Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา
Education > TCAS > บทความ
[รีวิว] สาขาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง ม.เกษตรศาสตร์

  Favorite
สาขาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง ม.เกษตรศาสตร์

 

ผศ.ดร.นภาขวัญ แหวนเพชร
พี่ปอ-นภสร พลมา 
พี่โน้ต-อภิวิชญ์ เจริญสุขใส

 

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

พี่ปอ : ที่เลือกเรียนประมง คณะวิทยาศาสตร์ทางทะเลนะคะ เพราะว่าเราชอบทะเล อยากอนุรักษ์สัตว์ทะเลและทะเลให้อยู่กับเราไปนาน ๆ ค่ะ เราจึงเลือกเรียนคณะนี้ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ของเรา ยังเป็นที่แรกในการสอนหลักสูตรนี้ด้วยนะคะ การเรียนของเราไม่ได้มีแค่ในห้องเรียนค่ะ เราจะลงพื้นที่จริง เห็นของจริง และลงทะเลจริงนะคะ แล้วนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปกอบกู้ อนุรักษ์ และแก้ไขปัญหาระบบนิเวศน์ พร้อมกับกอบกู้โลกของท้องทะเลให้อยู่กับเราไปนาน ๆ ค่ะ

 

ผศ.ดร.นภาขวัญ  แหวนเพชร : การเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ทางทะเลไม่ได้เน้นที่บรรยายอย่างเดียวนะคะ ก็จะมีการลงพื้นที่ เช่น ลงเรือ เพื่อเรียนรู้ระบบนิเวศน์ทางทะเล ที่ได้ดูนี้จะเป็นการสาธิตการใช้เครื่องมือทางการสำรวจทางสมุทรศาสตร์ ทั้งดิน น้ำ และคุณภาพของน้ำ นิสิตจะได้ความรู้และได้ดูจากอุปกรณ์จริงที่เคยสอนในชั่วโมงบรรยายไปในมหาวิทยาลัย
 

พี่ปอ : สำหรับคณะประมง น้อง ๆ จะได้เรียนรู้ตั้งแต่สัตว์ทะเลเบื้องต้น ไปจนถึงสัตว์ทะเลหายาก ได้เรียนรู้ชนิดและโครงสร้างของสัตว์ทะเลทุกตัวเลยค่ะ อีกทั้งยังได้เรียนรู้ถึงการจัดเก็บอุปกรณ์ การเก็บตัวอย่าง การใช้อุปกรณ์ หรือแม้กระทั่งการวิเคราะห์ค่า และยังได้เรียนรู้วิธีการใช้เครื่องมือของชาวประมงพื้นบ้านด้วยค่ะ

 

การเรียนตลอดหลักสูตร

ชั้นปีที่ปี 1 เรียนวิชาพื้นฐาน เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีวะครับ

ชั้นปีที่ปี 2 จะมีวิชาที่เริ่มเกี่ยวข้องกับทางมีนวิทยา (Ichthyology) เรียนเกี่ยวกับเรื่องของสัณฐานวิทยาของปลาต่าง ๆ

ชั้นปีที่ปี 3 เราก็จะเรียนลึกขึ้น เกี่ยวกับวิชาสัตว์ทะเลมากขึ้น เช่น การใช้เครื่องมือต่าง ๆ

ชั้นปีที่ปี 4 เป็นปีสูงสุดแล้วครับ เราจะเรียนในส่วนขององค์ประกอบโดยรวม เช่น วิชา Marine ecology ระบบนิเวศน์ทางทะเล เหมือนเรียนความเชื่อมโยงครับ คือเอาความรู้ตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 ที่เราได้มา มาใช้ในชั้นปีที่ 4

 

จบไปแล้วทำอะไรได้บ้าง

พี่โน้ต : ถ้าเป็นทางด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลเนี่ย เราเรียนกับน้ำเค็ม เพราะฉะนั้นที่ไหนที่มีทะเลหรือน้ำเค็ม เราสามารถไปทำได้หมดเลยครับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการอนุรักษ์ธรรมชาติ หรือว่าจะช่วยดูแลส่วนของมลพิษต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น หรือจะทำเรื่องสิ่งมีชีวิตความหลากหลายก็ได้

พี่ปอ : เรียนจบไปแล้วโน้ตอยากเป็นอะไร

พี่โน้ต : โน้ตรู้สึกว่า ตอนนี้กำลังชอบที่จะทำเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรณ์ธรรมชาติ แล้วก็ช่วยดูแลเรื่องมลพิษอยู่ แล้วปอจบแล้วอยากทำอะไร

พี่ปอ : เหมือนของโน้ตเลย เป็นนักอนุรักษ์ เพราะชอบอนุรักษ์ ช่วยเหลือคนอื่น มันน่าจะตรงกับสิ่งที่เราชอบมากที่สุด

 

การสอบเข้า

พี่ปอ : สำหรับน้อง ๆ ที่จะสอบเข้าคณะประมง ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเลนะคะ  น้อง ๆ ทุกคนจะต้องจบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในสายวิทย์-คณิต และผ่านการสอบคัดเลือกเหมือนวิชาอื่น ๆ นะคะ เมื่อน้อง ๆ ผ่านการคัดเลือกเข้ามาในคณะนี้แล้ว ทางคณะก็จะปูพื้นฐานความรู้ใหม่ให้น้อง ๆ ตั้งแต่ต้นค่ะ

พี่ก็อยากให้น้อง ๆ ทุกคนเข้ามาเรียนคณะนี้กันเยอะ ๆ นะคะ ถึงแม้ว่าคณะนี้จะเรียนยาก แต่พี่เชื่อว่าจบไปหางานทำไม่ยากแน่นอนค่ะ พี่ ๆ ทุกคนรอน้องอยู่นะคะ

 

ค่าเทอม

ค่าลงทะเบียนเรียน 14,300 บาท/เทอม

 

ข้อมูลหลักสูตร

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : วิทยาศาสตรบัณฑิต (ประมง)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Science (Fisheries)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : วท.บ. (ประมง)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.S. (Fisheries)

 

รูปแบบและโครงสร้างของหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 139 หน่วยกิต
https://www.ku.ac.th/th/ac-in-faculty-of-fisheries/

ดาวน์โหลดข้อมูลหลักสูตร
https://eduserv.ku.ac.th//academics%202008/PDF/ku/fish/CS_B.S.Fisheries_60.pdf

 

Tags
Posted by
Plook TCAS
ข่าวค่ายและกิจกรรม
ข่าวรับตรงล่าสุด
Follow us