Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

ระบบเลือดไหลเวียน

Posted By Plookpedia | 06 ต.ค. 60
2,359 Views

  Favorite

ระบบเลือดไหลเวียน


การเคลื่อนของเลือดติดต่อกันเป็นวงจรเกิดขึ้นได้โดยการหดตัวของหัวใจเลือดออกจากหัวใจโดยทางหลอดเลือดแดง (artery) และกลับเข้าสู่หัวใจโดยทางหลอดเลือดดำ (vein) หลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำติดต่อกันโดยหลอดเลือดฝอยเล็ก ๆ และบางประสานกันเป็นร่างแหดังนั้นเลือดที่ออกจากหัวใจจึงมีหน้าที่นำสารบางอย่าง เช่น ออกซิเจน และอาหารที่ย่อยแล้วไปสู่เนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกายสำหรับการเจริญเติบโตและให้ทำงานได้ตามปกติและนำของเสียจากการเผาผลาญ (waste product) ไปสู่ปอดและไต เพื่อขับออกจากร่างกายบทบาทที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของระบบเลือดไหลเวียนก็คือช่วยในการต่อสู้เชื้อโรคและการซ่อมแซมเมื่อได้รับอันตรายและยังนำฮอร์โมนซึ่งเป็นสิ่งที่หลั่งจากต่อมไร้ท่อไปทั่วร่างกาย


หัวใจ 

เวนตริเคิลซ้าย อยู่ทางซ้ายรับเลือดจากเอเตรียมซ้ายและบีบเลือดส่งไปทางหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ตา (aorta) ซึ่งมีแขนงมากมายไปเลี้ยงทั่วร่างกายที่ส่วนต้นของแอออร์ตามีลิ้นให้เลือดจากเวนตริเคิลซ้ายออกไปได้แต่จะปิดสนิทไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ

 

เป็นเครื่องสูบฉีดเลือดประกอบด้วยผนังเป็นกล้ามเนื้อหนา หดตัวและคลายตัวเป็นจังหวะไม่มีหยุดรูปร่างของหัวใจคล้ายรูปกรวยทู่และแบนจากหน้าไปหลังเล็กน้อย 

ช่องหัวใจแบ่งออกเป็นครึ่งซ้ายและขวาโดยผนังกั้นเฉียง ๆ แต่ละข้างประกอบด้วยช่องที่รับเลือดดำเรียกว่า เอเตรียม (atrium) ซึ่งมีผนังบางและช่องที่ผนังเลือดออกซึ่งมีผนังหนา เรียกว่า เวนตริเคิบ (ventricle) ดูภายนอกมีร่องตื้น ๆ บอกตำแน่งรอยต่อระหว่าง เอเตรียมกับเวนตริเคิล ภายในส่วนล่างของเอเตรียมเปิดเข้าสู่ส่วนหลังของเวนตริ เคิล โดยรูกว้างซึ่งเรียกว่ารูอะตริโอเวนตริคูลาร์ (atrio- ventricular oritice) แต่ละรูนี้มีลิ้นหัวใจซึ่งยอมให้เลือดจาก เอ เตรียมไปสู่เวนตริเคิลได้แต่ป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ 

เอเตรียมขวา อยู่ทางขวาค่อนไปทางหน้ารับเลือดเสียจากศีรษะ คอและแขน ทางหลอดเลือดวีนาคาวาหลอดบน (superior vena cava) และรับเลือดดำจากส่วนอก ท้อง เชิงกรานและขาโดยทางหลอดเลือดวีนา คาวาหลอดล่าง (inferior vena cava) และยังรับเลือดจากผนังหัวใจเองด้วย

เวนตริเคิลขวา อยู่ทางขวาค่อนไปทางหน้ารับเลือดดำจากเอเตรียมขวาและบีบเลือดไปสู่ปวดทั้งสองข้างโดยหลอดเลือดแดงสู่ปอดที่ส่วนต้นของหลอดเลือดแดงสู่ปอดมีลิ้นให้เลือดออกจากหัวใจไปได้แต่จะปิดสนิทไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ 

เอเตรียมซ้าย อยู่ทางซ้ายค่อนไปทางหลังรับเลือดดำจากปอดทั้งสองข้าง

ด้านหน้าของหัวใจ

 

 

หลอดเลือดแดง 


เมื่อหัวใจหดตัวก็จะบีบไล่เลือดไปสู่เอออร์ตาและหลอดเลือดแดงแขนงใหญ่ ๆ ทันทีหลอดเลือดแดงขนาดใหญ่จึงมีเส้นใยยึดหยุ่นมากในผนังและยืดออกได้เมื่อหัวใจหดตัวทุกครั้งเพื่อป้องกันอันตรายที่มีต่อหลอดเลือดขนาดเล็กกว่าอันเนื่องจากความดันของเลือดที่ออกมาอย่างแรง

เพื่อที่จะควบคุมการส่งเลือดไปยังเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกายให้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอหลอดเลือดขนาดกลางจึงมีกล้ามเนื้อเรียบมากขึ้นหลอดเลือดขนาดเล็กจะกลับมีกล้ามเนื้อเรียบน้อยลงหลอดเลือดฝอยมีขนาดเล็กมากขนาด ๘–๑๐ ไมครอน ไม่มีกล้ามเนื้อเลยมีแต่เยื่อบุผนังเท่านั้นสำหรับการแลกเปลี่ยนออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ อาหารและของเสียซึมผ่านผนังได้โดยสะดวกและรวดเร็ว

ด้านหลังของหัวใจ

 

 

หลอดเลือดดำ 


เลือดในหลอดเลือดดำไหลช้ากว่าและความดันเลือดก็ต่ำกว่าในหลอดเลือดแดงดังนั้นหลอดเลือดดำจึงมีขนาดใหญ่กว่าและผนังบางกว่าหลอดเลือดแดงหลอดเลือดดำตั้งต้นจากหลอดเลือดฝอยแล้วก็มีขนาดโตขึ้น ๆ จนเข้าสู่เอเตรียมของหัวใจ

หัวใจผ่าซีก (ตามแนวในรูปเล็ก) แสดงให้เห็นภายในของหัวใจ

 

 

ในปลาหัวใจเป็นเพียงท่ออันเดียวรับเลือดเสียที่ปลายข้างหนึ่งและบีบไล่เลือดเสียเนื้ออกทางปลายอีกข้างหนึ่งไปสู่ร่างแหหลอดเลือดฝอยที่เหงือกเพื่อรับออกซิเจนจากน้ำเมื่อมีวิวัฒนาการของสัตว์บกอากาศเป็นแหล่งของออกซิเจนจึงจำเป็นต้องมีอวัยวะสำหรับการหายใจใหม่ ได้แก่ ปอดซึ่งเป็นอวัยวะที่ติดต่อกับอากาศภายนอกโดยทางปากและจมูก วิวัฒนาการของปอดทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของระบบเลือดไหลเวียนซึ่งเลือดเสียกลับเข้าสู่หัวใจแล้วจะต้องสามารถส่งเลือดเสียไปยังปอดก่อนอื่นเพื่อปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ และรับออกซิเจนแล้วจึงส่งเลือดที่มีออกซิเจนไปทั่วร่างกายอันนี้เองเป็นสาเหตุให้มีการเกิดผนังกั้นกลางซึ่งแบ่งหัวใจที่เคยเป็นห้องเดียวออกเป็นครึ่งซ้ายและครึ่งขวา

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow