นขั้นตอนหนึ่งของการเพาะปลูก ซึ่งกระทำต่อจากการเตรียมดิน เกษตรกรจะต้องเร่งทำงานให้ทันกับช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสม วิธีการปลูกของเกษตรกรแบบเดิม ใช้แรงงานคนทั้งหมด ซึ่งทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากและทำ งานได้ช้า ในบางพื้นที่จะใช้แรงงานสัตว์หรือรถ ไถทำการเปิดร่อง แล้วใช้คนหยอดเมล็ดพืชตาม ปัจจุบันนี้การใช้เครื่องปลูกพืชมีการใช้อย่างแพร่ หลายเนื่องจากเครื่องปลูกพืชจะช่วยให้เกษตรกร สามารถปลูกเร็วขึ้นทันฤดูกาล ประหยัดค่าใช้จ่าย การปลูกพืชเป็นแถวจะช่วยในการดูแลรักษาหรือ ใช้เครื่องมืออื่นเช่น เครื่องมือกำจัดวัชพืช ทำ งานได้สะดวก ประหยัดเวลา และประหยัดเมล็ดพันธุ์ 

เครื่องปลูกที่ดีควรมีลักษณะดังนี้ 

๑. เปิดหน้าดินให้มีความลึกเหมาะสมกับชนิดของเมล็ดพืชที่จะปลูก 
๒. ปล่อยเมล็ดพืชได้ตามจำนวนที่ต้องการ 
๓. หยอดเมล็ดพืชลงในร่องดินที่เปิดได้อย่างเหมาะสม 
๔. กลบและอัดรอบๆ เมล็ดพืชได้แน่นพอเหมาะกับชนิดของพืชที่ปลูก 
๕. ไม่ทำลายเมล็ดพืชให้เสียหายจนไม่สามารถงอกได้ 

ชนิดของเครื่องปลูกพืช 

เครื่องปลูกพืชสามารถแบ่งออกได้เป็น ๔ ชนิดใหญ่ๆ ดังต่อไปนี้ 

๑) เครื่องปลูกเป็นระยะ

เครื่องปลูกนี้เป็นเครื่องปลูกที่ปลูกพืชเป็นแถว โดยมีระยะระหว่างต้น ที่ค่อนข้างแน่นอน การปลูกจะปลูกเป็นแถว จะช่วยให้สามารถใช้เครื่องจักรกลเกษตร เพื่อกำจัดวัชพืช และเก็บเกี่ยวได้สะดวกภายหลัง พืชที่ปลูกโดยใช้เครื่องปลูกพืชเป็นระยะได้แก่ ข้าวโ พด และถั่วเหลือง เป็ นต้น 

๒) เครื่องหยอดเมล็ด 

เป็นเครื่องปลูกสำหรับหยอดเมล็ดธัญญพืขนาดเล็ก ที่ต้องการปลูกเป็นแถว แต่มีจำนวนต้นในแต่ละแถวมาก และไม่จำเป็นต้องมีระยะห่างระหว่างต้นที่แน่นอน ลักษณะการทำงานของเครื่องปลูกชนิดนี้ มีลักษณะโรย เช่น เครื่องปลูกแบบนาน้ำตม เครื่องปลูกแบบล้อเอียง เป็นต้น 

๓) เครื่องหว่าน 

เป็นเครื่องมือสำหรับหว่านเมล็ดพืชให้กระจายพื้นที่เพาะปลูก โดยมีรูปแบบการปลูกที่ไม่แน่นอน

๔) เครื่องปลูกเฉพาะงาน 

เป็นเครื่องปลูกที่ใช้เฉพาะงาน เช่น เครื่องปลูกกล้า เครื่องดำนา เครื่องปลูกอ้อย ฯลฯ

ลักษณะการปลูก 

เนื่องจากปริมาณน้ำฝนที่ตก อุณหภูมิ และสภาพของดิน ซึ่งแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น ลักษณะของการปลูกพืช จึงแบ่งออกได้เป็น ๓ ลักษณะ คือ การปลูกบนพื้นที่ราบ การปลูกบนแปลง และการปลูกในร่อง

การปลูกพืชบนที่ราบ 

มักจะทำในบริเวณที่มีสภาพพื้นที่ และมีสิ่งแวดล้อมเหมาะต่อการหยอด และเมล็ดพืชงอกเจริญเติบโตได้ดี สามารถใช้เครื่องมือกำจัดวัชพืชได้สะดวกภายหลัง

การปลูกบนแปลงหรือการปลูกพืชแบบยกร่องปลูก 

เป็นการปลูกพืชที่เหมาะกับสภาพพื้นที่ ที่มีการชลประทานหรือมีฝนตกชุก เพราะการนำ น้ำเข้าสู่ร่องหรือการระบายน้ำออกจะทำได้ง่าย 

การปลูกพืชแบบปลูกในร่อง

เป็นวิธีการปลูกที่เหมาะสม สำหรับพื้นที่เพาะปลูกที่ค่อนข้างแห้งแล้ง เช่น การปลูกข้าวโพด ข้าวฟ่าง หรือฝ้าย ทั้งนี้เมล็ดพืชจะถูกหยอดฝังลงไปในดิน ซึ่งมีความชื้น และเมื่อต้นพืชงอกเป็นต้นอ่อน แนวสันร่องจะช่วยป้องกันลมให้กับต้นพืช 

ส่วนประกอบของเครื่องปลูกพืช

เครื่องปลูกพืชโดยทั่วไปประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้คือ ถังเก็บเมล็ด อุปกรณ์กำหนดจำนวนเมล็ด อุปกรณ์เปิดร่อง ท่อนำเมล็ด อุปกรณ์กลบ และอัดดิน 

ถังเก็บเมล็ด 

ถังเก็บเมล็ดสำหรับบรรจุเมล็ด โดยทั่วๆ ไปทำด้วยโลหะ หรือพลาสติก ซึ่งอาจจะเป็นถังเดี่ยว หรือเรียงกันเป็นแถว หรือเป็นถังยาวถังเดียว ที่มีอุปกรณ์กำหนดจำนวนเมล็ดปล่อยออกมามากกว่าหนึ่งชิ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของเครื่องปลูก เครื่องปลูกบางชนิดมีถังเก็บสำหรับปลูกเมล็ดพืช เพียงอย่างเดียว บางชนิดมีทั้งถังเก็บเมล็ดพืช และ ถังเก็บเม็ดปุ๋ยด้วย การทำงานโดยเมล็ดและปุ๋ย จะถูกปล่อยลงไปพร้อมกัน แต่เมล็ดและปุ๋ยจะ แยกออกจากกัน

อุปกรณ์กำหนดจำนวนเมล็ด 

อุปกรณ์กำหนดจำนวนเมล็ด ทำหน้าที่กำหนดจำนวนเมล็ด ที่จะหยอดไปในดินแต่ละครั้ง เพื่อให้มีอัตราปลูกที่เหมาะสมสำหรับพืชแต่ละชนิด ทั้งนี้เพื่อให้ผลิตผลของพืชต่อหน่วยพื้นที่สูงสุด ดังนั้นอุปกรณ์กำหนดจำนวนเมล็ดจะมีความสำคัญมาก 

อุปกรณ์กำหนดจำนวนเมล็ดสำหรับเครื่องปลูกพืชที่นิยมใช้กันมาก ได้แก่ แบบจานปล่อยเมล็ด ซึ่งทำหน้าที่นำเมล็ดจากถังเก็บเมล็ดปล่อยลงในท่อนำเมล็ด จานปล่อยเมล็ดที่ใช้กันมี ๓ ชนิดคือ 

๑. จานปล่อยเมล็ดแนวราบ 
๒. จานปล่อยเมล็ดแนวเอียง 
๓. จานปล่อยเมล็ดแนวดิ่ง

อุปกรณ์เปิดร่อง 

อุปกรณ์เปิดร่องทำหน้าที่เปิดหน้าดินให้เป็นร่อง สำหรับให้เมล็ดพืชฝังและสัมผัสความชื้นของดิน 

อุปกรณ์เปิดร่องแบบ ฟูล หรือเคิร์ฟ รันเนอร์ (Full or Curved runner) เหมาะสำหรับใช้เปิด ร่องลึกปานกลาง ไถดินที่อุดมสมบูรณ์ปราศจาก เศษหญ้าหรือวัชพืช 

อุปกรณ์เปิดร่องแบบ โฮ-ไทพ์ (Hoe-type) เหมาะสำหรับดินที่มีเศษกรวดหินปนอยู่หรือมีเศษ รากพืชปนอยู่ในดินมาก อาจจะมีขดสปริงติดคอย ช่วยยกอุปกรณ์เปิดร่องเมื่อพบหินหรือตอไม้ ขนาดใหญ่ 

อุปกรณ์เปิดร่องแบบจาน เหมาะสำหรับดินที่มีสภาพค่อนข้างแข็ง และมีเศษวัชพืชปนมาก จานเปิดร่องชนิดนี้มีทั้งแบบเป็นจานเดี่ยว และจานคู่ เครื่องเปิดร่องแบบจานเดี่ยวเปิดร่องได้ลึกกว่าเครื่องเปิดร่องแบบจานคู่ นิยมใช้กับการปลูกเมล็ดพืชที่ฝังเมล็ดพืชลงไปในดินไม่ลึกนัก

เครื่องกลบอัดดิน 

ทำหน้าที่กลบดินให้ฝังเมล็ดพืชและอัดดิน ให้เมล็ดพืชได้สัมผัสกับเม็ดดิน และรักษาความชื้นในดิน เพื่อการงอกและเจริญเป็นต้นอ่อนต่อไป อุปกรณ์อัดดินมีทั้งเป็นโซ่แขนลาก หรือล้ออัดดิน 

เครื่องปลูกพืชที่ได้รับการพัฒนาจากกอง เกษตรวิศวกรรม 

กองเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร ได้ดำเนินการวิจัย และพัฒนาเครื่องปลูกพืชแบบต่างๆ และสนับสนุนโรงงานให้นำไปผลิตจำหน่าย แก่เกษตรกรผู้สนใจต่อไป ปัจจุบันได้มีโรงงานในประเทศ ทำการผลิตเครื่องปลูกทั้งสองแบบที่ได้จากการวิจัย ผลิตจำหน่ายแก่เกษตรกรแล้ว ในที่นี้ขอแนะนำเครื่องปลูกพืช ๒ แบบ ได้แก่ 

๑. เครื่องปลูกพืชแบบล้อจิก ๒ แถว 

เครื่องปลูกพืชชนิดนี้ใช้แรงคนทำงานหยอดเมล็ดเป็นหลุม ระยะระหว่างหลุม ๒๕ ซม. ครั้งละ ๒ แถว สามารถใช้ปลูกพืชได้หลายชนิด เช่น ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว และถั่วลิสง ฯลฯ การหยอดเมล็ดพืชต่างชนิดกัน ทำได้โดย การเปลี่ยนขนาดรูของลูกหยอดให้เหมาะสม

เครื่องปลูกแบบล้อจิก ๒ แถว สามารถ ปรับระยะการปลูกระหว่างแถวได้ตั้งแต่ ๒๕, ๓๐, ๔๐, ๕๐ และ ๖๐ ซม. ในการทดสอบการปลูกถั่วเหลือง ระยะห่างระหว่างแถว ๕๐ ซม. สามารถทำงานได้ ๑ ไร่/ชั่วโมง ความสามารถในการทำงานนั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะรูปร่างของแปลงที่ปลูก ถ้าหากแปลงเป็นรูปสี่เหลี่ยมและยาว ทำให้เสียเวลาในการเลี้ยวน้อย เครื่องจะทำงานได้เร็ว เครื่องหยอดชนิดนี้ จะทำงานได้ดีในดินแห้ง ในกรณีที่ดินชื้นมาก จะทำให้เกิดการอุดตันที่ช่องปล่อยเมล็ด 


๒. เครื่องปลูกพืชแบบล้อเอียง 

เครื่องปลูกชนิดนี้ใช้ติดพ่วงรถไถเดินตามที่ผลิตภายในประเทศ สามารถหยอดเมล็ดพืชได้ครั้งละ ๒ แถว โดย ปรับระยะห่างระหว่างแถว ๒๐-๙๐ ซม. และความลึกในการปลูกได้ตามความต้องการ ใช้กับพืชได้หลายชนิด เช่น ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ฯลฯ การหยอดเมล็ดพืชต่างชนิดกัน ทำได้โดยการเปลี่ยนแผ่นหยอด

เครื่องปลูกเมล็ดพืชแบบล้อเอียง อาจจะใช้กับพื้นที่ที่ไม่มีการเตรียมดินก็ได้ โดยที่สภาพของดินต้องไม่แข็งและแห้งเกินไป สภาพดินที่เหมาะสมคือ ดินร่วน ได้รับฝนแล้ว ๑ ครั้ง มี ความชื้นพอเหมาะ และดินไม่แฉะเกินไป การทดสอบการทำงาน สามารถทำงานได้ ๑-๒ ไร่/ ชั่วโมง (แล้วแต่สภาพและขนาดของพื้นที่) 

นอกจากนี้ ยังมีโรงงานผลิตเครื่องจักรกลเกษตร ได้ออกแบบ และพัฒนาเครื่องปลูกเมล็ดพืชขนาดใหญ่ ติดรถแทรกเตอร์ ใช้กันแพร่หลาย ในปัจจุบัน

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow