Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

ระบบประสาท

Posted By Plookpedia | 06 ต.ค. 60
2,078 Views

  Favorite

ระบบประสาท

 


 

ระบบประสาทเกี่ยวข้องกับการควบคุมและประสานงานของการทำงานของส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเพื่อจัดเตรียมร่างกายให้มีปฎิกิริยาต่อสิ่งแวดล้อมภายนอกในขณะเดียวกันก็ควบคุมอวัยวะต่าง ๆ ภายในให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมภายในซึ่งจำเป็นสำหรับการยังมีชีวิตอยู่คนเราเหนือกว่าสัตว์ต่าง ๆ ก็โดยที่ระบบประสาทโดยเฉพาะสมองเจริญดีกว่าสัตว์ทั้งปวง
สมองและไขสันหลังของทารกในครรภ์อายุ ๓ เดือน
หลังจากเลาะเอากระดูกกะโหลกศีรษะและกระดูกสันหลังออกบางส่วน

 

 

ระบบประสาท แบ่งออกได้เป็น

๑. ระบบประสาทกลาง (central nerous system) ได้แก่ สมองและไขสันหลัง (spinal cord) ซึ่งเป็นศูนย์กลางควบคุมและประสานงานของการทำงานของร่างกายทั้งหมด


๒. ระบบประสาทนอก (peripheral nervous system) ซึ่งยังแบ่งต่อไปอีกเป็น

 
     ๒.๑ เส้นประสาทสมอง มี๑๒ คู่ ออกจากสมองผ่านรูต่าง ๆ ของกะโหลกศีรษะส่วนใหญ่กระจายไปบริเวณศีรษะ
 
     ๒.๒ เส้นประสาทไขสันหลัง มี ๓๑ คู่ ออกจากไขสันหลังเป็นช่วง ๆ ผ่านรูระหว่างกระดูกสันหลังไปสู่ร่างกายและแขนขา
 
     ๒.๓ ประสาทระบบอัตโนมัติควบคุมการทำงานของอวัยวะที่อยู่นอกอำนาจจิตใจและโดยไม่รู้สึกตัว เช่น การเต้นของหัวใจ การเคลื่อนไหวของอวัยวะภายในผนังของหลอดเลือดและต่อมต่าง ๆ ระบบอัตโนมัติยังแบ่งต่อไปอีกคือ
 
          ๒.๓.๑ ระบบซิมพาเธติค (stmpatthetic) มีเซลล์กำเนิดอยู่ในไขสันหลัง
 
          ๒.๓.๒ ระบบพาราซินพาเธติค (parasympathetic) มีเซลล์ กำเนิดอยู่ในสมองเป็นส่วนใหญ่

ระบบประสาทกลาง 


สมอง

เป็นส่วนของระบบประสาทที่เจริญอยู่ในโพรงกะโหลกศีรษะมีส่วนที่เจริญอยู่ในโพรงกะโหลกศีรษะมีส่วนที่เจริญเติบโตมากอยู่ ๓ แห่ง ติดต่อซึ่งกันและกัน คือ สมองส่วนหลัง สมองส่วนกลางและสมองส่วนหน้า

สมองส่วนหลังประกอบด้วยสมองน้อย (cerebellum) พอนส์ (pons) และเมดลลาออมลองกาตา (medulla oblongata) ซึ่งติดต่อกับ ไขสันหลัง 

สมองส่วนหน้า ประกอบด้วย ซีรีบรัม (cerebrum) เป็นส่วนใหญ่โตที่สุดของสมอง 

สมองส่วนกลาง เป็นส่วนแคบระหว่างสมองส่วนหน้าและสมองส่วนหลัง

สมองมีเยื่อหุ้ม ๓ ชั้นคือ

ชั้นนอกสุด เรียกว่า เยื่อดูรา (dula mater) หนาและเหนียวอยู่ชิดกับด้านในของกะโหลกศีรษะในที่บางแห่งเยื่อดูรายื่นแทรกเข้าไปในรอยแยกของสมองเพื่อพยุงและป้องกันการกระทบกระเทือนต่อสมอง 

ชั้นกลาง เรียกว่า เยื่ออะแร็คนอยด์ (arachnoid mater) เป็นชั้นบางอยู่แนบชิดกับด้านในของเยื่อดูรา 

ชั้นใน เรียกว่า เยื่อเปีย (pia mater) เป็นชั้นบาง ๆ อยู่ แนบสนิทกับผิวของสมองแต่แยกห่างจากเยื่ออะแร็คนอยด์จึงเป็นช่องว่างขึ้น เรียกว่า ช่องใต้อะแร็คนอยด์ (subarachnoid space) ซึ่งจะมีน้ำอยู่เรียกว่าน้ำหล่อสมองและไขสันหลัง (cerebro-spinal fluid)
ด้านข้างของสมองส่วนหน้า (ซีรีบรัม)

 

 

ไขสันหลัง 

อยู่ภายในช่องสันหลังมีขนาดเล็กกว่านิ้วมือยาวประมาณ ๔๕ เซนติเมตร ทารกในครรภ์ไขสันหลังยาวไปถึงก้นกบแต่ในการเจริญเติบโตต่อมากระดูกสันหลังเจริญเร็วกว่า และมากกว่าไขสันหลังไขสันหลังจึงเลื่อยขึ้นบนกระทั่งไปอยู่ที่ระดับกระดูกสันหลังส่วนเอวอันที่ ๓ ในเด็กเกิดใหม่และไปอยู่ที่ระดับส่วนบนของกระดูกสันหลังส่วนเอวอันที่ ๒ ในผู้ใหญ่ปลายล่างของไขสันหลังมีนเส้นเป็นเงาแข็งแรงต่อลงไปติดที่ด้านหลังของกระดูกก้นกบ

ไขสันหลังและรากประสาทไขสันหลัง

 

 

ไขสันหลังมีเส้นประสาทสันหลังออกไป ๓๑ คู่ผ่านรูระหว่างกระสันหลัง 

ไขสันหลังมีเยื่อหุ้ม ๓ ชิ้น เช่นเดียวกับสมองแต่ชั้นนอกสุดไม่ติดกับกระดูกสันหลังชั้นกลางแยกจากชั้นในและมีน้ำหล่อไขสันหลังบรรจุอยู่


ระบบประสาทนอก 


ประสาทสมอง

มี ๑๒ คู่ เลี้ยงบริเวณศีรษะและคอเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นคู่ที่ ๑๐ ไปเลี้ยงอวัยวะภายในช่องอกและช่องท้อง 

คู่ที่ ๑ ประสาทโอลแพคตอรี (olfactory nerve) เป็นประสาทรับความรู้สึกจากเยื่อเมือกของจมูกมีหน้าที่รับกลิ่น 

คู่ที่ ๒ ประสาทออพติก (optic nerve) เป็นประสาทรับความรู้สึกจากเรตินา (retina) ของตา มีหน้าที่รับความรู้สึกเกี่ยวกับแสงสีและภาพ

คู่ที่ ๓ ประสาทออคคูโลมอเติร์(occulomotor nerve) เป็นป ระสาทยนต์เลี้ยงกล้ามเนื้อที่เคลื่อนไหวลูกตาและกล้ามเนื้อดึงหนังตาบนขึ้น (ลืมตา) มีหน้าที่ทำให้ลูกตาเคลื่อนไหวอย่างสัมพันธ์กันนอกจากนั้นประสาทสมองคู่ที่ ๓ ยังนำประสาทพวกพาราซิมพาเธติคซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการมองเห็นชัดและควบคุมขนาดของรูม่านตาให้เหมาะสมกับแสงสว่างอีกด้วย 

คู่ที่ ๔ ประสาททรอเคลียร์ (trochlear nerve) เป็นประสาทยนต์ เลี้ยงกล้ามเนื้อเคลื่อนไหวลูกตา ๑ มัด

คู่ที่ ๕ ประสาทไทรเจมินัล (trigeminal verve) เป้นประสาทที่มีทั้งประสาทยนต์และประสาทรับความรู้สึกส่วนที่เป็นประสาทยนต์จะไปเลี้ยงกล้ามเนื้อที่เคลื่อนไหวกระดูกขากรรไกรล่างเกี่ยวกับการเคี้ยวกล้ามเนื้อที่เคลื่อนไหวเพดานอ่อนและกล้ามเนื้อที่ทำให้เยื่อหูตึงขึ้นเพื่อการฟังชัดส่วนที่เป็นประสาทรับความรู้สึกจะรับความรู้สึกจากผิวหนังของหน้าหนังศีรษะส่วนครึ่งหน้าเยื่อบุของปากเหงือกและลิ้น

คู่ที่ ๖ ประสาทแอบดูเซนต์ (abducent nerve) เป็นประสาทยนต์เลี้ยงกล้ามเนื้อเคลื่อนไหวลูกตาอีกมัดหนึ่ง 

คู่ที่ ๗ ประสาทแฟเซียล (facial nerve) เป็นประสาทยนต์เลี้ยง กล้ามเนื้อของใบหน้าเพื่อบ่งบอกถึงอารมณ์ต่าง ๆ 

นอกจากนี้ ยังนำประสาทพาราซิมาพาเธติคไปเลี้ยงต่อมของช่องจมูก เพดาน ต่อมน้ำตาและต่อมน้ำลายใต้คางและใต้ลิ้นและยังรับรสจากลิ้นส่วนหน้า ๒/๓ 

คู่ที่ ๘ ประสาทเวสติบูโล-โคเคลียร์ (vestibulo-coclear nerve) เป็นประสาทรับความรู้สึกเกี่ยวกับการได้ยินและการทรงตัว 

คู่ที่ ๙ ประสาทกลอสโซ-ฟารีงเจียล (glosso-pharyngeal nerve) มีทั้งประสาทยนต์และประสาทรับความรู้สึกประสาทยนต์ไปควบคุมกล้ามเนื้อของคอหอยประสาทรับความรู้สึกรับความรู้สึกจากคอหอยส่วนหลังของลิ้นช่องหูส่วนกลางนอกจากนี้ยังนำประสาทพาราซิมพาเธติดไปเลี้ยงต่อมน้ำลายพาโรติดและยังรับรสจากส่วนหลังของลิ้นด้วย

คู่ที่ ๑๐ ประสาทเวกัส (vagus nerve) ส่วนใหญ่เป็นประสาทพาราซิมพาเธติคมีประสาทยนต์เลี้ยงกล้ามเนื้อเรียบของหลอดอาหารกระเพาะอาหารลำไส้จนถึงส่วนทอดขวางของลำไส้ใหญ่ ตับอ่อน หัวใจ ปอด รวมทั้งต่อมต่าง ๆ ของทางเดินลำไส้ใหญ่ด้วยและมีประสาทรับความรู้สึกรับความรู้สึกจากอวัยวะต่าง ๆ เหล่านี้ด้วย

คู่ที่ ๑๑ ประสาทแอคเซสเซอรี (accessory nerve) มีประสาทยนต์ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อที่เคลื่อนไหวและไหล่กล้ามเนื้อยกเพดานอ่อนกล้ามเนื้อเกี่ยวกับการกลืนกล้ามเนื้อควบคุมการหายใจและการเปล่งเสียง 

คู่ที่ ๑๒ ประสาทไฮโปกลอสซัล (hypoglossal nerve) ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อของลิ้นทำให้เกิดการเคลื่อนไหว 

ประสาทไขสันหลัง มี ๓๑ คู่ แบ่งเป็นประสาทสมองส่วนคอ ๘ คู่ ส่วนนอก ๑๒ คู่ ส่วนเอว ๕ คู่ ส่วนก้น๕ คู่ และส่วนก้นกบ ๑ คู่ แต่ละเส้นประกอบด้วยประสาทยนต์ และประสาทรับความรู้สึกไปสู่กล้ามเนื้อและผิวหนังส่วนคอ แขน ส่วนอก ส่วนเอว ส่วนก้นและขาตามลำดับ

ด้านล่างของสมอง แสดงสมองส่วนต่าง ๆ และประสาทสมอง ๑๒ คู่

 

 

ประสาทระบบอัตโนมัติ 

ประสาทซิมพาเธติคมีเซลล์กำเนิดอยู่ในไขสันหลังระดับส่วนอกทั้งหมดและส่วนเอวช่วงบนและเส้นใยประสาทฝากไปกับประสาทไขสันหลัง

ประสาทพาราซิมพาเธติคมีเซลล์กำเนิดอยู่ในไขสมองแล้วส่งเส้นใยประสาทฝากไปกับเส้นประสาทสมองคู่ที่ ๓ คู่ที่ ๗ คู่ที่ ๙ และคู่ที่ ๑๐ ดัง กล่าวมาแล้วนอกจากนี้ยังมีเซลล์กำเนิดอยู่ในไขสันหลังส่วนล่างด้วย

ทั้งประสาทซิมพาเธติคและพาราซิมพาเธติคกระจายไปเลี้ยงอวัยวะเดียวกันเป็นส่วนใหญ่ยกเว้นต่อมเหงื่อ ต่อมไขมันและหลอดเลือดผิวหนังของแขนและขามีแต่ซิมพาเธติคอย่างเดียว เช่น ซิมพาเธติคไปเลี้ยงหัวใจทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นแต่พาราเธติคทำให้หัวใจเต้นช้าลงซิมพาเธติคทำให้ลำไส้มีการเคลื่อนไหวช้าลงแต่พาราซิมพาเธติคทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวเร็วขึ้นซิมพาเธติคทำให้รูม่านตากว้างขึ้นแต่พาราซิมพาเธติคทำให้รูม่านตาเล็กลง

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow