มาถึงการทำ Portfolio สายวิศวกรรม สิ่งสำคัญในการทำพอร์ตที่ไม่ต่างจากสายคณะอื่น คือ ควรทำพอร์ตให้ตรงกับคณะที่สมัคร ใส่ผลงานให้ตรงประเด็นมากที่สุด การทำพอร์ตเยอะหลายหน้า แต่ไม่เกี่ยวข้องกับคณะที่สมัคร ก็อาจไม่ได้รับการคัดเลือก อย่างวิศวกรรมเราก็ควรเน้นผลงานที่เกี่ยวกับประสบการณ์ด้านวิศวกรรม เทคโนโลยี แล้วผลงานด้านไหนที่สามารถใส่ใน Portfolio สายวิศวกรรมได้บ้างไปดูกัน !!
- การแข่งขันทางวิทยาศาสตร์ เช่น การแข่งขันหุ่นยนต์, การสอบวัดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์
- การแข่งขันโอลิมปิกวิชาการ, การแข่งขันวิชาการ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์
- ผลคะแนนสอบภาษาอังกฤษ เช่น TOEFL TOEIC IELTS เป็นต้น (สำหรับหลักสูตรนานาชาติ) ก็สามารถแนบผลการสอบไปด้วยได้
- ผลงาน หรือ สิ่งประดิษฐ์ทางวิศวกรรม หรือ วิทยาศาสตร์ ที่ทำด้วยตัวเอง ชิ้นงานอาจจะไม่ได้ลงแข่งขันหรือได้รางวัล ก็ใส่ลงในพอร์ตได้ อธิบายถึงการทำงาน ประโยชน์ของผลงาน เป็นต้น
- การทำโครงงานวิศวกรรม หรือ วิทยาศาสตร์
- การเข้าร่วม Openhouse ค่ายวิศวะ หรือ ค่ายวิทยาศาสตร์ ใส่รายละเอียดการทำกิจกรรม สิ่งที่ได้เรียนรู้ลงไปได้เลย
- ค่ายติววิชาการ ของมหาวิทยาลัย
- ค่ายส่งเสริมและพัฒนาอัจฉริยะภาพด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
- การไปฝึกงาน ศึกษาดูงาน หาประสบการณ์ ที่เกี่ยวกับด้านวิศวกรรม
กิจกรรมเพิ่มเติมที่สามารถใส่แนบท้ายผลงานได้ เพื่อแสดงถึงบุคลิกภาพของตัวเรา เช่น
- กิจกรรมในโรงเรียน
- กิจกรรมจิตอาสา งานอาสาสมัคร
- กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม
นอกจากพื้นฐานคณิตศาตร์ วิทยาศาสตร์ ที่คนเรียนวิศวกรรมต้องมีแล้ว ในเรื่องของการทำงานด้านวิศวะจะต้องมีทักษะ และความสามารถเพิ่มเติมเข้ามาด้วย ได้แก่
ความสามารถในการสื่อสาร การคิดเป็นตรรกะ เพราะวิศวะต้องทำงานกับผู้คนหลายฝ่าย การสื่อสารจึงค่อนข้างสำคัญ
ความเป็นผู้นำ และการทำงานเป็นทีม ทักษะข้อนี้ก็สำคัญในการทำงานด้านวิศวะ จะทำให้การทำงานเป็นไปอย่างมีระบบและพัฒนามากขึ้น
การเปิดรับสิ่งใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ยอมรับสิ่งใหม่ เพราะแน่นอนโลกมีการเปลี่ยนแปลง มีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามา เราจะต้องปรับตัวและเปิดใจ เป็นสกิลสำคัญอย่างหนึ่งที่วิศวะจำเป็นต้องมีในโลกอนาคต
โลกของวิศวะเปลี่ยนไป ตามการเปลี่ยนแปลงของโลก ทุกวันนี้มีวิศวะเกิดขึ้นหลายแขนง
เพราะฉะนั้นทักษะพื้นฐานอย่างคณิต วิทย์อาจไม่เพียงพอ เราต้องมีทักษะหลากหลายที่รอบรู้ เช่น วิศวะโยธา ที่ทำเกี่ยวกับโครงสร้าง ปัจจุบันก็มีการใช้ AI เข้ามาแล้ว เราก็ต้องมีทักษะในด้านนี้เพิ่มเข้ามาด้วย
การสอบสัมภาษณ์เป็นอีกด่านที่สำคัญ โดยเฉพาะในรอบ Portfolio ที่อาจมีการคิดคะแนนในส่วนของการสอบสัมภาษณ์เข้าไปด้วย หลัก ๆ การสัมภาษณ์ก็จะดูจากบุคลิกภาพ ความสามารถ ความรู้พื้นฐานวิศวกรรม รวมถึงทักษะ Soft Skill ความรอบรู้ ที่สำคัญไม่แพ้ไปกว่าความรู้วิชาการ
โดยส่วนใหญ่การสัมภาษณ์แต่ละมหาวิทยาลัยก็จะเป็นอาจารย์วิศวะ ที่ทำงานมาเกือบ 30 – 40 ปี การตอบคำถามต่าง ๆ ของเรา อาจารย์ก็จะดูรู้ว่าเราพร้อมและเหมาะที่จะเรียนวิศวกรรมหรือไม่ เพราะฉะนั้นการเตรียมพร้อมสำคัญมาก ต้องแสดงให้เห็นว่าเรามีความพร้อม ความมั่นใจ และมีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริง