ถิ่นแพร่ระบาดทุกหนทุกแห่งที่มีการปลูกฝ้าย
ตัวเล็ก อ่อนนุ่ม รูปร่างเป็นรูปไข่ เคลื่อนไหวเชื่องช้า อยู่กันเป็นฝูง ดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนยอดอ่อน และใต้ใบ ยังไม่มีรายงานว่า เพลี้ยอ่อนชนิดนี้มีการผสมพันธุ์ หรือออกไข่ มีแต่การขยายพันธุ์โดยการออกตัวอ่อนที่ไม่มีการผสมพันธุ์ การเข้าทำลายฝ้ายในครั้งแรก จะเป็นเพลี้ยตัวเมียมีปีกยาวขนาด ๑.๒-๑.๘ มิลลิเมตร สีเขียวคล้ำ ปีกสีขาวใสพับข้างตัว ตัวเมียที่ไม่มีปีก แต่มีรูปร่างเหมือนตัวมีปีก ขนาดตัวโตกว่าตัวมีปีกเล็กน้อย และสีจางกว่า ซึ่งจะเป็นตัวออกลูกเป็นฝูงหนาแน่นมากจนอาหารมีไม่เพียงพอ มันจะออกลูกที่มีปีก
เพลี้ยอ่อนออกลูกเมื่ออายุ ๕-๑๕ วัน เพลี้ยตัวหนึ่ง ออกตัวอ่อนได้ตัวละ ๒-๒๙ ตัว/ครั้ง ชั่วอายุขัย ๑๐- ๕๕ วัน ออกตัวอ่อน ๓-๔๒ ตัว
ส้ม พืชจำนวนพวกแตง ปอแก้ว กระเจี๊ยบ ชบา และพืชจำพวกเดียวกันอีกหลายชนิด
มีแมลงห้ำ (predators) หลายชนิดคอยกินเพลี้ยอ่อน เช่น แมลงเต่า (lady bird beetle) ตัวอ่อนของแมลงช้าง (meuroptera) ตัวอ่อนของแมลงวันชนิดหนึ่ง (syrphidae) ตัวเบียน (parasites) มีแตนตัวเล็กมากชนิดหนึ่ง (aphidius)
เพราะว่าเพลี้ยอ่อนดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นฝ้ายเล็กๆ ก่อนออกสมอ ถ้าระบาดมากๆ มันอาจทำให้ฝ้ายไม่เจริญเติบโต การทำลายมากๆ มักเกิดเมื่อฝนไม่ตกในช่วงฝ้ายยังเล็กอยู่ ตามปกติเพลี้ยกระจายไปยังบริเวณใกล้เคียงช้า มีมดชนิดต่างๆ เป็นตัวสำคัญคอยนำเพลี้ยไปปล่อยตามต้นฝ้าย โดยได้มูลเพลี้ย (honey dews) ซึ่งมีน้ำหวานเป็นอาหาร ความเสียหายที่ฝ้ายได้รับอีกอย่างหนึ่ง คือ เมื่อเพลี้ยอ่อนอยู่ในไร่ ขณะฝ้ายแตกสมอแล้ว เพลี้ยจะถ่ายมูลลงบนปุยฝ้าย แล้วพวกราดำจะเกิดขึ้น เป็นเหตุให้เส้นใยสกปรก คุณภาพต่ำ ความสำคัญอีกอย่างหนึ่งของเพลี้ยอ่อน คือ เป็นพาหนะของเชื้อไวรัส ทำให้ต้นฝ้ายเป็นโรคใบหงิก