ปุยฝ้ายหรือเส้นใยฝ้ายที่แยกออกจากเมล็ดนี้ ได้ให้ประโยชน์ต่อมนุษย์อย่างมาก เช่น
๑. เครื่องนุ่งห่ม ใช้ทำเป็น เสื้อ กางเกง หมวก ชุดชั้นในและอื่นๆ
๒. เครื่องใช้ในบ้าน มีผ้าคลุมเตียง ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน ผ้าเย็บที่นอน ผ้าห่ม ผ้านวม พรม ผ้า สักหลาด ผ้าม่าน ผ้าบุผนังห้อง ผ้าบุเพดาน และอื่นๆ
๓. การอุตสาหกรรม ใช้ในการทำยางรถยนต์ เบาะที่นั่ง เชือก ถุง สายพาน ผ้าใบ ท่อส่งน้ำ และการ ผลิตเส้นใยเทียม (rayon) ส่วนใหญ่ของการใช้ประโยชน์ดังกล่าวนี้ จะใช้ทำเป็นเครื่องนุ่งห่มและเครื่องใช้ในบ้าน
หลังจากหีบฝ้ายแยกเอาปุยฝ้ายออกไปแล้ว จะ เหลือเป็นเมล็ดฝ้ายอยู่ร้อยละ ๖๐-๗๐ หรือประมาณ ๒ ใน ๓ ของฝ้ายทั้งเมล็ด เมล็ดฝ้ายปกติจะมองเห็นเป็นสีขาว เพราะมีขนปุยสั้นๆ (linter) ที่เครื่องหีบดึงออกไปไม่ได้ เว้นแต่ฝ้ายพวกซีไอแลนด์ และอเมริกันอียิปเชียนเท่านั้น ที่เมล็ดมีสีดำ เพราะไม่มีขนปุยเหลือปกคลุม
เมล็ดฝ้ายหนัก ๑ ปอนด์จะมีจำนวน ๓,๐๐๐-๕,๐๐๐ เมล็ด เมล็ดฝ้ายจะประกอบด้วย
๑. ขนปุย ร้อยละ ๔-๖
๒. เปลือก ร้อยละ ๒๕-๓๐
๓. เนื้อ ร้อยละ ๖๔-๗๑
ส่วนต่างๆ ของเมล็ดฝ้ายนี้นำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมากมาย เช่น
นำไปใช้ทำผ้าซึมซับ ทำเบาะ ผ้าสักหลาด พรม และอุตสาหกรรมเซลลูโลส เช่น ทำเส้น ใยประดิษฐ์ ฟิล์มเอกซเรย์ พลาสติก
นำไปทำเป็นส่วนประกอบของ อาหารสัตว์ ทำปุ๋ยอินทรีย์ ในด้านอุตสาหกรรม นำไปทำพลาสติก ทำยางเทียม และเป็นส่วนประกอบในการเจาะและกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง
เป็นส่วนสำคัญของเมล็ดฝ้ายที่ให้ประโยชน์ แก่มนุษย์ โดยการนำไปสกัดเอาน้ำมัน (oil) ซึ่งใช้เป็นน้ำมันประกอบอาหารชนิดดีเยี่ยม และเป็นที่นิยม ส่วนมากใช้ทำเป็นเนย น้ำมันปรุงอาหาร เช่น น้ำมัน สลัด ส่วนน้ำมันชั้นสองที่ใช้เป็นอาหารไม่ได้ ก็นำไปใช้ทำเป็นตัวทำละลาย (emulsifier) ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมทำยารักษาโรค ทำยาปราบโรคแมลงศัตรู พืช เครื่องสำอาง ยาง พลาสติก เครื่องหนัง กระดาษและอุตสาหกรรมสิ่งทอ ส่วนกากที่เหลือจากสกัด เอาน้ำมันออกแล้ว มีจำนวนโปรตีนสูง จึงนำไปทำเป็นอาหารสัตว์ ปุ๋ย และมีการนำไปทำเป็นอาหาร มนุษย์ เช่น ใช้ประกอบการทำขนมปัง ทำอาหารที่ ประกอบด้วยเนื้อ เช่น ทำไส้กรอกและอาหารที่ทำจากเนื้อสัตว์อื่นๆ