Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

การเก็บกักน้ำ

Posted By Plookpedia | 28 ส.ค. 60
940 Views

  Favorite

การเก็บกักน้ำ


เนื่องด้วยปริมาณน้ำที่ไหลในลำน้ำธรรมชาติมักจะผันแปรไปตามจำนวนฝนที่ตกในเขตลุ่มน้ำและตามฤดูกาลกล่าวคือในช่วงฤดูน้ำหลากน้ำในแม่น้ำอาจจะมีจำนวนมากแต่ในฤดูแล้งจะมีจำนวนเพียงเล็กน้อยส่วนลำธารและทางน้ำเล็ก ๆ นั้นโดยมากจะมีน้ำไหลมาเฉพาะในเวลาที่ฝนตกเท่านั้นเหตุนี้จึงทำให้โครงการชลประทานประเภททดน้ำซึ่งต้องอาศัยน้ำที่ไหลในลำน้ำธรรมชาติโดยตรงไม่ค่อยจะได้ผลเต็มที่อาจทำให้การเพาะปลูกในเขตโครงการชลประทานได้รับความเสียหายเมื่อไม่มีน้ำไหลมากเพียงพอในเวลาที่ต้องการ

การเก็บกักน้ำเพื่อการชลประทาน

 

 

การแก้ไขปัญหาเพื่อให้มีน้ำใช้สำหรับการชลประทานอย่างเพียงพอในเวลาที่ต้องการตลอดไปจึงจำเป็นต้องหาวิธีการเก็บกักน้ำที่มีมามากในลำน้ำตอนฤดูน้ำหลากไว้เพื่อให้เป็นแหล่งน้ำต้นทุนเก็บสำรองไว้ใช้เมื่อถึงคราวจำเป็น

แหล่งน้ำธรรมชาติ

 

 

หนองและบึงเป็นแหล่งเก็บกักน้ำบนผิวดินตามธรรมชาติขนาดเล็กซึ่งเก็บน้ำไว้ได้เฉพาะสำหรับพื้นที่เพาะปลูกจำนวนไม่มากนัก วนทางน้ำไหลอันได้แก่ แม่น้ำ ลำธารและลำห้วย ฯลฯ เมื่อได้สร้างเขื่อนเก็บกักน้ำหรือทำนบปิดกั้นไว้ระหว่างหุบเขาหรือเนินสูงเพื่อเก็บน้ำที่มีทางมากในฤดูฝนไว้จะทำให้เกิดเป็นแหล่งน้ำถาวรขนาดใหญ่เรียกว่า "อ่างเก็บน้ำ" อ่างเก็บน้ำดังกล่าวนี้จึงเปรียบเสมือนกับตุ่มหรือถังเก็บน้ำที่รองน้ำฝนจากหลังคาบ้านเก็บน้ำไว้ใช้ในเวลาที่ฝนไม่ตก

 

ปริมาณน้ำตามธรรมชาติที่อ่างเก็บน้ำสามารถเก็บเอาไว้ได้นั้นจะขึ้นอยู่กับปริมาณฝนที่ตกในเขตพื้นที่รับน้ำฝนเหนือเขื่อนและยังขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่รับน้ำฝนซึ่งเปรียบเสมือนหลังคาบ้านอ่างเก็บน้ำแห่งหนึ่ง ๆ จะมีการกำหนดขนาดความจุที่เหมาะสมเท่าใดนั้นย่อมพิจารณาได้ดังนี้ คือ โครงการชลประทานที่มีพื้นที่ส่งน้ำจำนวนจำกัดจะกำหนดขนาดอ่างเก็บน้ำให้เก็บกักน้ำไว้เฉพาะในปริมาณที่ต้องการสำหรับพื้นที่ส่งน้ำของโครงการที่มีอยู่ส่วนของโครงการชลประทานที่มีพื้นที่ส่งน้ำจำนวนมากแต่มีปริมาณน้ำก็จะกำหนดขนาดของอ่างเก็บน้ำให้มีความจุสำหรับน้ำที่จะมีมาทั้งหมดโดยไม่ปล่อยให้มีน้ำเหลือไหลทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์

เขื่อนเก็บกักน้ำปิดกั้นระหว่างหุบเขา
เก็บน้ำไว้เป็นอ่างเก็บน้ำ

 

 

โครงการชลประทานที่มีน้ำจากอ่างเก็บน้ำช่วยมักจะไม่เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำในฤดูกาลเพาะปลูกในเขตโครงการจะสามารถทำการชลประทานได้อย่างมีประสิทธิภาพดีกว่าการชลประทานประเภทที่ใช้น้ำเฉพาะที่มีมาตามธรรมชาติโดยตรงและนอกจากนี้ยังจะมีน้ำจากอ่างเก็บน้ำทำการเพาะปลูกพืชในหน้าแล้งได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

 
เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow