ตารางที่ ๑ พื้นที่ป่าไม้ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) สำรวจในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ (ค.ศ. ๑๙๖๓) เปรียบเทียบกับการสำรวจ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ (ค.ศ. ๑๙๗๓)
ภาคพื้น |
สำรวจปี พ.ศ. ๒๕๑๖ |
สำรวจปี พ.ศ. ๒๕๐๖ |
||||||
ล้านเฮกตาร์ |
ล้านเฮกตาร์ |
|||||||
ที่ดินป่าไม้๑ |
ป่าทึบ |
ป่าโปร่ง |
ยอดรวม |
เขตป่าทึบ |
เขตป่าโปร่ง |
ที่ดิน |
ป่าไม้ |
|
อเมริกาเหนือ อเมริกากลาง อเมริกาใต้ แอฟริกา ยุโรป สหภาพโซเวียตรุสเซีย เอเชีย๔ ประเทศในย่านแปซิฟิก |
๖๓๐ ๖๕ ๗๓๐ ๘๐๐ ๑๗๐ ๙๑๕ ๕๓๐ ๑๙๐ |
๖๓๐ ๖๐ ๕๓๐ ๑๙๐ ๑๔๐ ๗๖๕ ๔๐๐ ๘๐ |
. . (๒) (๑๕๐) (๕๗๐) ๒๙ ๑๑๕ (๖๐) ๑๐๕ |
๑,๘๔๑ ๒๗๒ ๑,๗๖๐ ๒,๙๗๐ ๔๗๔ ๒,๑๔๔ ๒,๗๐๐ ๘๔๒ |
๓๔ ๒๒ ๓๐ ๖ ๓๐ ๓๕ ๑๕ ๑๐ |
. . . . (๙) (๑๙) ๖ ๕ (๒) ๑๓ |
๗๕๐ ๗๖ ๘๙๐ ๗๑๐ ๑๔๔ ๙๑๐ ๕๕๐ ๙๖ |
๗๑๐ ๗๑ ๘๓๐ ๗๐๐ ๑๓๘ ๗๓๘ ๕๐๐ ๙๒ |
ทั่วโลก | ๔,๐๓๐ | ๒,๘๐๐ | (๑,๐๐๐) | ๑๓,๐๐๓๒ | ๒๒๓ | ๘ | ๔,๑๒๖ | ๓,๗๗๙ |
คำนิยามของคำว่าที่ดินป่าไม้ (forest land) สำรวจในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ มิได้หมายความว่าเป็นยอดรวมของป่าทึบและป่าโปร่ง เพราะมิได้รวมเอาป่าละเมาะและป่าที่มีไม้เล็ก แคระแกร็นเข้าไปด้วย ฉะนั้น ในการสำรวจปี พ.ศ. ๒๕๑๖ ที่ดินป่าไม้ก็คือ ป่าไม้ และพื้นที่ป่าไม้ปกคลุมอยู่ และคำว่าป่าไม้ (forest) ในการสำรวจปี พ.ศ. ๒๕๑๖ หมายถึง ป่าทึบเสมอ ป่าทึบ คือ ป่าที่มีต้นไม้ปกคลุมเกินกว่าร้อยละ ๒๐ ของพื้นที่ ๒ แอนตาร์กติก (Antarctic) กรีนแลนด์ (Greenland)และสวัลบาร์ด (Svalbard) มิได้นับรวมเข้าด้วย ๓ ร้อยละ ๑๙ ของภาคพื้นอาร์กติก (Arctic) นับรวมอยู่ด้วย ๔ มิได้รวมประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ( ) ข้อมูลไม่สมบูรณ์
จากตารางที่ ๑ ถึงแม้ว่าที่ดินป่าไม้ทั้งหมด ที่ สำรวจในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ (ค.ศ. ๑๙๖๓) และปี พ.ศ. ๒๕๑๖ (ค.ศ. ๑๙๗๓) จะใกล้เคียงกัน แต่พื้นที่ที่จำแนก เป็นป่าทึบ (dense forests) ในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ มี น้อยกว่าพื้นที่ที่จำแนกเป็นป่าไม้ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ มาก ทั้งนี้ก็เนื่องจากพื้นที่ที่จำแนกเป็นป่าไม้ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ ได้รวมเอาพื้นที่ป่าโปร่งหรือป่าแคระแกร็นเข้าไปด้วย
พื้นที่ที่ปกคลุมด้วยป่าทึบมีอยู่ประมาณร้อยละ ๒๐ ของพื้นที่โลกที่เป็นที่ดินทั้งหมด แต่พื้นที่ที่ปกคลุม ด้วยป่าทึบโดยแท้จริงแล้ว มีน้อยกว่าร้อยละ ๒๐ หรืออยู่ ระหว่างร้อยละ ๑๗.๑๘ ก็ได้ เพราะพื้นที่ร้อยละ ๒๐ ได้รวมเอาพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม ป่าโปร่ง ฯลฯ เข้าไปด้วย นอกจากนี้ ตารางที่ ๑ ยังได้แสดงไว้ว่า ป่าทึบส่วนใหญ่ จะพบได้ในอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ ยุโรป และสหภาพโซเวียตรุสเซีย ส่วนในทวีปแอฟริกา และเอเชีย มีทรัพยากรป่าไม้ปกคลุมน้อยกว่ามาก
การที่จะสามารถทราบถึงสมรรถนะของป่าไม้ที่จะสามารถเก็บผลตามต้องการได้ดีนั้น จำเป็นจะต้องทราบถึงพื้นที่ป่าไม้ต่อคน (per caput) ของประชาชนในภาคพื้นต่างๆ ดังได้แสดงไว้ในตารางที่ ๒ จากตารางนี้ จะเห็นได้ว่า อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ สหภาพโซเวียตรุสเซีย และประเทศในย่านภาคพื้นแปซิฟิก มีพื้นที่ป่าไม้ต่อคนสูง ส่วนภาคพื้นอื่นๆ มีน้อยกว่ามาก หากเปรียบเทียบการสำรวจทั้งสองครั้ง คือ พ.ศ. ๒๕๐๖ และ พ.ศ. ๒๕๑๖ แล้ว จะเห็นได้ว่า พื้นที่ป่าไม้ต่อคนของทั้งทั่วโลก หรือทุกภาคพื้น ลดน้อยลงมาก ทั้งนี้เนื่องจากการเพิ่มของประชากรอย่างมาก และรวดเร็วยิ่ง ประเทศอุตสาหกรรมมีพื้นที่ต่อคนสูง กว่าประเทศที่มีอุตสาหกรรมน้อยมาก อย่างไรก็ดี ถ้าหากนำเอาปริมาตรของเนื้อไม้ต่อคนมาเทียบกับพื้นที่ป่าไม้ต่อคนแล้ว ปริมาตรเนื้อไม้เป็นดัชนีที่ชี้ถึงสมรรถนะของทรัพยากรป่าไม้ต่อความต้องการของโลกได้ดีกว่ามาก
ตารางที่ ๒ พื้นที่ป่าไม้ต่อคน
ภาคพื้น | สำรวจปี พ.ศ. ๒๕๑๖ | สำรวจปี พ.ศ. ๒๕๐๖ | |||
ป่าทึบ | ป่าโปร่ง | ที่ดินป่าไม้ | ป่าไม้ | ที่ดินป่าไม้ | |
ล้านเฮกตาร์ (๑ เฮกตาร์ = ๖.๒๕ ไร่) | |||||
อเมริกาเหนือ อเมริกากลาง อเมริกาใต้ แอฟริกา ยุโรป สหภาพโซเวียตรุสเซีย เอเชีย ประเทศในภาคพื้นแปซิฟิก รวมทั้งโลก ประเทศที่มีอุตสาหกรรมมาก ประเทศทีมีอุตสาหกรรมน้อย |
๒.๘ ๐.๗ ๒.๘ ๐.๕ ๐.๓ ๓.๒ ๐.๒ ๔.๑ ๐.๘ ๑.๕ ๐.๔๕ |
. . . . ๐.๘ ๑.๖ ๐.๐๖ ๐.๔๗ (๐.๐๓) ๕.๔ ๐.๒๖ ๐.๑๖ ๐.๒๘ |
๒.๘ ๐.๗ ๓.๘ ๒.๒ ๐.๔ ๓.๘ ๐.๒๕ ๙.๙ ๑.๑ ๑.๘ ๐.๘ |
๓.๔ ๐.๙๗ ๕.๓ ๒.๔ ๐.๓๒ ๓.๓ ๐.๒๘ ๕.๔ ๑.๒ ๑.๙ ๐.๙ |
๓.๘ ๑.๐ ๕.๗ ๒.๔ ๐.๓๓ ๔.๐ ๐.๓ ๕.๗ ๑.๓ ๒.๑ ๐.๙๕ |