เมื่อเราขว้างวัตถุขึ้นไปในอากาศ จะสังเกตได้ว่าเส้นทางของวัตถุที่เคลื่อนไปนั้นจะเป็นเส้นโค้ง ทั้งนี้ เพราะวัตถุนั้นถูกโลกดึงดูดลงมา วิถีของลูกกระสุนปืนใหญ่ที่ยิงออกไปก็จะเดินทางเป็นเส้นโค้งชนิดเดียวกันกับตัวอย่างข้างบน เราเรียกเส้นโค้งชนิดนี้ว่า พาราโบลา
ลองพิจารณาตัวเลขต่อไปนี้ 0, 1, 4, 9, 16, 25, 36, 49,... ซึ่งได้จากการเอาเลขจำนวนเต็มคูณตัวเองคือ 0x0, 1x1, 2x2, 3x3, 4x4, 5x5, 6x6, 7x7,... ถ้าแทนเลขจำนวนเต็มด้วย x และ แทนจำนวนยกกำลังสองด้วย y จะได้
x = 0 1 2 3 4 5 6 7 8...
y = 0 1 4 9 16 25 36 49 64...
ความสัมพันธ์ของจำนวนสองชุดนี้ จะเขียนเป็นสมการได้ดังนี้
เมื่อลงจุด (x, y) บนกระดาษกราฟแล้วโยงจุดต่างๆ ด้วยเส้นโค้งจะได้ ส่วนหนึ่งของพาราโบลา
เนื่องจาก (-2) x (-2) = 4 ดังนั้นสำหรับค่า y หนึ่งค่าจะเกิดจากค่า x สองค่า คือ ค่า x ที่เป็นบวกค่าหนึ่ง และ ค่าของ x ที่เป็นลบค่าหนึ่ง ซึ่งเมื่อต่างยกกำลังสองกำลังจะได้ค่า y เท่ากัน คือ y = x^2
เมื่อนำไปเขียนตารางค่า x และ y จะได้
x |
-8 |
-7 |
-6 |
-5 |
-4 |
-3 |
-2 |
-1 |
0 |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
y |
64 |
49 |
36 |
25 |
16 |
9 |
4 |
1 |
0 |
1 |
4 |
9 |
16 |
25 |
36 |
49 |
64 |
เมื่อลงจุดเหล่านี้บนกระดาษกราฟ จะได้พาราโบลา ถ้าพับรูปตามแกน y เส้นโค้งทั้งสองข้างของแกน y จะทับกันสนิท เราเรียกแกน y ว่าเป็นแกนของเส้นโค้ง และ เส้นโค้งมีสมมาตรเมื่อเทียบกับแกน y
จากหลักวิชาของแสง เราทราบว่าเมื่อแสงเดินทางมากระทบวัตถุสะท้อนแสง เช่น กระจกเงา มุมที่อยู่ระหว่างลำแสงตก และ กระจกเงาจะเท่ากับมุมที่อยู่ระหว่างลำแสงสะท้อน และ กระจกเงา เรียกสั้นๆ ว่ามุมตกเท่ากับมุมสะท้อน ในกรณีที่วัตถุสะท้อนแสงเป็นผิวโค้ง (เรายังคงใช้กฎการสะท้อนแสงได้เช่นเดียวกัน) โดยลากเส้นตรงเส้นหนึ่งสัมผัสกับเส้นโค้งตรงจุดที่ลำแสงกระทบกับผิวโค้งนั้น
จากการทดลองพบว่า ถ้าวัตถุสะท้อนแสงเป็นผิวโค้งซึ่งมีรอยตัดเป็นพาราโบลาแล้ว ให้ลำแสงขนานกับแกนของเส้นโค้ง มากระทบพาราโบลานี้ ลำแสงที่สะท้อนออกจากเส้นโค้งนี้จะไปพบกันที่จุดเดียวกันบนแกนของเส้นโค้งนี้เสมอเราเรียกจุดนี้ว่า จุดโฟกัส ของเส้นโค้งพาราโบลา หรือถ้าเราเอาดวงไฟไปวางไว้ตรงจุดโฟกัสนี้ ลำแสงที่สะท้อนออกจากพาราโบลา ก็จะพุ่งออกไปขนานกันกับแกนของรูปเสมอ โดยอาศัยคุณสมบัติพิเศษนี้เราจะเห็นได้ว่า โคมไฟฉาย โคมไฟรถยนต์ ส่วนมากจะมีลักษณะเป็นผิวโค้ง ที่เกิดจากการหมุนพาราโบลารอบแกน (ดูหัวข้อผิวโค้งที่เกิดจากการหมุนเส้นโค้ง)
เนื่องจากแสงเดินทางได้ระยะทางเท่ากันในเวลาเท่ากัน ฉะนั้นแสงที่เดินทางจากจุด A1, A2, A3,... ไปกระทบเส้นโค้งพาราโบลาที่จุด P1, P2, P3,... แล้วสะท้อนออกไปพบกันที่จุด F พร้อมกัน ดังนั้น
ถ้าต่อ A1P1, A2P2, A3P3,... ออกไปจนถึงจุด B1, B2 B3,... โดยทำให้ P1B1 = P1F, P2B2 = P2F, P3B3 = P3F , ... เราจะพบว่า จุด B1, B2, B3, ... อยู่บนเส้นตรงเดียวกัน ซึ่งขนานกับแกน x และ อยู่ใต้แกน x เท่ากับระยะ ที่จุด F อยู่เหนือแกน x นั่นคือพาราโบลาเกิดจากจุดซึ่งเคลื่อนที่ไปโดยมีระยะทางห่างจากจุดคงที่ (คือจุดโฟกัส) เท่ากับระยะทางจุดนั้น ห่างจากเส้นตรงคงที่เส้นหนึ่ง เราเรียกเส้นตรงคงที่นี้ว่า ไดเรกตริกซ์ (directrix) ของรูป และ เรียกเส้นตรง ซึ่งตั้งได้ฉากกับไดเรกตริกซ์ และ ผ่านจุดโฟกัสว่า แกนของพาราโบลา
โดยอาศัยคุณสมบัตินี้ เราอาจนำมาประดิษฐ์เครื่องมือเขียนเส้นโค้งพาราโบลาได้ดังนี้ กำหนดเส้นตรงคงที่เส้นหนึ่ง และ จุดคงที่จุดหนึ่งบนกระดาษ โดยให้จุดคงที่นี้อยู่นอกเส้นตรงคงที่ ใช้ไม้บรรทัดอันหนึ่งวางทาบตามแนวเส้นตรงคงที่ และไม้ฉากรูปสามเหลี่ยมอีกอันหนึ่ง วางทาบกับไม้บรรทัดอันแรกตามรูป ใช้เส้นด้ายที่มีความยาวเท่ากับความยาวของไม้ฉากด้าน AB ผูกปลายหนึ่งของด้ายไว้ที่จุด A บนปลายของไม้ฉาก และ ผูกอีกปลายหนึ่งของด้ายไว้ที่จุดคงที่ F (เมื่อผูกปลายด้านทั้งสองแล้ว ให้เส้นด้ายมีความยาวเท่ากับด้าน AB พอดี) ใช้ปลายดินสอวางที่เส้นด้ายตรงจุด P บนด้าน AB โดยให้เส้นด้ายตึงอยู่ตลอดเวลาค่อยๆ เลื่อนไม้ฉากไปตามบรรทัด ปลายดินสอจะขีดเส้นโค้งพาราโบลาส่วน หนึ่งที่อยู่เหนือแกนของรูป ซึ่งเป็นเส้นตรงที่ผ่านจุดคงที่ และ ตั้งฉากกับเส้นตรงคงที่ การเขียนเส้นโค้งอีกส่วนหนึ่งก็กระทำคล้ายๆ กันโดยวางไม้ฉากตามแนวประในภาพ เราจะเห็นได้ว่า
ดังนั้น PF = PB เส้นโค้งที่จะได้เป็นเส้นโค้งพาราโบลา
จากการทดลองปล่อยวัตถุให้ตกลงมาจากที่สูง วัตถุจะถูกแรงดึงดูดของโลกดูดลงมาจนกระทบพื้นดิน ถ้า y เป็นระยะทางที่วัตถุตกลงมา (โดยวัดจากจุดที่ปล่อยวัตถุนั้น) ใช้เวลา t วินาที เราจะได้ y = 16t^2
ถ้าใช้แกนนอนแทนเวลา t และ แกนยืนแทนระยะทางที่วัตถุตกลงมา เขียนกราฟของ y = 16t^2 จะได้พาราโบลา
ในการยิงปืนขึ้นสู่อากาศ โดยตั้งปืนให้ทำมุมขนานหนึ่งกับแนวราบ ตามทฤษฎีแล้วกระสุนปืนจะวิ่งไปเป็นแนวเส้นตรง แต่เนื่องด้วยแรงดึงดูดของโลก จะทำให้ระยะทางของกระสุนปืนลดลงมาในแนวดิ่ง ถ้าให้ y' เป็นระยะทางที่กระสุนปืนถูกโลกดูดลงมาในแนวดิ่ง ในเวลา t วินาที
ดังนั้นจะได้ความสัมพันธ์ระหว่าง t และ y' ตามตาราง
t |
0 |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
... |
y' |
0 |
16 |
64 |
144 |
256 |
400 |
... |
ฉะนั้นเส้นทางที่กระสุนปืนวิ่งไป จึงเป็นเส้นโค้งพาราโบลา และ ในที่สุดกระสุนปืนก็จะตกลงมากระทบผิวโลก ระยะทางในแนวราบวัดจากจุดที่ยิงปืนไปจนถึงจุดที่ลูกกระสุนกระทบพื้นดิน จะขึ้นอยู่กับขนาดของมุมที่ยิงด้วย (มุมที่ยิงได้ระยะทางในแนวราบไกลที่สุด คือมุม 45 องศา มุมยิงที่เป็นมุมฉากกับแนวราบ กระสุนปืนจะถูกแรงดึงดูดของโลกดูดลงมากระทบศรีษะเราพอดี)
วิถีของจรวดที่ยิงจากจุดหนึ่งไปสู่อีกจุดหนึ่งบนผิวโลกก็เป็นเส้นโค้งพาราโบลา มนุษย์เราสามารถส่งจรวดให้ออกไปเดินทางรอบโลก หรือออกไปสู่สุริยจักรวาลได้ ก็โดยให้ความเร็วต้นของจรวด มากพอที่จะพ้นแรงดึงดูดของโลก (ประมาณ ความเร็ว 18,000 ไมล์ต่อชั่วโมง) และ ทำให้เส้นทางของจรวด เปลี่ยนจากเส้นโค้งรูปพาราโบลาเป็นรูปวงรี เพราะถ้ายังคงเป็นเส้นแบบรูปพาราโบลาแล้ว จรวดจะไม่สามารถกลับมาสู่โลกได้อีกเลย
น้ำพุที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นนั้น เราจะสังเกตเห็นได้ว่าสายน้ำพุที่พุ่งขึ้นไป และ กลับตกลงมาที่ผิวน้ำอีกนั้น มีลักษณะเป็นเส้นโค้งพาราโบลาขนาดต่างๆ กัน ซึ่งทำให้แลดูสวยงามกว่าการทำให้น้ำพุ่งขึ้นไป และ ลงมาในแนวดิ่ง