คือ อัญมณีที่ทำขึ้นโดยวิธีการใด ๆ เพื่อใช้แทนหรือเลียนแบบหรือเพิ่มคุณภาพอัญมณีที่เกิดตามธรรมชาติ แบ่งออกเป็น ๕ ประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้คือ
เป็นอัญมณีที่ทำขึ้นด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ โดยมีส่วนประกอบทางเคมีคุณสมบัติทางกายภาพทางแสงเหมือนกับอัญมณีธรรมชาติ การตรวจแยกอัญมณีสังเคราะห์ออกจากอัญมณีธรรมชาติไม่สามารถทำได้ง่ายด้วยตาเปล่าหรือวิธีการธรรมดาต้องใช้ความรู้ประสบการณ์และเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์เข้าช่วย มนุษย์สามารถสังเคราะห์อัญมณีขึ้นให้เหมือนกับอัญมณีธรรมชาติที่มีราคาสูงได้เกือบทุกชนิด เช่น เพชรสังเคราะห์ ทับทิมสังเคราะห์ แซบไฟร์สังเคราะห์ มรกตสังเคราะห์ สปิเนลสังเคราะห์ เป็นต้น
เป็นอัญมณีที่ทำขึ้นด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ โดยมีส่วนประกอบทางเคมีคุณสมบัติทางกายภาพทางแสงเฉพาะตัวไม่เหมือนอัญมณีใด ๆ แต่มีสีและลักษณะต่าง ๆ คล้ายเพชรหรือพลอยบางชนิด เช่น เพชรรัสเซีย (Cubic Zirconia) จีจีจี (GGG) แย็ก (YAG) สทรอนเชียมไททาเนต (Strontium titanate) แก้ว พลาสติก เป็นต้น อัญมณีเทียมไม่พบว่าเกิดขึ้นตามธรรมชาติยกเว้นแก้ว การตรวจแยกอัญมณีเทียมออกจากอัญมณีชนิดอื่น ๆ สามารถทำได้โดยไม่ยุ่งยากมากนักเพราะอัญมณีเทียมชนิดต่าง ๆ มีคุณสมบัติเฉพาะตัวอยู่แล้ว แต่ก็ต้องใช้ความรู้ประสบการณ์และเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์เข้าช่วยด้วย
เป็นอัญมณีที่ทำขึ้นเพื่อการเลียนแบบ โดยมีลักษณะบางประการหรือทั้งหมดคล้ายหรือเหมือนอัญมณีธรรมชาติมากบางครั้งจะเหมือนมากจนยากที่จะแยกได้ด้วยตาเปล่า อัญมณีธรรมชาติ อัญมณีสังเคราะห์ อัญมณีเทียม สามารถนำมาใช้ทำเป็นอัญมณีเลียนแบบได้ทั้งหมด เช่น ใช้แร่เซอร์เพนทีน แร่คาลซิโดนีสีเขียวซึ่งเป็นอัญมณีธรรมชาติทำเป็นอัญมณีเลียนแบบหยก ใช้แซปไฟร์ไร้สีสังเคราะห์ซึ่งเป็นอัญมณีสังเคราะห์ ทำเป็นอัญมณีเลียนแบบเพชร ใช้คิวบิกเซอร์โคเนีย แย็ก จีจีจี ซึ่งเป็นอัญมณีเทียมทำเป็นอัญมณีเลียนแบบเพชร ใช้แก้วพลาสติกซึ่งเป็นอัญมณีเทียมทำเป็นอัญมณีเทียมเลียนแบบอัญมณีอื่น ๆ แทบทุกชนิด การตรวจแยกอัญมณีเลียนแบบในบางครั้งสามารถทำได้ง่ายด้วยตาเปล่าหรือวิธีการธรรมดา แต่บางครั้งก็อาจต้องใช้ความรู้ประสบการณ์และเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วย
เป็นอัญมณีที่ทำขึ้นโดยใช้ชิ้นส่วนของอัญมณีธรรมชาติประกบหรือปะเข้ากับอัญมณีสังเคราะห์ เช่น ใช้ไพลินจริงประกบกับไพลินสังเคราะห์ทับทิมจริงประกบกับทับทิมสังเคราะห์ ฯลฯ (เพื่อหลอกลวง) ใช้ชิ้นส่วนของอัญมณีธรรมชาติประกบกับอัญมณีเลียนแบบ เช่น ใช้โกเมนประกบกับแก้ว มรกตประกบกับแก้ว ฯลฯ (เพื่อหลอกลวง) ใช้ชิ้นส่วนของอัญมณีธรรมชาติประกบกับอัญมณีธรรมชาติ เช่น ใช้หยกจริงประกบกับหยกจริง เบริลจริงประกับกับเบริลจริง ฯลฯ เพื่อให้ได้ขนาดใหญ่ขึ้นหรือเพื่อหลอกลวง ใช้โอปอประกบ ๒ ชั้น หรือ ๓ ชั้น เพื่อปรับปรุงสี ความเป็นประกาย และปรากฏการณ์และเพื่อความคงทนถาวรขึ้น การตรวจแยกอัญมณีประกบสามารถทำได้ง่ายด้วยตาเปล่าหรือวิธีการธรรมดา อัญมณีที่ไม่อยู่ในตัวเรือนแล้วจะตรวจสอบได้ง่ายมากกว่าอัญมณีที่อยู่ในตัวเรือน
เป็นอัญมณีที่ผ่านการเปลี่ยนแปลงลักษณะภายนอกหรือภายใน โดยกรรมวิธีต่าง ๆ เพื่อทำให้ได้อัญมณีที่ดูสวยงามคงทนมากขึ้น เช่น อัญมณีเคลือบสี (Coated gemstone) อัญมณีเคลือบซึมสี (Color-diffused gemstone) อัญมณีอาบรังสี (Irradiated gemstone) อัญมณีย้อมสี (Dyed gemstone) อัญมณีอุด (Fracture filling gemstone) เป็นต้น สำหรับอัญมณีเผาหรือหุง (Heat- treated gemstone) บางชนิด เช่น คอรันดัม เป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นอัญมณีแท้