Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา
Education > TCAS > บทความ
เทคนิคทำ Portfolio ครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์

  Favorite

คณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ เป็นคณะยอดฮิตในการเข้ามหาวิทยาลัย คะแนนสอบก็สูง การแข่งขันสูง ใครที่ต้องการสอบติดตั้งแต่ TCAS รอบที่ 1 ต้องทำ Portfolio ออกมาให้ตรงโจทย์ เนื้อหาเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาให้มากที่สุด ถึงจะมีโอกาสสอบติด Portfolio คณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ควรทำคืออะไร เช็คเลย!

 

ผลงานใน Portfolio ต้องตรงตามระเบียบการ

ก่อนจะเริ่มทำ Portfolio ต้องเช็คระเบียบการให้ดีก่อนว่า เกณฑ์ที่กำหนดมีอะไรบ้าง นอกจากนี้สาระสำคัญที่ควรใส่คือเนื้อหา ที่ตรงโจทย์และเกี่ยวข้องกับสายครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ประวัติที่ทำมามีอะไรบ้าง ที่เป็นประสบการณ์เกี่ยวข้องกับครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ก็ใส่ลงไป มีผลงานประกวดได้รับรางวัลที่เกี่ยวข้องใส่ลงไป การแข่งขันทางวิชาการเกี่ยวกับวิชาก็ใส่ได้ ผลคะแนนทดสอบทางวิชาการใส่ลงไปได้ กิจกรรมที่ใส่ควรเกี่ยวข้องกับด้านนี้ ต้องเช็ครายละเอียดให้ดี อย่างใส่อะไรที่ไม่เกี่ยวข้อง เพราะใส่ไปก็ไม่ได้คะแนน

 

สร้าง Portfolio ให้มีจุดเด่นเป็นตัวของตัวเอง

Portfolio จำเป็นต้องทำให้ตรงตามโจทย์ โดยเฉพาะเนื้อหาและจำนวนหน้า แต่เราสามารถออกแบบเรื่องดีไซน์รูปเล่ม ให้เป็นตัวของตัวเองได้ แต่ต้องไม่เกินขอบเขตของความเรียบร้อย อ่านเข้าใจง่าย รูปภาพและการตกแต่งเนื้อหา สามารถทำให้เป็นจุดเด่น ดึงจุดสำคัญของตัวเองออกมาได้ ทำให้ Portfolio ของเรามีความต่างจากคู่แข่ง ผ่านเนื้อหาและการออกแบบได้ เป็นวิธีการสร้างการจดจำให้กรรมการจำ Portfolio ของเราได้ ใส่อะไรที่เกี่ยวกับวิชาการลงไปได้ ให้มีความสอดคล้องกับครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์

 

ไม่ควรใส่ผลงานที่ไม่จริง

อย่าใส่ข้อมูลที่ไม่จริง หรือสร้างขึ้นมาบิดเบื่อนลงไปใน Portfolio เด็ดขาด เพราะถือเป็นการกระทำที่ไม่โปร่งใส เช่น ผลงาน กิจกรรม การแข่งขัน ประสบการณ์ ต้องเป็นข้อมูลจริงเท่านั้น โดยเฉพาะประสบการณ์ การใส่ข้อมูลไปเยอะ ๆ แต่ไม่เป็นความจริงไม่ได้ เพราะ Portfolio ที่ดีและได้คะแนน ต้องตรงโจทย์ และมีหลักฐานยืนยันว่าเราทำสิ่งนั้นจริง การใส่ข้อมูลไม่จริงที่เยอะและเกินความน่าจะเป็น มักสร้างความแปลกใจให้กรรมการจับสังเกตได้ ว่าข้อมูลมีความผิดปกติ และจะทำให้เราถูกตัดคะแนน หรือถูกตัดสิทธิ์ได้ทันที เป็นการเสียโอกาสอย่างมาก และถ้าผ่านเข้ารอบสัมภาษณ์ กรรมการถามคำถาม แล้วเราตอบไม่ได้ หรือตอบไม่คล่องแคล่ว ทั้งหมดคือความผิดปกติที่กรรมการจะเห็น และยืนยันได้ว่าเราใส่ข้อมูลไม่จริง โอกาสสอบติดไม่มีทันที

 

ตัวอย่างผลงานสายบัญชี ที่ใส่ใน Portfolio

ผลงานวิชาการ 

- เกียรติบัตร รางวัล การแข่งขัน ที่แสดงว่าเรามีความสามารถทางวิชาการ ในสาขาวิชาต่าง ๆ  และควรเน้นในด้านที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่เลือกสมัคร เช่น สมัครเข้าเอกวิทยาศสตร์ ผลงานต่าง ๆ ก็ควรเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ให้มากที่สุด

- การทำโครงงานวิชาการ 

- การแข่งขันประกวดในกิจกรรมต่าง ๆ เช่น สุนทรพจน์ โต้วาที หรือ การแข่งขันการพูดและการสื่อสาร การอ่านหรือการเขียน

- คะแนนสอบด้านภาษาอังกฤษ เช่น TOEFL TOEIC IELTS CU-TEP TU-GET เป็นต้น

 

กิจกรรม

- กิจกรรมที่ทำร่วมกับโรงเรียน ชุมชน สังคม 

- กิจกรรมที่แสดงถึงทักษะการสื่อสาร การพูด เช่น ตัวแทนนักพูด, วิทยากร, Staff กิจกรรม

- กิจกรรมที่ทำงานเป็นทีม 

- กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม อาสาสมัคร และการช่วยเหลือด้านต่าง ๆ 

- กิจกรรมคุณธรรมจริยธรรม

- ประสบการณ์ด้านการสอน เช่น เป็นครูสอนพิเศษ, เป็นติวเตอร์พิเศษ, เป็นครูอาสา เป็นต้น

 

คุณสมบัติเฉพาะ คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์

ใส่ข้อมูลประสบการณ์เกี่ยวกับตัวเอง ที่บ่งบอกว่า เราเหมาะสมที่จะเป็นครู มีคุณสมบัติเฉพาะของการเป็นครูอย่างชัดเจน น้องต้องศึกษาให้ดีว่า คุณสมบัติสำคัญของอาชีพครูที่กำหนดไว้มีอะไรบ้าง 

 
Tags
Posted by
Plook TCAS
ข่าวค่ายและกิจกรรม
ข่าวรับตรงล่าสุด
Follow us