ตามหลักวิชาพฤกษศาสตร์ บรรดาต้นไม้ในป่า จำแนกออกได้เป็น ๓ ประเภท คือ ต้นไม้ในตระกูลสน ในวงการค้าเรียกว่า ไม้เนื้ออ่อน ต้นไม้ที่มีใบเลี้ยงเดี่ยว (monocots) คือ ต้นปาล์มและไม้ไผ่ สำหรับต้นปาล์มนั้น เนื้อไม้ไม่มีค่าในวงการค้า แต่มีการนำไปใช้ในท้องถิ่นอยู่บ้าง ส่วนไม้ไผ่มีการใช้ประโยชน์อย่าง กว้างขวาง และต้นไม้ใบกว้าง (broadleaves) หรือในวงการค้า เรียกว่า ไม้เนื้อแข็ง (hard wood) สำหรับประเทศไทยป่าไม้ส่วนใหญ่จัดเข้าเป็นไม้ใบกว้าง เนื้อแข็ง ถ้าป่าใดมีต้นไม้ประเภทใดเป็นส่วนใหญ่ ก็ถือว่า เป็นป่าไม้ประเภทนั้นๆ ส่วนต้นไม้ที่มีใบเลี้ยงเดี่ยวก็มี ป่าไผ่ทางจังหวัดกาญจนบุรีมาก และป่าในโซนร้อนอีก หลายประเทศ เช่น อินเดีย ปากีสถาน แต่มีเนื้อที่ไม่มาก พอที่จะจัดเป็นป่าอีกประเภทหนึ่งของโลก
ตารางที่ ๓ ส่วนประกอบของป่าไม้ของโลก
ภาคพื้น | สำรวจ ปี พ.ศ. ๒๕๑๖ | สำรวจ ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ | |||
ป่า ตระกูลสน |
ป่าใบกว้าง | รวม๑ | ป่า ตระกูลสน |
ป่า ใบกว้าง |
|
ล้านเฮกตาร์ | ล้านเฮกตาร์ | ||||
อเมริกาเหนือ อเมริกากลาง อเมริกาใต้ แอฟริกา ยุโรป สหภาพโซเวียตรุสเซีย เอเชีย ประเทศภาคพื้นแปซิฟิก ทั่วทั้งโลก ประเทศที่มีอุตสาหกรรมมาก ประเทศที่มีอุตสาหกรรมน้อย |
(๔๐๐) (๒๐) (๑๐) ๒ ๗๕ ๕๕๓ ๖๕ ๑๑ ๑,๑๔๐ ๑,๐๕๐ ๙๐ |
(๒๓๐) (๔๐) ๕๕๐ ๑๘๘ ๕๐ ๑๗๕ ๓๓๕ ๖๙ ๑,๖๔๐ ๕๐๐ ๑,๑๔๐ |
๖๓๐ ๖๐ ๕๖๐ ๑๙๐ ๑๔๐ ๗๖๕ ๔๐๐ ๘๐ ๒,๘๐๐ ๑,๕๕๐ ๑,๒๓๐ |
๔๔๐ ๓๕ ๑๐ ๔ ๘๐ ๕๕๓ ๙๐ ๔ ๑,๒๑๖ ๑,๐๗๗ ๑๓๙ |
๒๖๐ ๓๖ ๘๐๐ ๖๗๖ ๕๗ ๑๗๕ ๔๐๐ ๘๔ ๒,๔๘๘ ๕๗๖ ๑,๙๑๒ |
ผลรวมของป่าตระกูลสนและป่าใบกว้างเมื่อรวมเข้าด้วยกันแล้ว ไม่ถือว่าเป็นผลรวมของป่าไม้ทั้งสองประเภท เพราะมิได้แสดงรายละเอียดถึงพื้นที่ที่กฎหมายห้ามมิให้มีการทำไม้ ( ) ตัวเลขที่ยังไม่สมบูรณ์ จากตารางที่ ๓ นี้ จะเห็นได้ว่า พื้นที่ที่เป็นป่าไม้ใบกว้าง มีมากกว่าป่าไม้ตระกูลสน และป่าไม้ทั้งสองประเภทมีเนื้อที่ลดน้อยลงมาก นอกจากนี้ จะเห็นได้ว่าประเทศที่มีอุตสาหกรรมมาก มีพื้นที่ป่าไม้ตระกูลสนมากกว่าประเทศที่มีอุตสาหกรรมน้อย เพราะไม้ตระกูลสนถูกนำมาเป็นวัตถุดิบของโรงงานอุตสาหกรรมมากกว่าไม้ใบกว้าง อย่างไรก็ดี อัตราการใช้ไม้ใบกว้างในวงการอุตสาหกรรมก็เพิ่มขึ้นอยู่เรื่อยๆ
ตารางที่ ๔ ปริมาตรของไม้ที่ยืนต้นอยู่ในป่าในโลก
ภาคพื้น |
เนื้อที่ |
ปริมาตร |
เนื้อที่ |
ปริมาตร |
ล้านเฮกตาร์ |
๑๐๐ ล้าน |
ล้านเฮกตาร์ |
๑๐๐ ล้าน ลูกบาศก์เมตร |
|
อเมริกาเหนือ อเมริกากลาง อเมริกาใต้ แอฟริกา ยุโรป สหภาพโซเวียตรุสเซีย เอเชีย ประเทศในย่านแปซิฟิก |
๖๓๐ ๖๐ ๕๓๐ ๑๙๐ ๑๔๐ ๗๖๕ ๔๐๐ ๘๐ |
๕๘๕ ๕๕ ๙๑๕ ๒๕๐ ๑๒๐ ๗๓๓ ๓๘๐ ๖๐ |
. . ๒ ๑๕๐ ๕๗๐ ๒๙ ๑๑๕ ๖๐ ๑๐๕ |
. . ๑ ๔๐ ๑๔๐ ๘ ๕๖ ๒๐ ๒๕ |
ทั่วโลก | ๒,๘๐๐ | ๓,๑๐๐ | (๑,๐๐๐) | (๓๐๐) |
จากตารางที่ ๔ พื้นที่ป่าทึบ (สมบูรณ์) ซึ่งมีอยู่๒,๘๐๐ ล้านเฮกตาร์ประเมินว่า มีปริมาตรไม้ยืนต้นอยู่ ประมาณ ๓๑๐,๐๐๐ ล้านลูกบาศก์เมตร และในป่าโปร่งซึ่งมีเนื้อที่อยู่ประมาณ ๑,๐๐๐ ล้านเฮกตาร์ มีปริมาตรไม้ยืนต้นอยู่ประมาณ ๓๐,๐๐๐ ล้านลูกบาศก์เมตร ในจำนวนปริมาตรไม้ป่าทึบที่มีอยู่ ๓๑๐,๐๐๐ ล้านลูกบาศก์เมตรนั้น ปรากฏว่า เป็นไม้ตระกูลสนเสีย ๑๐๐,๐๐๐ ล้านลูกบาศก์เมตร จากจำนวนที่มีการทำออกจากป่าทั้งสิ้นประมาณ ๑๐,๐๘๐ ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ ๑.๑ ของไม้ตระกูลสนทั้งหมด
ตารางที่ ๕ ปริมาตรไม้ยืนต้นต่อคน
|
ประชากรในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ |
ลูกบาศก์เมตร |
ลูกบาศก์เมตร |
ล้านคน | |||
อเมริกาเหนือ อเมริกากลาง อเมริกาใต้ แอฟริกา ยุโรป สหภาพโซเวียตรุสเซีย เอเชีย ประเทศในย่านแปซิฟิก |
๒๒๗ ๙๓ ๑๙๑ ๓๕๖ ๔๖๒ ๒๔๓ ๒,๑๓๒ ๑๙ |
๒๕๐ ๖๐ ๕๐๐ ๗๐ ๒๕ ๓๐๐ ๒๐ ๓๑๕ |
. . ๖๐ ๕๐๐ ๑๑๐ ๓๐ ๓๒๕ ๒๐ ๔๕๐ |
ทั่วโลก | ๓,๗๒๓ | ๘๕ | ๙๐ |
ดังได้กล่าวไว้ในตอนต้นแล้วว่า ปริมาตรเนื้อไม้ต่อคนเป็นดัชนีที่ชี้ให้เห็นถึงสมรรถนะของทรัพยากรป่าไม้ ได้ดีกว่าการแสดงออกของเนื้อที่ป่าไม้ต่อคน ตัวเลขในตารางที่ ๕ เป็นการประเมินปริมาตรเนื้อไม้ต่อคนในภาคพื้นต่างๆ ของโลก เมื่อพิจารณาภาคพื้นต่างๆ แล้วจะเห็นได้ว่า อเมริกาใต้มีปริมาตรเนื้อไม้ต่อคนสูงที่สุดถึง ๕๐๐ ลูกบาศก์เมตร รองลงไปก็ได้แก่ ประเทศในย่านแปซิฟิก ซึ่งมีอยู่คนละ ๓๑๕ ลูกบาศก์เมตร สหภาพโซเวียตรุสเซีย ๓๐๐ ลูกบาศก์เมตร และ อเมริกาเหนือ ๒๕๐ ลูกบาศก์เมตร ส่วนในเอเชียมีปริมาตรเนื้อไม้ต่ำสุดเพียง ๒๐ ลูกบาศก์เมตรต่อคน สถิติตัวเลขที่แสดงข้างต้นได้ถือตามประชากรของโลกในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ หากจะถือตามประชากรของโลกในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ซึ่งมีอยู่ถึง ๔,๕๕๔ ล้านคนแล้ว ปริมาตรเนื้อไม้ต่อคนของโลก ซึ่งมีอยู่ ๘๕ ลูกบาศก์เมตรนั้น อาจไม่ถึง ๔๐ ลูกบาศก์เมตร หรือน้อยกว่านี้ก็ได้