หนังสือ
อีก
ใน
ใน
แพทย์
ทางฝ่าย
๑. อาจารย์อทริ
๒. ท่าน
๓. พระ
๔. พระฤาษีภาสทวา
๕. พระฤาษีธันวัน
๖. หมอ
ใน
ชี
ข้อความที่กล่าวจะมีความจริงประการใดไม่อาจยืนยันได้ตำรายาไทยทุกเล่มจะต้องอ้างข้อความดังกล่าวนี้ถ้าวิธีทดสอบนี้เป็นความจริงก็จะได้ข้อคิดเป็น ๒ ประการ ประการหนึ่งการเรียนแพทย์ของเมืองตักกสิลาเป็นการเรียนทางอายุรศาสตร์ยิ่งกว่าทางศัลยกรรมประเทศไทยเราดูจะรับเรื่องทางยาสมุนไพรมายิ่งกว่าทางการผ่าตัดการผ่าตัดจึงเป็นเรื่องปฏิบัติกันน้อยมากหรือเกือบไม่มีเลยในสมัยสุโขทัยสมัยอยุธยาและในตอนต้นของสมัยรัตนโกสินทร์ พึ่งจะมาปรากฏชัดเจนเอาในตอนกลาง ของสมัยรัตนโกสินทร์ ประการที่ ๒ ถ้าพืชทุกชนิดเป็นยาการที่มีผู้คิดจะปลูกสวนพืชใช้ทำยาก็ไร้ประโยชน์ผิดจากข้อเท็จจริงเพราะเมื่อพืชทุกชนิดเป็นยาทำไมจึงจะไปคัดพืชบางชนิดออกว่าไม่ใช่พืชใช้เป็นยาแล้วไม่ยอมนำเอาไปปลูกในสวนนั้น
ในการเดินทางกลับ ชีวกโกมารภัจจ์ได้ใช้วิชาความรู้ที่เรียนหาเสบียงเพื่อเดินทางกลับกรุงราชคฤห์โรคแรกที่รักษา คือ รักษาโรคปวดศีรษะเรื้อรังที่เมืองสาเกตุแคว้นมหารัฐโกศลเมื่อถึงกรุงราชคฤห์ได้ถวายการรักษาริดสีดวงทวารโดยวิธีใช้ยาทาให้แก่พระเจ้าพิมพิสารจนได้รับตำแหน่งแพทย์ประจำพระองค์และเป็นแพทย์ประจำองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยมีการผ่าตัดเข้าไปในกะโหลกเหมือนทรีไฟนิงเช่นที่กล่าวถึงมาแล้วทำการรักษาฝีในช่องท้องโดยการผ่าตัดยาที่ประกอบขึ้นดูจะมีสรรพคุณเหลือหลาย ทำเป็นพระโอสถถวายพระเจ้าจันทปัชโชติแห่งกรุงอุชเชนีแคว้นอวันตีเพียงครั้งเดียวก็หายเพียงยาขนาดติดปลายเล็บก็พอเป็นยาถ่ายอย่างรุนแรงจนข้าของพระเจ้าจันทปัชโชติตามมาจับตัวหมดแรงเดินทางต่อไปไม่ได้นอกจากนี้ยังได้ถวายพระโอสถถ่ายแด่พระพุทธองค์โดยวิธีดมไม่ต้องเสวยถวายการรักษาบาดแผลที่พระชงฆ์ของพระพุทธองค์ ที่เกิดจากทรงถูกสะเก็ดหินก้อนใหญ่ที่กลิ้งลงมาโดยพระเทวทัตและบริวารเพื่อทำร้ายพระพุทธองค์ซึ่งเป็นเรื่องที่รู้กันแพร่หลายยิ่งกว่าการกระทำอื่น ๆ ของท่านชีวกโกมารภัจจ์
ในการทรงพระครรภ์ของพระมเหสีของพระเจ้าพิมพิสารซึ่งเป็นพระราชมารดาของพระเจ้าอชาตศัตรูพระนางเชื่อคำทำนายของโหรว่าพระโอรสในพระครรภ์เมื่อประสูติออกมาจักเป็นศัตรูกับพระราชบิดาและคิดปลงประชนม์พระนางจึงทรงใช้ยาเพื่อทำลายพระครรภ์เสียแต่ไม่สำเร็จเพราะพระเจ้าพิมพิสารทรงห้ามไว้เป็นการแสดงว่าได้มีการใช้ยา เพื่อการทำแท้งในสมัยนั้น
เรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่กระทำโดยชีวกโกมารภัจจ์ก็คือ เรื่องเกี่ยวกับสาธารณสุขเพราะได้ทูลขอต่อสมเด็จพระพุทธองค์ไม่ให้บวชคนมีโรคติดต่อ เช่น โรคเรื้อน (กุฐํ) โรคผิวหนัง (กิลาโส) ไข้ม่องคร่อ (ชื่อโรคชนิดหนึ่ง มีเสมหะแห้งอยู่ในลำหลอด ปอด) ผู้ป่วยที่เป็นลมบ้าหมู (อปมาโร) เพราะสังคมในหมู่สงฆ์ใกล้ชิดกว่าในหมู่ประชาชน เช่น ในเรื่องการฉันจังหันการรวมกันอยู่ในที่พักอาศัยอาจทำให้โรคแพร่ไปได้พระพุทธองค์ทรงรับและทรงวางบทบัญญัติห้ามเป็นอันตรายิกธรรมขัดต่อความเป็นภิกษุในการขอบรรพชาบุคคลผู้ขอต้องแสดงข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ต่อที่ประชุมสงฆ์ด้วยสงฆ์หรือพระภิกษุรูปใดรับบวชบุคคลดังกล่าวถือว่ามีโทษเป็นอาบัติเข้าใจว่าเมื่อพระพุทธศาสนาแผ่เข้ามาในดินแดนไทยพิธีบวชก็คงตามมาด้วยปัจจุบันพิธีบวชเป็นภิกษุสงฆ์ในพุทธศาสนาคงห้ามโรคดังกล่าวซึ่งห้ามมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล
แนวการปฏิบัติที่สมเด็จพระพุทธองค์ทรงวางพระวินัยให้พระสาวกปฏิบัติตามเกี่ยวกับวัตถุต่าง ๆ ที่เป็นเภสัชคงติดตามเข้ามาพร้อมกับการแพร่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศไทย สมเด็จพระพุทธองค์ทรงเข้มงวดมากเกี่ยวกับการบริโภคของพระภิกษุที่เป็นสาวกวัตถุที่มีลักษณะเป็นอาหารภิกษุจะบริโภคได้เฉพาะในเวลารุ่งอรุณเห็นลายมือถึงเที่ยงวันเท่านั้นเรียกว่าเวลาในกาลนอกเวลานั้น ถือเป็นเวลานอกกาล หรือเวลาวิกาล แม้วัตถุที่จะใช้เป็นยาก็ทรงมีพระบัญญัติห้ามไม่ให้ใช้ถ้าไม่มีความจำเป็นนอกจากนี้ยังทรงเคร่งครัดในการขบเคี้ยวอีกด้วย
วัตถุที่คล้ายอาหารที่ทรงมีพุทธานุญาตให้รับประเคนได้ในเวลาวิกาลปรุงแต่งได้ในเวลาวิกาลและบริโภคได้ในเวลาวิกาลมีเพียง ๕ อย่างคือ เนยไส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย สาเหตุที่ทรงมีพุทธานุญาต ก็คือ พระสาวกอาพาธชุกชุมในฤดูสารทมีอาการอาเจียนและร่างกายซูบผอมมีอาหารไม่พอ
วัตถุที่เป็นเภสัชซึ่งทรงมีพุทธานุญาตให้ใช้ได้เฉพาะเมื่อจำเป็นมีรากไม้ที่เป็นเภสัช เช่น ขมิ้น ขิง ว่านน้ำ ว่าน เปราะ อุตพิด ข่า แฝก แห้วหมู ต่อไปก็ทรงมีพุทธานุญาตให้ใช้ น้ำฝาดที่เป็นเภสัชได้ เช่น น้ำฝาดสะเดา น้ำฝาดมุกมัน น้ำฝาด กระดอนหรือขี้กา น้ำฝาดบอระเพ็ดหรือหญ้ามือเหล็ก น้ำฝาด กระถินพิมาน ใช้ใบไม้ที่เป็นเภสัช เช่น ใบสะเดา ใบมุกมัน ใบกระดอนหรือขี้กา ใบกะเพราหรือแมงลัก ใบฝ้าย ใช้ยางไม้ที่ เป็นเภสัช เช่น ยางอันไหล หรือเคี่ยวจากต้นและใบของหิงคุยางจากยอดจากใบของต้นกะตะกำยาน ใช้ผลไม้ที่เป็นเภสัช เช่น ลูกพิลังกาลา ดีปลี พริก สมอไทย สมอพิเภก มะขามป้อม
เมื่อพระสาวกต้องการเกลือเป็นเภสัชก็ทรงมีพุทธานุญาตให้ใช้เกลือ คือ เกลือสมุทร เกลือดำ เกลือสินเธาว์ เกลือดินโป่ง เกลือหุง เช่นเดียวกับรากไม้ ใบไม้ ยางไม้และผลไม้ข้างต้นคือรับประเคนเภสัชเหล่านั้นได้ต่อมีเหตุจึงใช้บริโภคได้เมื่อเหตุไม่มีภิกษุบริโภคอาบัติทุกกฎ
ต่อมาเมื่อพระสาวกต้องการเภสัชที่บดละเอียดจึงได้ทรงมีพุทธานุญาตให้ใช้หินบดและลูกหินบดและผ้ากรองทำให้เข้าใจว่าหินบดและลูกหินบดที่ใช้เป็นเครื่องมือบดยาที่พบในสมัยทวารวดีเป็นจำนวนมากน่าจะใช้เป็นเครื่องมือในการบดเมล็ดพืชเมล็ดพืชที่เตรียมโดยวิธีใช้หินเป็นเครื่องมือบดอาจเป็นสาเหตุประการหนึ่งที่ทำให้ฟันของคนโบราณสึกลึกมากกว่าคนปัจจุบันเมื่อเปรียบเทียบกันโดยพิจารณาอายุประกอบ
ในสมัยพุทธกาลกล่าวถึงยาตาที่ทรงมีพุทธานุญาตยาตาที่ปรุงด้วยเครื่องปรุงหลายอย่างยาตาที่ทำด้วยเครื่องปรุงต่าง ๆ ยาตาที่เกิดในกระแสน้ำ เป็นต้น หรดาลกลีบทอง เขม่าไฟต่อมาก็ทรงมีพุทธานุญาตให้ใช้ไม้จันทน์กฤษณากะลัมพะใบเฉียงแห้วหมูบดผสมเป็นยาตา เป็นยาตาที่ใช้ในสมัยพุทธกาลและทรงให้มีกลักเก็บยามีฝาปิดและมีไม้ป้ายยาตาแต่ทรงห้ามสิ่งเหล่านี้ไม่ให้ทำด้วยทองด้วยเงินคงให้ใช้ทำด้วยกระดูก งา เขา หรือทำด้วยเปลือกสังข์ทรงให้ใช้ยานัตถุ์แก้อาการปวดศีรษะเรื้อรังและทรงให้ใช้เครื่องดูดควันแต่ในพระไตรปิฎกไม่ได้กล่าวถึงวัตถุที่ใช้ในการทำให้เกิดควัน
ในสมัยนั้นพระสาวกองค์หนึ่งคือพระปิลินทวัจฉะอาพาธเป็นโรคลมแพทย์ให้น้ำมันหุงเจือน้ำเมาก็ทรงมีพุทธานุญาตแต่เมื่อใช้น้ำเมาผสมเกินขนาดเกิดเมาขึ้นจึงได้ทรงให้เปลี่ยนเป็นใช้ทาไม่ใช่ใช้บริโภคในการรักษาโรคลมทรงมีพุทธานุญาตให้ใช้การเข้ากระโจมเป็นการรักษาลมใหญ่น้ำต้มเดือด มีใบไม้ต่าง ๆ ชนิดและทรงให้ใช้อ่างน้ำ
ในการอาพาธเป็นโรคลมเสียดยอกตามข้อทรงมีพุทธานุญาตให้ระบายโลหิตออกไม่ใช่เจาะเอาออกให้เอาออกโดยวิธีกอกด้วยเขาในอาพาธเท้าแตกทรงให้ใช้ยาและปรุง น้ำมันทาเท้าในการรักษาโรคฝีทรงมีพุทธานุญาตให้ผ่าตัดใช้น้ำฝาดเข้าใจว่าใช้ชะแผลใช้เมล็ดงาที่บดแล้วเป็นยาพอกและใช้ผ้าพันแผลในการรักษาเนื้องอกทรงมีพุทธานุญาตให้ตัดด้วยก้อนเกลือในการรักษางูพิษกัดใช้ยามหาวิกัฏ ๔ อย่าง คือ คูถ มูตร เถ้า ดินและพระสาวกที่ดื่มยาพิษทรงอนุญาตให้ใช้น้ำเจือคูถ
พระสาวกที่อาพาธเป็นโรคผอมเหลือง (ดีซ่าน) ตรัสอนุญาตให้ดื่มยาผลสมอดองน้ำมูตรได้และภิกษุที่อาพาธเป็นโรคผิวหนังทรงอนุญาตให้ใช้ลูบไล้ด้วยของหอมได้ในการรักษาภิกษุที่มีกายกอร์ปด้วยโทษมากทรงมีพุทธานุญาตให้ดื่มยาประจุถ่ายน้ำถั่วเขียวต้มจนกระทั่งน้ำเนื้อต้ม
(ข้อความดังกล่าวย่อจากเภสัชขันธกะมหาวรรคภาค ๒ พระวินัยปิฎกเล่ม ๗)
อีกแหล่งหนึ่งที่อาจเผยแพร่วิชาการแพทย์มาสู่ประเทศไทยได้ก็คือประเทศจีนในสมัยสุโขทัย พ.ศ.๑๘๐๐-๑๙๒๐ ประเทศไทยมีหลักฐานการเกี่ยวข้องกับประเทศจีน คือ การทำเครื่องถ้วยชามเคลือบซึ่งที่ทำในประเทศไทยนั้นได้รับชื่อว่า "สังคโลก" บางคนก็กล่าวว่า "สังคโลก" หมายถึง เครื่องถ้วยชามของสมัยแผ่นดิน "ซ้อง" พ.ศ.๑๕๐๓-๑๘๒๒ บางท่านก็บอกว่า หมายถึง สวรรคโลกแต่อย่างไรก็ตามลักษณะของเครื่องปั้นดินเผาของสมัยนั้นซึ่งคล้ายคลึงกันเป็นหลักฐานชี้บ่งว่าประเทศจีนและประเทศไทยได้มีการติดต่อกันและมิได้ติดต่อเพียงแค่ศิลปวิทยาทางเครื่องปั้นดินเผาเท่านั้นอาจนำวิชาการแพทย์จากประเทศจีนมาสู่ประเทศไทยบ้างก็ได้
การแพทย์ของจีนนั้นมีผู้อ้างว่าอาจสอบค้นทบทวนไปได้ถึงสมัย เมื่อ ๔–๕ พันปีมาแล้วเท่ากับระยะเวลาของการแพทย์แผนปัจจุบันของประเทศตะวันตกซึ่งอาจตามเรื่องราวย้อนต้นไปถึงสมัยอียิปต์โบราณ เมื่อ ๔–๕ พันปีมาแล้วเช่นกันเพราะนักปราชญ์ของจีนได้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับการแพทย์แทบทุกยุคทุกสมัยไว้เป็นหลักฐานตลอดมา
หนังสือที่ว่าด้วยวิธีการแพทย์ของจีนแต่งโดย ฮูม (Hume, ๑๙๔๐) ได้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของการแพทย์ของจีนและกล่าวถึงแพทย์คนสำคัญถึง ๑๔ คน คนหนึ่งในจำนวนนี้ที่ชาวไทยรู้จักกันดีก็คือหมอฮัวโต๋ในหนังสือสามก๊กท่านผู้นี้ เกิดใน พ.ศ.๗๓๓ นายแพทย์สงัด เปล่งวานิช (พ.ศ.๒๕๑๐) ผู้เรียบเรียงประวัติของแพทย์ผู้นี้ยกย่องท่านมากในวิชาศัลยกรรมกล่าวว่าเป็นผู้ใช้วิธีบำบัดด้วยน้ำ (hydro-therapy) และเป็นคนแรกที่ใช้ในการออกกำลังกายช่วยในการบำบัดโรคเป็นผู้ใช้ยาระงับความรู้สึกซึ่งยังเป็นที่โต้เถียงกันว่าผู้ใช้คนแรกอาจเป็นหมอเบียงเฉียวศัลยแพทย์ที่มีชื่อเสียงอีกท่านหนึ่งยาที่หมอฮัวโต๋ใช้เป็นยาผงเมื่อใส่ลงในเหล้าก็เดือดเป็นฟองช่วยให้หมอฮัวโต๋ผ่าตัดในช่องท้องได้แต่ที่คนไทยรู้จักกันมากก็คือการผ่าตัดแผลเกาทัณฑ์ที่ต้นแขนของกวนอูซึ่งเป็นเกาทัณฑ์อาบยาพิษทำให้กระดูกตายถ้าเป็นการผ่าตัดในสมัยนี้ก็ต้องวางยาสลบเพราะเป็นการผ่าตัดที่เจ็บปวดมากและกินเวลาในการผ่าตัดไม่มีผู้ใดทนได้ถ้าไม่ได้รับยาระงับปวดอย่างใดอย่างหนึ่งแต่หนังสือต้องการจะยกย่องกวนอูว่ามีความอดทนเป็นเลิศไม่ยอมให้หมอฮัวโต๋มัดตัวติดกับเสาก่อนผ่าตัดคงเสพแต่สุราและเล่นหมากรุกจนการผ่าตัดสิ้นสุดเภสัชตำรับของจีนต่อมากล่าวว่ายาระงับความเจ็บปวดของหมอฮัวโต๋อาจเป็น ลำโพงและได้ใช้ยานี้บำบัดโรคไข้หวัด โรคชักกระตุกเมื่อผสมกับกัญชาและยาอื่นอีกบางอย่างใช้เป็นยานอนหลับ
บทความของนายแพทย์สงัดยังกล่าวต่อไปอีกถึงการผ่าตัดเอาม้ามที่เน่าออกจากผู้ป่วยแสดงว่าในสมัยหมอฮัวโต๋แพทย์จีนมีความก้าวหน้าในร่างกายมนุษย์มากกว่าการแพทย์ของประเทศอินเดียหมอฮัวโต๋จึงได้รับยกย่องมากในวิชาการแพทย์สาขาศัลยกรรมแต่ข้อความที่ปรากฏในหนังสือสามก๊กถ้าเป็นจริงก็แสดงว่าท่านผู้นี้นอกจากจะเก่งทางการผ่าตัดแล้วยังเป็นนักเล่นกลฝีมือเยี่ยมอีกด้วยถึงกับสามารถผ่าฝีที่คิ้วได้นกกระจอกเต้นออกมาและรักษาก้อนเนื้อที่ถูกสุนัขกัดได้เข็มถึง ๑๐ เล่ม และลูก เต๋า ๒ ลูก ซึ่งเป็นสิ่งที่หมอฮัวโต๋ทำนายไว้ก่อนหมอฮัวโต๋เสียชีวิตเพราะไปรักษาโจโฉซึ่งไม่เชื่อว่าจะสามารถรักษาโรคปวดศีรษะได้จากการผ่ากะโหลกจึงเอาไปขังเสียจนตายตำรับตำราของท่านก็กล่าวกันเป็น ๒ นัย นัยหนึ่งกล่าวตามหนังสือที่แต่งโดยฮูมว่าท่านทำลายเองอีกนัยหนึ่งในสามก๊กกล่าวว่าผู้คุมได้ไปแต่ภรรยาเอาไปเผาเสียเพราะกลัวสามีจะต้องตายในคุกเช่นเดียวกับเจ้าของตำรา
นายแพทย์สงัดได้สรุปข้อความในตอนท้ายไว้ว่าทั้ง ๆ ที่หมอฮัวโต๋ได้ค้นพบยาระงับความรู้สึกและใช้ได้ผลดีมานานถึง ๑,๗๐๐ ปีมาแล้วแต่วิชาศัลยกรรมของจีนก็หาได้ก้าวหน้าไปแต่อย่างใดไม่ทั้งนี้ว่ากันว่าเพราะคำสั่งสอนของท่านศาสดาขงจื้อ (ประมาณ ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว สมัยพุทธกาล) ซึ่งสอนให้เคารพเทิดทูนร่างกายของคนการที่จะเชือดเฉือนเนื้อหนังถือเป็นการทำลายสิ่งที่ควรแก่การเคารพเป็นเหตุทำให้ความรู้ซึ่งควรจะก้าวหน้าเกี่ยวกับร่างกายต้องชะงักงัน