Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

เครื่องตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าสมองที่ใช้การสร้างเป็นแผนที่

Posted By Plookpedia | 02 ส.ค. 60
3,695 Views

  Favorite

เครื่องตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าสมองที่ใช้การสร้างเป็นแผนที่

หลักการ 

เครื่องที่ใช้ในการบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง เรียกว่า อิเล็กโทรเอ็นเซฟาโลกราฟ : อี.อี.จี. (Electroencephalograph : EEG) มีประโยชน์ สำหรับวินิจฉัยโรคของสมองบางอย่าง ที่ทำให้คลื่นไฟฟ้าสมอง (อี.อี.จี.) เปลี่ยนแปลงไป โรคที่สำคัญ ได้แก่ โรคลมชัก นอกจากนั้นยังใช้ ตรวจหาความผิดปกติของโรคสมองอีกหลายอย่าง การตรวจโดยทั่วไปนั้นใช้การวางอิเล็กโทรดแผ่น ซึ่งมีขนาดเล็กหลายอันบนศีรษะ เพื่อทำการบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมองจากหลายแห่งด้วยกัน อาจบันทึกจากสมอง ๘-๑๖ แห่ง ทำให้ได้เป็นคลื่นไฟฟ้าสมองจากสมองที่บริเวณต่างๆ หลังจากนั้นแพทย์จะทำการวินิจฉัยโรคจากการ ตรวจดูภาพบันทึกของคลื่นไฟฟ้าสมองโดยละเอียด อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันนี้ โดยอาศัยความ ก้าวหน้าทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าสมองให้ละเอียด ขึ้นได้ การวิเคราะห์มีหลายอย่าง แต่การ วิเคราะห์อย่างหนึ่งที่ใช้กันคือการสร้างแผนที่ (mapping) ของคลื่นไฟฟ้าสมองที่มีลักษณะ อย่างหนึ่งอย่างใดแต่ละอย่าง

กระบวนการทำงานของเครื่องสร้างแผนที่ของคลื่นไฟฟ้าสมองบนศีรษะ โดยจะต้องนำข้อมูลของตำแหน่งที่บันทึกคลื่นไฟฟ้าบนโครงของศีรษะมารวมกับข้อมูลที่เป็นศักย์ไฟฟ้าของคลื่นไฟฟ้าสมอง แล้วจึงอาศัยระบบคอมพิวเตอร์แสดงแผนที่ของคลื่นไฟฟ้าแต่ละชนิดเป็นภาพสีที่ต่างกัน

 

ขบวนการสร้างแผนที่ของคลื่นไฟฟ้าสมอง

การสร้างแผนที่ของคลื่นไฟฟ้าสมอง ต้องอาศัยขั้นตอน ๔ อย่างคือ การเก็บข้อมูล ขบวนการจัดการกับสัญญาณ การคำนวณ และการแสดงแผนที่ 

การรวบรวมข้อมูลกระทำได้โดยการเก็บข้อมูลของ อี.อี.จี. แล้วเปลี่ยนเป็นข้อมูลตัวเลข โดยอาศัย A/D converter แล้วเก็บข้อมูลนั้นไว้ ในแผ่นความจำ และทำการวิเคราะห์ความถี่ของคลื่น อี.อี.จี. ตามที่ต้องการ โดยอาศัย ฟูริเย ทรานสฟอร์ม (fourier transform)

การคำนวณแผนที่ของคลื่นสมอง กระทำได้โดยการแบ่งพื้นที่ของศีรษะออกเป็นรูปสี่เหลี่ยมเล็กๆ ที่เรียกว่า พิกเซลส์ (pixels) สำหรับการ เก็บข้อมูลนั้น อาศัยคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันทั่วไป โดยสามารถเก็บข้อมูลของแผนที่ได้ละเอียด ๔๐x๖๐ พิกเซลล์ และแบ่งความมากน้อยออกเป็น ๑๖ ระดับ และนำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำ ๘๐๐ ไบทส์ จากนั้นจึงสามารถนำข้อมูลของคลื่นไฟฟ้าสมอง เข้ามาแสดงเป็นภาพสีของแต่ละพิกเซลล์ โดยที่ความมากน้อยของข้อมูล แสดงเป็นสีต่างๆ ทำให้เห็นภาพชัดเจนว่า คลื่นไฟฟ้าสมองชนิดใด อยู่ที่สมองบริเวณใด

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow