ถิ่นแพร่ระบาดเอเชีย
ไข่ มีขนาด ๐.๗-๐.๙ x ๐.๑๕-๐.๒ มิลลิเมตร งอโค้ง สีเขียวฝังลึก อยู่ในกึ่งกลางของใบ (midrib) หรือ เส้นใบ (vien) ทั้งสองด้านของใบ หรือวางไข่ในลำต้น และต้นอ่อน
ตัวอ่อน รูปเหมือนกบ ตัวแบน สีเขียวอมเหลืองจาง ยาวประมาณ ๐.๕ มิลลิเมตร ในระยะแรกจะยาวถึง ๒ มิลลิเมตร ในระยะที่ ๕ และระยะสุดท้าย ตัวอ่อนเคลื่อนไหวเร็ว เดินเหมือนปู คือ เดินเอาข้างไปอาศัยดูดกินอยู่เฉพาะด้านล่างของใบ ในตอนกลางวัน ชอบอยู่ตามซอกของเส้นใบฝ้าย
ตัวแก่ ตัวเล็ก รูปยาวรี ยาวประมาณ ๒.๕ มิลลิเมตร ตัวสีเขียวจางค่อนข้างใส ปีกโปร่งใส ลักษณะเด่นสำหรับเพลี้ยจักจั่นชนิดนี้ คือ มีจุดสีดำอยู่ตรงกึ่งกลางปีกข้างละจุด เป็นแมลงที่ปราดเปรียว เดินด้วยข้างเช่น เดียวกับตัวอ่อน แต่กระโดด และบินเร็วมาก เมื่อถูกรบกวน
ระยะไข่ ๖-๑๐ วัน
ตัวอ่อน ๒๑-๒๘ วัน
ตัวแก่อาจมีชีวิตอยู่ถึง ๖๐ วัน
ในปีหนึ่งขยายพันธุ์ได้ ๑๑ ชั่วอายุ
ตัวเมียวางไข่ได้ถึง ๓๐ ฟอง
มะเขือ กระเจี๊ยบ
ทั้งตัวอ่อน และตัวแก่ของเพลี้ยจักจั่นดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบฝ้าย และปล่อยสารมีพิษเข้าไปในใบ ทำให้ขอบใบฝ้ายเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล จนกระทั่งเป็นแดง และงอลง ใบฝ้ายเหี่ยว และร่วง ถ้าเพลี้ยระบาดมากๆ จะทำให้กล้าฝ้ายตายได้ ความเสียหายรุนแรงอยู่ในระยะฝ้ายเพิ่งงอก จนอายุประมาณ ๔๐ วัน ฝ้ายพันธุ์ที่มีขนน้อย เช่น ฝ้ายอเมริกันต่างๆ เพลี้ยนี้จะทำความเสียหายตลอดฤดู