Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา
Education > TCAS > บทความ
[รีวิว] วิศวกรรมไฟฟ้า จุฬาลงกรณ์

  Favorite
วิศวกรรมไฟฟ้า จุฬาลงกรณ์

 

รองศาสตราจารย์ ดร.แนบบุญ หุนเจริญ   
พี่ริว-ณัฐกฤตย์ เติมพินิจธรรม
พี่บูม-ปรียาภา เดชตระกูลวงศ์        

 

คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาไฟฟ้า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


          ภาควิชาของเราจะเรียนเกี่ยวกับพื้นฐานทางด้านไฟฟ้าก่อน แล้วก็จะมีเรื่องของคณิตศาสตร์ และอีกหลายวิชา และจะมีเจาะลึกลงไปอีก 4 สาขา คือ
1. สาขากำลัง
2. สาขาควบคุม
3. สาขาสื่อสาร
4. สาขาอิเล็กทรอนิกส์

          ภาคไฟฟ้า ถือเป็น 1 ใน 3 ภาควิชาแรกของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเปิดมานานมาก ๆ

 

 

          ห้องปฏิบัติการไฟฟ้า จะเป็นแล็ปของนิสิตชั้นปีที่ 2 ของภาควิชาไฟฟ้านั้นเอง ซึ่งเป็นการเรียนที่สนุกแต่ก็ยาก ต้องทดลองไปเรื่อย ๆ เพื่อดูว่าถูกหรือผิด เป็นขั้นตอนการปรับปรุง พาวเวอร์ แฟ็กเตอร์ ในอุตสาหกรรมโรงงานขนาดใหญ่ ถ้าปรับปรุงส่วนนี้ได้ดี ก็จะทำให้ใช้สายไฟขนาดเส้นเล็กลงได้ ทำให้ประหยัดต้นทุน

 

การเรียนแต่ละชั้นปี

ปี 1 : จะเรียนเป็นวิชาพื้นฐานรวม เช่น ฟิสกส์ม, แคลคูลัส, เคมี, เขียนแบบทางวิศวกรรม, Cording, ภาษา Python, Material

ปี 2 : เรียนพื้นฐานด้านไฟฟ้าอีกทีหนึ่ง, วงจร, คณิตศาสตร์สำหรับวิศวกรรมไฟฟ้า, ความน่าเป็น, เครื่องกล, สัยญาณเคลื่อนแม่เหล็กไฟฟ้า ประมาณนี้

ปี 3 : เทอมที่ 1 จะยังเรียนรวมพื้นฐานอยู่ เป็นพื้นฐานของแต่ละ 4 สาขา เมื่อเลือกได้แล้วว่าจะเรียนสาขาไหน ก็จะมาลงเรียนกันตอนปี 3 เทอม 2

ปี 4 : เน้นเรียนวิชาเฉพาะประจำสาขา ที่เสริมมาต่อเนื่องจากปี 3 และยังต้องเข้าแล็ปด้วย ถ้าเลือกเรียน 2 สาขา ก็ต้องเรียนแล็ปทั้ง 2 สาขา และนอกจากนี้ยังมีโปรเจค คือวิชาที่ให้คิดว่าเราอยากจะทำโปรเจคอะไร โดยนำความรู้ที่เรียนมาทั้งหมดมาใช้ ส่วนวิชาฝึกงานจะมีให้ลงระหว่าง ปี 3 ขึ้นปี 4 เป็นหน่วยกิตบังคับ ถ้าไม่มีก็จะไม่จบ

          สำหรับการทำงานเมื่อเรียนจบไปแล้วนั้น การเรียนวิศวกรรมไฟฟ้าค่อนข้างกว้าง ไม่จำเป็นว่าจบแล้วต้องเป็น วิศวกรไฟฟ้าเท่านั้น สามารถทำงานตรงสายหรือไม่ตรงก็ได้ เช่น การออกแบบ, การวางแผงไฟ, การทำงานสา Data คือการทำงานด้านข้อมูล และการวิเคราะห์สมการ เป็นต้น วิศวะมีตลาดการทำงานที่ค่อนข้างกว้าง มีความต้องการของทุกแขวง มีงานทำแน่นอน เพราะทุกบริษัทยังต้องการคนทำงานที่คิดวิเคราะห์ ซึ่งตอบโจทย์ในอนาคต

 

ภาควิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รองศาสตราจารย์ ดร.แนบบุญ หุนเจริญ :

          ปัจจุบันเป็นหัวหน้าภาควิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ผ่านมาต้องบอกว่า ทฤษฎีเราแน่นมาก อาจจะแตกต่างจากวิศวกรรมบางที่ ที่เข้าไปเรียนปี 1 – 2 แล้วแยกสาขาเลย แต่วิศวกรรมไฟฟ้า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าไปแล้วสร้างพื้นฐานให้แข็งแรงก่อน เพราะเราคิดว่าศาสตร์องค์ความรู้ในเชิงประยุกต์ มันพร้อมที่จะล้าสมัย พร้อมที่จะเปลี่ยนไปรวดเร็ว เราจึงเน้นว่า ถ้าคุณมีพื้นฐานที่แข็งแกร่ง ต่อไปเมื่อเทคโนโลยีจะเปลี่ยนไปยังไง คุณสามารถที่จะเอาความรู้ที่แข็งแกร่งไปเรียนรู้ด้วยตนเอง แล้วต่อยอดได้เสมอ

          เราปรับการเรียนการสอนในลักษณะที่เป็น การเรียนรู้แบบผสมผสาน มีความรู้ในห้องเรียนด้วย มีความรู้ในออนไลน์คอร์สมาเสริม ให้สามารถเข้าไปทบทวนบทเรียนได้เวลาลาไหนก็ได้ที่สะดวก เพราะฉะนั้นตัวเนื้อหาจะผสมกันระหว่าง ในห้องเรียนและออนไลน์ และใช้เวลาที่เจอกันในห้องเรียนหรือในห้องแล็ป ในการใส่การปฏิบัติการเข้ามาเพื่อเสริมความเข้าใจด้านทฤษฎี ใส่เรื่องของโปรเจคเข้ามา ไม่ต้องรอไปทำโครงงานวิจัยตอนปี แต่พยายามให้แต่ละวิชาแทรกการทำโปรเจคเข้าไป

          พลังงานที่ใช้ในการขนส่ง มีแนวโน้มว่าจะเปลี่ยนจากการใช้น้ำมัน มาเป็นการใช้ไฟฟ้ามากขึ้น ยานยนต์อาจจะมาเป็นไฟฟ้าส่วนใหญ่แล้ว พลังงานไฟฟ้ามีแต่จะโตขึ้น มีความต้องการมากขึ้น และมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะมาตอบสนอง เราสามารถที่จะเอาพลังงานสะอาด มาใช้ได้มากขึ้น เพื่อที่จะมีพลังงานใช้ด้วย ตอบโจทย์สิ่งแวดล้อมด้วย ลดการปล่อยก๊าซเรื่อนกระจก

          ด้านสายสุขภาพ ความรู้ทางไฟฟ้าเอาสร้างอุปกรณ์ทางการแพทย์ ระบบดูแลรักษาสุขภาพ ส่วนตลาดงานในปัจจุบัน ถ้าลูกศิษย์ของเรารู้จุดแข็งของตัวเอง มีความคิดสร้างสรรค์ ก็สามารถนำความรู้ด้านวิศวกรรมไฟฟ้า ไปหางานทำได้มากมาย หรือสร้างนวัตกรรมทางเศรษฐกิจ ให้มีมูลค่ามากขึ้น พัฒนาสิ่งใหม่เพื่อกระตุ้นชีวิตและความเป็นอยู่ของคนให้ดีขึ้นต่อไป

 

การสอบเข้า

          สำหรับคนที่สนใจสอบเข้าวิศวะ - จุฬา ไม่ได้มีกหนดว่าต้องจบสายวิทย์อย่างเดียว สายศิลป์, ปวช. ก็รับเช่นกัน แต่จะมีเกณฑ์ขั้นต่ำคือ เกรดไม่ต่ำกว่า 2.50 ถ้าต้องการสอบเข้าต้องสมัครผ่านระบบ TCAS เป็นระบที่แบ่ง 4 รอบ คือ Portfolio, โควตา, รับตรงปกติ, Admission ซึ่งการสอบจะเน้นไปที่ PAT 3 เป็นส่วนใหญ่ เพราะว่าการสอบรับตรงรอบที่ 3 รับเยอะที่สุด ประมาณ 500 คน ส่วนเกณฑ์คือ PAT 3 60%, GAT 20%, PAT 1 20% รวมเป็น 100% แต่การรับแต่ละรอบก็มีเกณฑ์ไม่เท่ากัน อย่างรอบ Admission ก็จะมีคะแนนเกรดเข้ามาร่วมด้วย มี PAT 2 และคะแนน O-NET

 

เคล็ดลับการเรียน

พี่บูม - เน้นตั้งใจเรียนในห้อง จดเลคเชอร์ตามที่อาจารย์สอน แล้วมานั่งอ่านทบทวนอีกหนึ่งรอบพร้อมทำโจทย์

พี่ริว - เน้นความสม่ำเสมอ อ่านหนังสือทุกวัน มากน้อยแล้วแต่วัน แต่ต้องอ่านทุกวันเพื่อให้ความรู้ที่มีอยู่ต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ

 

เหตุผลที่เลือกเรียนไฟฟ้า

พี่ริว - ตอนม.ปลาย สนใจเลข ฟิสิกส์ ในหัวข้อที่เป็นไฟฟ้ามาก ๆ การแบ่งภาพวงจรมันน่าสนใจ ในทฤษฏีที่เรียนมาเป็นแบบนี้ เลอยากรู้ว่าภาคปฏิบัติจะเป็นยังไง

พี่บูม – รู้สึกว่าไฟฟ้าเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ แต่มันทำงานยังไง และรู้สึกว่าไฟฟ้าสามารถไปได้หลายสาย ค่อนขว้างกว้าง จบไปทำงานได้หลายอาชีพ ทั้งตรงสายและไม่ตรงสาย

 

          สังคมการเรียนค่อนข้างหลากหลาย มีเพื่อนมีกิจกรรมเยอะ การเรียนก็มีการทดสอบค่อนข้างเยอะ เป็นการสร้างเสริมพื้นฐานของเราตลอด และทำให้ต้องอ่านทบทวนอยู่ตลอด สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจก็อยากแนะนำว่า อยากให้ขยันและสนใจอ่านให้ตรงจุด พยายามเน้นที่ PAT 3 ทบทวนโจทย์บ่อย ๆ เป็นกำลังใจให้และมาเจอกันที่คณะนะน้อง ๆ 

 

 

ค่าเทอม

คณะวิศวกรรมศาสตร์  21,000 บาท

 

ดาวน์โหลดข้อมูลหลักสูตร

https://www.eng.chula.ac.th/wp-content/uploads/2017/08/Electrical-Engineering.pdf

 

ศึกษาอาชีพจาก รายการ I am ฉัน(จะ)เป็น >>Click

รู้จักอาชีพแบบเจาะลึกจาก Plook explorer >>Click

Tags
Posted by
Plook TCAS
ข่าวค่ายและกิจกรรม
ข่าวรับตรงล่าสุด
Follow us