Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

คุณสมบัติของไวรัส เอชไอวี

Posted By Plookpedia | 03 ก.ค. 60
2,121 Views

  Favorite

คุณสมบัติของไวรัส เอชไอวี

๑. เป็นไวรัสชนิด RNA ใน subfamily Lentivirinae มีเอนไซม์ที่เป็นลักษณะสำคัญ คือ เอนไซม์รีเวอร์สทรานสคริพเตส (Reverse transcriptase, RT) 
๒. ในปัจจุบันไวรัสเอชไอวี มีอยู่ 2 type

  • Type 1 (HIV-1) มีชื่อเดิมว่า LAV-1 หรือ HTLY-III เป็นไวรัสที่พบดั้งเดิม
  • Type 2 (HIV-2) เป็นไวรัสชนิดเดียวกันกับ LAV-2 ที่แยกได้จากผู้ป่วยโรคเอดส์ที่เป็นชาวแอฟริกาและอาจเป็นเชื้อเดียวกับ HTLV-IV ที่แยกได้จากโสเภณีชาวเซเนกัลที่ยังไม่มีอาการของโรค

๓. เป็นไวรัสขนาดกลาง รูปทรงกลมมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๐๐-๑๒๐ นาโนเมตร ภายในอนุภาคมีแกนกลาง (core) ทึบแสง รูปทรงกระบอก ชั้นในสุดประกอบด้วย RNA genome สายเดี่ยว (single-stranded RNA) ขนาด ๙ กิโลเบส ที่เหมือนกัน ๒ ชิ้น (diploid) มีโปรตีนปนอยู่กับยีโนม คือ nucleocapsid protein, p7; และมี tRNA lys, Reverse transcriptase, RT ชั้นถัดไปเป็นแคปซิดโปรตีนหรือเรียกว่า core protein (p24) หุ้มล้อมรอบ ถัดออกไปอีกเป็น matrix protein (p17) ส่วนชั้นนอกเป็น envelope และมีปุ่ม (knobs) ยื่นโดยรอบเรียกว่า surface protein (gp120) ก้านของปุ่มที่ยื่นจากด้านในของ envelope เรียกว่า transmembrane protein (gp 41) ที่กล่าวมาเป็นลักษณะโครงสร้างของ HIV-1 สำหรับ HIV-2 จะคล้ายคลึงกับ HIV-1 แต่มีรายละเอียดในยีนบางชนิดที่แตกต่างไปบ้าง

 

HIV-1 ไวรัสเอชไอวี-๑
HIV-1 ไวรัสเอชไอวี-๑

 

๔. สายพันธุ์ของไวรัสเอชไอวี ถูกแบ่งโดยดูความแตกต่างของยีนของไวรัสนั้น  ขณะนี้แบ่งตามความแตกต่างของยีนที่เป็นรหัสควบคุมการสร้าง gp120 ได้ไม่ต่ำกว่า ๙ subtypes หรือ clade คือ A, B, C, D, E, F, G, H และ O โดย subtype A พบในทวีปแอฟริกา subtype B พบในสหรัฐอเมริกา ยุโรป ไทย และบราซิล subtype C และ D พบในแอฟริกา subtype E พบในประเทศไทย subtype F พบในประเทศบราซิล subtype G และ H พบในทวีปแอฟริกา และ subtype O พบในประเทศแคเมอรูน  ในประเทศไทยพบไวรัสเอชไอวีระบาด คือ subtype B และ E พบว่าเกี่ยวข้องกับวิธีการได้รับเชื้อ ถ้าติดทางเพศสัมพันธ์ ร้อยละ ๘๐ หรือมากกว่าเป็น subtype E ในกลุ่มผู้ติดทางการฉีดร้อยละ ๗๑ หรือมากกว่าเป็น subtype B 
๕. ไวรัสเอชไอวี  มีความจำเพาะต่อเม็ดเลือดขาวลิมโฟซัยท์ T4 หรือ T helper ซึ่งเป็นเซลล์ที่มี CD4+ receptor (CD4+ cells) บนผิวเซลล์ CD4+ recepter นี้อาจพบได้บนผิวของ B cell, Monocytes/ Macrophages และเซลล์อื่น ๆ เชื้อไวรัสเข้าสู่เซลล์โดยการจับกันกับ CD4 receptor บนผิวเซลล์หรือเชื้ออาจเข้าสู่เซลล์โดยกลไกทางอื่น เช่น อาจเข้าทาง Fc receptor นอกจากนี้ไวรัสเอชไอวีสามารถติดเชื้อในเซลล์ประสาทและเซลล์ระบบทางเดินอาหารได้โดยยังไม่ทราบ receptor ที่จำเพาะ   ไวรัสเอชไอวีไปอยู่ในสภาพ proviral DNA โดยรวมตัวกับ cellular DNA และอยู่ในสภาพสงบแอบแฝง  ต่อมาในบางสภาวะที่อาจขึ้นกับสายพันธุ์ ของเชื้อ สภาพของเชื้อ และการถูกกระตุ้นโดย ปัจจัยร่วม (cofactor) จะทำให้ไวรัสเอชไอวีเพิ่มจำนวนได้อนุภาคใหม่ปลดปล่อยออกจากเซลล์ได้ ทำให้เซลล์ที่มี CD4 receptor ทำหน้าที่ผิดปกติและลดจำนวนลง  โดยเฉพาะ T helper cell หรือ CD4+ T cells ซึ่งมีความสำคัญในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจึงทำให้เกิดภาวะภูมิคุ้มกันเสื่อม 
๖. การทำลายของเชื้อในห้องปฏิบัติการ และเวชปฏิบัติ  ดังที่ทราบกันว่าไวรัสเอชไอวีเป็นไวรัสที่ถูกฆ่าให้ตายหรือหมดฤทธิ์ได้ง่าย โดย

  • การต้มที่ ๕๖°ซ. เป็นเวลา ๓๐ นาที จะทำให้ไวรัสส่วนใหญ่หมดฤทธิ์ 
  • การต้มเดือด ๑๐ นาที ไวรัสจะถูกทำลายหมด
  • น้ำยาฟอกสีคลอร็อกซ์หรือไฮเตอร์ซึ่งจะให้คลอรีนที่มีใช้ตามบ้าน ผสมน้ำยาหนึ่งส่วนต่อน้ำเก้าส่วนก็จะฆ่าเชื้อได้และสามารถใช้เช็ดบริเวณที่มีน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วยที่หกเลอะเทอะได้
  • เครื่องมือเครื่องใช้ อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้กับผู้ป่วย เช่น เอ็นโดสโคปให้ทำความสะอาด โดยล้างด้วยน้ำยาซักฟอกหรือน้ำยาล้างถ้วยชาม (ดีเทอร์เจนท์) ล้างน้ำให้สะอาดแล้วแช่ในกลูตาราลดีไฮด์ (Activated glutaral-dehyde) ที่มีความเข้มข้นร้อยละ ๒
เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow