การถ่ายพยาธิเป็นสิ่งสำคัญในการเลี้ยงดูม้า ฟีโนไธอาซีน (Pheno thiazine) เป็นยาถ่ายพยาธิที่นิยมใช้กันมากเพราะสามารถทำลายพยาธิตัวกลมได้เกือบทุกชนิด แต่ในขณะเดียวกันยาถ่ายพยาธิชนิดนี้สามารถทำให้ม้าป่วยเพราะพิษยาได้ด้วย อาการที่พบ เช่น อาการโลหิตจางเรื้อรัง ม้าท้องอาจแท้งลูกและเกิดอาการแพ้แสงสว่าง การรักษาอาจทำได้โดยหยุดใช้ยาชนิดนี้ในกรณีที่เป็นพิษรุนแรงอาจจำเป็นต้องมีการให้เลือด
พยาธิม้ามีมากมายหลายชนิดและที่สำคัญมี ๔ ชนิด คือ
(๒.๑) พยาธิดูดเลือด (Strongylus spp.)
ตัวแก่ของพยาธิชนิดนี้อาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่ของม้า ดูดเลือดม้ากินเป็นอาหาร ตัวอ่อนของพยาธิอาจชอนไชเข้าไปในกระแสโลหิตซึ่งอาจทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือดทำให้ม้าตายได้
(๒.๒) พยาธิเข็มหมุด (Oxyuris equi)
ตัวแก่ของพยาธิชนิดนี้อาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่ของม้าแล้วจะติดออกมากับอุจจาระและจะวางไข่ไว้บริเวณใต้หางม้าทำให้เกิดการระคายเคืองและม้าจะเอาหางไปถูไว้กับผนังคอกทำให้ขนหลุดจนกลายเป็นขี้กลาก
(๒.๓) พยาธิตัวกลม (Round worm, Parascaris equorum)
ตัวแก่อาศัยอยู่ในลำไส้ของม้าและคอยแย่งกินอาหารที่ย่อยแล้วทำให้ม้าเกิดโรคขาดอาหาร ตัวอ่อนของพยาธิอาจชอนไชเข้าไปในเส้นเลือดเข้าสู่ตับ หัวใจ ปอด ซึ่งอาจทำให้ม้าถึงแก่ความตายได้
(๒.๔) พยาธิบอท (Bot Grubs, Gastro philus spp.)
ตัวแก่ของบอทเป็นแมลงคล้าย ๆ แมลงดูดเลือดและจะวางไข่บนตัวม้าบริเวณขา หน้าอก สวาบ ไข่ของพยาธิบอทที่ม้ากินเข้าไปจะเจริญเป็นตัวหนอน (maggot) ไปฝังตัวอยู่ที่ผนังกระเพาะทำให้เกิดแผลหรือก้อนเนื้องอกในกระเพาะทำให้มีอาการเสียด
การป้องกันรักษา
ทำได้โดยการทำลายวงจรของพยาธิแต่ละชนิดและจะต้องให้ม้ากินยาถ่ายพยาธิเป็นประจำทุก ๆ ๖-๘ สัปดาห์ ยาถ่ายพยาธิที่นิยมใช้กันมากมี
(๓.๑) โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax)
เป็นโรคร้ายแรงและอาจทำให้สัตว์ถึงตายได้ สาเหตุเกิดจากเชื้อบัคเตรีที่เรียกว่า บาซิลลัส แอนทราซีส (Bacillus anthracis) สัตว์ที่ป่วยจะมีอาการเสียดอย่างแรง มีอาการไข้สูง ตัวสั่น เบื่ออาหาร หงอย ซึม กล้ามเนื้อขาไม่มีกำลัง อุจจาระมีเลือดปน ท้องและคอจะบวมร้อน การควบคุมโรคทำได้โดยการทำลายสัตว์ที่ป่วย ฉีดวัคซีนป้องกันโรคและแยกสัตว์ที่ป่วยออกจากฝูง นอกจากนี้ยังต้องทำลายเชื้อโรคบริเวณคอกสัตว์โดยราดด้วยโซดาไฟละลายน้ำ ๕ ต่อ ๑๐๐ ส่วน
(๓.๒) โรคเซอร่า (Surra)
สาเหตุเกิดจากเชื้อโปรโตซัว ชื่อว่า ทรีพพาโนโซมา อีแวนซี (Trypanosoma evansi) ซึ่งจะเข้าไปอาศัยอยู่ในไขสันหลัง ม้าม และในกระแสเลือด อาการที่ปรากฏหลังจากได้รับเชื้อแล้ว ๔ - ๑๓ วัน คือ เบื่ออาหาร ซึม ง่วงเหงา ไข้สูง อ่อนเพลีย หายใจถี่หรือหอบ เกิดจุดเลือดที่เปลือกตาชั้นในและเยื่อตาบวม บริเวณหนังอวัยวะสืบพันธุ์ ขา ใต้คาง และเนื้อท้อง สัตว์ที่ป่วยอาจจะตายในระยะเพียงไม่กี่วัน
(๓.๓) โรคโลหิตจางในม้า (Equine Infec tious Anemia : F.I.A.)
เป็นโรคติดต่อร้ายแรงในม้าเกิดจากเชื้อไวรัส ไทรเฟอร์ อีควินอรัม (Trifur equinorum) ทำให้ม้ามีอาการไข้ขึ้นลง ซึม อ่อนแอ บวมน้ำ น้ำหนักลด บางรายมีเลือดคั่ง มีจุดเลือดตามเยื่อเมือกของตา พบโลหิตจางเป็นเวลานาน อาการขั้นสุดท้ายสัตว์จะแสดงอาการอ่อนเพลีย ทรงตัวไม่ไหว หายใจเร็ว เบื่ออาหาร ไข้สูง ท้องบวมและตายในที่สุด โรคนี้ยังไม่มียารักษาแต่อาจป้องกันได้ด้วยการแยกสัตว์ป่วยให้พ้นพื้นที่และฆ่าเชื้อโรคบริเวณที่สัตว์อาศัย ภาชนะหรือเครื่องขี่ของสัตว์ป่วยต้องได้รับการอบ-ฆ่าเชื้อโรคจนมั่นใจแล้วจึงนำมาใช้ได้
(๓.๔) โรคบาดทะยัก (Tetanus)
สาเหตุเกิดจากเชื้อ คลอสตริเดียม เททานิ (Clostridium tetani) ซึ่งอาศัยอยู่ในบริเวณผิวดินในอุจจาระ สัตว์ที่ป่วยจะมีอาการขากรรไกรแข็งหรือขาหลังทำงานไม่ได้ตามปกติ อุณหภูมิในร่างกายขึ้นสูง หายใจลำบาก กล้ามเนื้อกระตุก สัตว์ที่ป่วยจะไม่ชอบแสงสว่างและเสียงเพราะจะทำให้กล้ามเนื้อเป็นตะคริวแข็งมากขึ้นอาจล้มลงและถึงตายได้ในที่สุด
(๓.๕) โรคมงคล่อธรรมดา (Strangles)
สาเหตุเกิดจากเชื้อจุลินทรีย์ สเตรปโตคอกคัส อีควิ (Streptococcus equi) อาการสัตว์ที่ป่วยจะพบว่ากินอาหารน้อยลง เป็นหวัดอย่างรุนแรงเนื้อเยื่อในจมูกจะแห้ง มีน้ำหนองไหลออกมาเกาะตามบริเวณริมฝีปากของม้า หลอดคออักเสบ ต่อมน้ำเหลืองบวมโต การรักษาทำได้ด้วยการฉีดเซรุ่มถ้าเป็นหนองต้องผ่าออกและรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ