Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา
Education > TCAS > บทความ
Portfolio นิเทศศาสตร์ ยื่นผลงานอะไรได้บ้าง

  Favorite

นิเทศศาสตร์ เป็นอีกหนึ่งคณะที่ Portfolio ของน้อง ๆ แต่ละคนจะจัดเต็มไอเดีย การออกแบบ ความคิดสร้างสรรค์ต่าง ๆ ของตัวเองลงไปอย่างเต็มที่ แต่หลักสำคัญในผลงานด้านนิเทศศาสตร์ นอกจากการมีผลงานจริง ๆ แล้ว เราจะต้องแสดงถึงความเข้าใจ ความรักในวิชาชีพด้วย รวมถึงมีทักษะและความถนัดที่เหมาะสม แล้วผลงานด้านไหนล่ะที่ใช้ประกอบทำ Portfolio นิเทศศาสตร์ ได้บ้าง ไปดูกัน !

 

1. ผลงานด้านสื่อ

- ผลงานที่เกี่ยวกับการออกแบบและผลิตสื่อ ที่ได้รับการเผยแพร่สู่สาธารณะ สื่อออนไลน์ เช่น Youtube, Website หรือ ในสื่อต่าง ๆ โดยอธิบายถึงรายละเอียดผลงาน แนวคิดในการผลิตผลงานทั้งหมด

- ผลงานด้านการแสดง การทำหนังสั้น การเขียนบท ผลงานถ่ายภาพ เป็นต้น

 

2. ผลงานการแข่งขันทางวิชาการ หรือเวทีด้านการสื่อสารมวลชนแขนงต่าง ๆ 

- การแข่งขันกี่ยวกับการออกแบบและผลิตสื่อรูปแบบต่าง ๆ

- การแข่งขันด้านภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล

- ผลคะแนนสอบด้านภาษาอังกฤษ, ผลคะแนนสอบภาษาที่ 3

- การแข่งขันความรู้รอบตัว (เพราะสื่อต้องเป็นคนที่รอบรู้ และติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง 

 

3. ผลงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 

- การประกวดแข่งขันด้านทักษะที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร เช่น การอ่าน การพูด การเขียน 

- มีผลงานการเขียน เช่น บทความ สารคดี หนังสือ นิยาม นวนิยาย การ์ตูน บล๊อก เพจ ฯลฯ 

 

4. กิจกรรม

- กิจกรรมสะท้อนภาวะผู้นำ การเป็นตัวแทนนักเรียน ที่แสดงออกถึงบุคลิกภาพ และกล้าแสดงออก

- การทำจิตอาสา ทำกิจกรรมที่อุทิศตนเพื่อส่วนรวม

- กิจกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม

- กิจกรรมเข้าค่ายที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร

 

5. ความสามารถพิเศษ

- การใช้โปรแกรมตัดต่อ, โปรแกรม PHOTOSHOP หรือโปรแกรมอื่น ๆ
อธิบายถึง SKILL ทักษะต่าง ๆ ที่เราทำได้ อาจจะนำเสนอในรูปแบบวิดีโอ มีสแกน QR CODE ในแฟ้มสะสมผลงาน ให้เข้าไปดูผลงานต่อได้
หากน้อง ๆ คนไหนไม่มีใบประกาศนียบัตรด้านนิเทศ ก็สามารถสร้างผลงานในส่วนนี้ลงไปได้เลย จะเป็นตัวแสดงให้เห็นว่าเรามีทักษะในอีกด้านหนึ่ง โดยอาจจะเผยแพร่ลงบน Social เผื่อให้เกิดการเข้าถึงมากขึ้น

 

ข้อแนะนำ การทำผลงานด้านนิเทศศาสตร์

1. ผลงานต้องเป็นผลงานความสามารถของตัวเองจริง ๆ ไม่ใส่ข้อมูลเท็จ หรือนำผลงานผู้อื่นมาแอบอ้าง

2. ผลงานจะต้องไม่ขัดต่อหลักจริยธรรม กฎหมาย และจรรยาบรรณวิชาชีพ

3. ทักษะ ความสามารถต่าง ๆ ที่ใส่ประกอบผลงาน เราจะต้องทำได้จริง มีความสามารถจริง

4. บางมหาวิทยาลัย อาจมีกำหนดอายุผลงาน เช่น ย้อนหลังไม่เกิน 3 ปี ฉะนั้นควรใส่รายละเอียดให้กระชับ และตรงประเด็น

5. ควรมีผลงานครบถ้วน ตามรายละเอียดที่สาขาวิชากำหนด

 

น้อง ๆ ที่อยากเริ่มทำสื่อออนไลน์ มาดูไอเดียก่อนไปสร้างผลงานกัน

- Tips ทำ Vlog ยังไงให้น่าสนใจ ปังไปดาวอังคาร >>Click

- เล่นแอป TikTok ยังไงให้แจ้งเกิดเป็นไอดอลคนใหม่บนโลกโซเชียล >>Click  

- วัยรุ่นโปรดฟัง เล่นโซเชียลยังไงไม่ให้ทัวร์ลงจนต้องอัดคลิปขอโทษ >>Click

 

สร้าง Portfolio ให้เป๊ะ ปัง คลิกหาคำตอบกันได้เลย คู่มือ Portfolio >>Clic

Tags
Posted by
Plook TCAS
ข่าวค่ายและกิจกรรม
ข่าวรับตรงล่าสุด
Follow us