เท่าที่ได้กล่าวมาแล้วจะเห็นได้ว่าการแพทย์ของไทยโบราณแม้จะได้รับความรู้มาจากประเทศที่ก้าวหน้าไปบ้างในทางการแพทย์ เช่นประเทศอินเดียและประเทศจีนความรู้ที่ได้มาดูจะหนักไปในการรักษาทางยามากกว่าวิชาการทางศัลยกรรมเพราะผู้ที่จะเป็นศัลยแพทย์ได้ดีจำเป็นจะต้องมีความรู้เรื่องร่างกายของมนุษย์ดีด้วยเมื่อความรู้ทางพื้นฐานไม่แน่นพอการที่นำวิชาการไปถ่ายทอดต่อไปจึงไม่คิดว่าจะเป็นไปได้เข้าใจว่าการรักษาโรคภัยไข้เจ็บในสมัยสุโขทัยคงเป็นการรักษาโดยใช้ยาเป็นวิธีการที่สำคัญแม้กระนั้นเท่าที่ได้สืบค้นมาถึงขณะนี้ยังไม่พบบันทึกใดที่เกี่ยวกับการใช้ยาหรือวิธีการใดในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บในสมัยสุโขทัยหรือก่อนหน้านั้นแต่มีหลักฐานอยู่ประการหนึ่งซึ่งยังเป็นที่โต้เถียงกันมาก คือ ได้พบแผ่นหินที่มีช่องเจาะและมีรอยเท้า ๒ ข้างเหมือนฝาปิดส้วมซึมที่ใช้อยู่ในปัจจุบันขณะนี้ชิ้นหนึ่งยังตั้งแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติรามคำแหง จังหวัดสุโขทัย นายแพทย์สำราญ วังสพ่าห์ เข้าใจว่าเป็นฝาส้วมจริง ๆ ถ้าเป็นจริงก็แสดงว่าประชาชนในกรุงสุโขทัยมีความก้าวหน้าในเรื่องสุขภาพอนามัยยิ่งกว่าชาวชนบทในปัจจุบัน คือ รู้จักควบคุมอุจจาระไม่ให้แพร่กระจายอันเป็นสาเหตุของโรคที่พบในปัจจุบันหลายโรคแต่บางท่านก็ไม่เชื่อกลับไปอธิบายว่าเป็นฐานรองรับศิวลึงค์ในลัทธิฮินดูผู้เขียนทดลองไปนั่งดูเท้าทั้งสองข้างวางได้ที่แต่เกิดสงสัยเพราะถ้าถ่ายอุจจาระจริง ๆ อุจจาระจะเลยรูที่เจาะไว้
การแพทย์ที่ใช้อยู่ในสมัยสุโขทัยคงสืบต่อมาจนถึงสมัยอยุธยาและอาจสืบต่อมาถึงปัจจุบันด้วยเพราะตำรายาไทยที่พบและใช้มากมายก็เป็นตำรับที่สืบต่อกันมาไม่สามารถจะกล่าวได้ว่าได้มีผู้ใดตั้งตำรับประสมยาขนานใดขนานหนึ่งขึ้นใหม่แต่ตำรับยาแต่ละตำรับก็สืบเนื่องกันมาตามการอบรมการเป็นแพทย์ในสมัยนั้น ๆ คือ การแพทย์แผนโบราณ ไม่ปรากฏมีโรงเรียนและมีหลักสูตรแน่นอนการจะเป็นแพทย์ก็คือเข้าไปฝึกฝนกับอาจารย์คนใดคนหนึ่งโดยตรงแบบชีวกโกมารภัจจ์ที่เดินทางไปศึกษาที่เมืองตักกสิลาศึกษากับอาจารย์คนใดคนหนึ่งตามความรู้ความชำนาญของอาจารย์คนนั้นซึ่งผิดกับการอบรมแพทย์ตามแผนปัจจุบันมากเพราะเมื่อได้จำแนกวิชาลงไปแล้วโรงเรียนแพทย์แผนปัจจุบันก็หาอาจารย์มาสอนเฉพาะแขนงวิชานั้น ๆ ไม่ได้มอบหมายศิษย์คนใดคนหนึ่งกับอาจารย์ท่านใดท่านหนึ่งอบรมสั่งสอนตลอดหลักสูตรของการเรียนแพทย์แพทย์ที่เป็นอาจารย์จึงอาจฝึกฝนในวิชาของตนให้มีความรู้กว้างขวางขึ้นแต่ก็ไม่อาจจะรู้ไปทุกแขนงวิชาของการแพทย์ความรู้อาจจะก้าวหน้าจริงตามความสามารถความชำนาญและการสืบสวนค้นคว้าของอาจารย์แต่ก็ไม่สามารถถ่ายทอดวิชาที่ตนรู้ทั้งหมดแก่ศิษย์คนใดคนหนึ่งได้เพราะเขาจะไปเล่าเรียนกับอาจารย์คนอื่น ๆ ในแขนงวิชาต่าง ๆ จนจบหลักสูตรการแพทย์ต่อจากนั้นจึงจะมาเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาใดสาขาหนึ่งตามความสมัครใจของศิษย์ผู้นั้นภายหลังเมื่อสำเร็จแพทย์แล้วแม้ในหนังสือบางเล่มจะกล่าวถึงวิธีการเรียนแพทย์แผนโบราณว่าคล้ายการแพทย์แผนปัจจุบัน คือ มีการเพ่งเล็งสมุฏฐานของโรคว่า คือ สาเหตุการเกิดโรคในการทายโรคและวินิจฉัยโรคแต่การแพทย์แผนปัจจุบันแม้จะศึกษาสาเหตุของการเกิดโรคเช่นกัน แต่ก็พิจารณาการเป็นโรคนอกจากสาเหตุแล้วยังพิจารณาอวัยวะที่เป็นโรคไปพร้อมกันด้วยสมุฏฐานของโรค
ในการแพทย์แผนโบราณไม่ได้เพ่งเล็งที่อวัยวะ หรือแม้จะเพ่งเล็งก็น้อยมาก ฉะนั้นจึงจัดสมุฏฐานออกเป็น ธาตุสมุฏฐาน คือ สมุฏฐานของการเปลี่ยนแปลงแปรปรวนของธาตุทั้ง ๔ คือ ธาตุดิน (ปัถวีธาตุ) ธาตุน้ำ (อาโปธาตุ) ธาตุลม (วาโยธาตุ) และธาตุไฟ (เตโชธาตุ) แม้จะมีฤดูสมุฏฐาน คือ สาเหตุจากความเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศ อายุสมุฏฐาน คือ อายุของบุคคลมีความโน้มเอียงที่จะเกิดโรคต่าง ๆ ได้ และกาลสมุฏฐาน คือ โรคซึ่งเกิดขึ้นตามเวลาแห่งวัน ทั้ง ๓ สมุฏฐานที่กล่าวก็เป็นเพียงข้อปลีกย่อยที่นำไปประกอบธาตุสมุฏฐานทั้ง ๔ ดังตัวอย่างที่ย่อจากคู่มือการศึกษาวิชาเวชกรรม (พ.ศ. ๒๕๑๓)
ต่อไปนี้
กองที่ ๒ กองอุตุสมุฏฐาน (ฤดูสมุฏฐาน) แปลว่า ฤดูเป็นที่ตั้งที่แรกเกิดของโรคแบ่งออกเป็น ๓ หมวด ... หมวดที่ ๒ ในปีหนึ่ง แบ่ง ๔ ฤดู เป็นฤดูละ ๓ เดือน ฤดูที่ ๑ นับจากขึ้น ๑ ค่ำเดือน ๕ เดือน ๖ ถึงสิ้นเดือนเป็นสมุฏฐานเตโชธาตุ ... หมวดที่ ๓ ในปีหนึ่งแบ่ง ๖ ฤดู เป็นฤดูละ ๒ เดือน ฤดูที่ ๕ นับจากแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๐ เดือน ๑๑ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ ถ้าเป็นไข้เป็นเพื่อวาโย ธาตุ เสมหะและปัสสาวะ
กองที่ ๓ กองกาละสมุฏฐาน แบ่งออกเป็น ๔ ตอน (ยาม) ... ตอนที่ ๔ เวลากลางวัน นับแต่ ๑๕.๐๐ น. ถึง ๑๘.๐๐ น. เวลากลางคืนนับตั้งแต่ ๐๓.๐๐ น. ถึง ๐๖.๐๐ น. เป็นสมุฏฐานวาโยธาตุ
จากตัวอย่างดังกล่าวธาตุทั้ง ๔ คือ ธาตุสมุฏฐานจึงเป็นรากฐานในการแพทย์แผนโบราณของไทย
ปัถวีธาติ เป็นที่ตั้งที่แรกเกิดของโรคมี ๒๐ อย่าง
๑. เกษา (ผม)
๒. โลมา (ขน)
๓. นขา (เล็บ)
๔. ทันตา (ฟัน)
๕. ตะโจ (หนัง)
๖. มังสัง (เนื้อ)
๗. นหารู (เส้นเอ็น)
๘. อัฐิ (กระดูก)
๙. อัฐมัญซัง (เยื่อในกระดูก)
๑๐. วักกัง (ม้าม)
๑๑. หทยัง (หัวใจ)
๑๒. กิโลมกัง (พังผืด)
๑๓. ยกนัง (ตับ)
๑๔. ปัทถัง (ไต)
๑๕. ปับผาสัง (ปอด)
๑๖. อันตัง (ลำไส้ใหญ่)
๑๗. อันตคุนัง (ลำไส้น้อย)
๑๘. อุทริยัง (อาหารใหม่)
๑๙. กรีสัง (อาหารเก่า)
๒๐. มัตถเกมตถลุงกัง (มันสมอง)
อาโปธาตุ เป็นที่ตั้งที่แรกเกิดของโรค ๑๒ อย่าง
๑. ปิตตัง (น้ำดี)
๒. เสมหัง (น้ำเสลด)
๓. ปุพโพ (น้ำหนอง)
๔. โลหิตัง (น้ำโลหิต)
๕. เสโท (น้ำเหงื่อ)
๖. เมโท (น้ำมันข้น)
๗. อัสสุ (น้ำตา)
๘. วสา (น้ำมันเหลว)
๙. เขโฬ (น้ำลาย)
๑๐. สังฆานิกา (น้ำมูต)
๑๑. อสิกา (น้ำมันไขข้อ)
๑๒. มุตตัง (น้ำปัสสาวะ)
วาโยธาตุ เป็นที่ตั้งที่แรกเกิดของโรค ๖ อย่าง
๑. อุทธังคมาวาตา (ลมพัดขึ้น)
๒. อโธคมาวาตา (ลมพัดลง)
๓. กุจฉิสยาวาตา (ลมในท้อง)
๔. โกฎฐานยวาตา (ลมในลำไส้)
๕. อังมังคานุสาริวาตา (ลมพัดในกาย)
๖. อัสสาสะปัสสะวาตา (ลมหายใจ)
เตโชธาตุ เป็นที่ตั้งที่แรกเกิดของโรค ๔ อย่าง
๑. สันตัปปัคคี (ไฟสำหรับอบอุ่นกาย)
๒. ปริทัยหัคคี (ไฟสำหรับร้อน ระส่ำระสาย)
๓. ธิรถอัคคี (ไฟสำหรับเผาให้แก่คร่ำคร่า)
๔. ปริณามัคคี (ไฟสำหรับย่อยอาหาร)
รวม
ขอ
อนึ่ง
ถ้า
ถ้า
ถ้า
ถ้า
ถ้า
ถ้ามิถอยให้เอาน้ำอ้อยสด น้ำใบผักเป็ด พริกไทยรำหัด น้อยหนึ่งกินแก้ร้อนแก้กระหายน้ำหายแล
ถ้า
เท่า
สาเหตุ
ใน
ขนาน
พิจารณา
นอก
ประการสุดท้ายเป็นเพราะขาดการรวมตัวกันเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความชำนาญตัวอย่างที่เห็นได้อย่างดีจะอยู่ในสมัยใกล้กับปัจจุบัน คือ สมัยที่มีการสร้างโรงศิริราชพยาบาลเมื่อสร้างเสร็จแล้วหาหมอยาไทยหรือหมอแผนโบราณมาประจำไม่ได้เพราะแพทย์หลวงที่มีความชำนาญไม่ยอมรับมาประจำเป็นแพทย์และเป็นอาจารย์ในโรงพยาบาลเหตุที่ไม่ยอมมาเพราะวิธีการรักษาและการใช้ยาต่างครูต่างอาจารย์ไม่อาจรวมกันได้ไม่สามารถจะแลกเปลี่ยนความรู้และความชำนาญของแต่ละคนที่มีสู่ซึ่งกันและกันได้