Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา
Education > TCAS > บทความ
[รีวิว] สาขาภาพยนตร์และดิจิทัล มีเดีย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ลาดกระบัง

  Favorite
ภาพยนตร์และดิจิทัล มีเดีย ลาดกระบัง

ผศ.สุวรรณณี สุรเชษฐคมสัน
พี่เนส-ธนินท์ บำรุงสิริ
พี่ฝ้าย-รุจวรี จีระเดชากุล

 

สาขาวิชาภาพยนตร์และดิจิทัล มีเดีย ภาควิชานิเทศศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

 

ทำไมถึงอยากเรียนภาพยนตร์ 

พี่เนส : ผมเป็นคนที่สงสัยว่าโฆษณาถ่ายยังไง เค้ามีอะไรเบื้องหลังเป็นแบบไหน ช่วงมัธยมก็จะมีวิชาที่ให้ถ่ายงานบ้าง ทำหนังสั้นบ้าง ในโฆษณาที่เราเห็นกัน น่าจะมีอะไรมากกว่านี้แน่ ๆ มากว่าที่เราทำมาในวิชา ก็เลยสนใจเรียนทางด้านนี้

พี่ฝ้าย : ชอบการดูภาพยนตร์มาก ที่บ้านจะมีแผ่นซีดีภาพยนตร์เยอะมาก เวลาว่างก็จะดูภาพยนตร์ ตอนอยู่มัธยม อยากเป็น beauty blogger ก็เลยอยากรู้ว่าเค้าเริ่มทำงานกันยังไง กว่าจะมีคลิปออกมาในแต่ละคลิป ศึกษาดูแล้ว มันคือ Production 

 

สาขานี้เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง 

ครูเอี้ยน ผศ.สุวรรณณี สุรเชษฐคมสัน : สาขานี้เป็นแขนงเกี่ยวกับภาพยนตร์ เด็ก ๆ ก็จะได้เรียนการถ่ายทำ การสร้างสรรค์ภาพยนตร์ อีกแขนงหนึ่งคือ Animation แล้วก็ Visual effects 

          ในยุคนี้เป็นยุค Digital Disruption ในขณะที่หลาย ๆ อาชีพ กลัวว่าอาชีพตัวเองจะหายไป แต่ว่าสาขานี้เป็นสาขาที่อยู่กับยุคดิจิทัล เป็นอาชีพที่สามารถทำงานกับยุคดิจิทัลได้หลากหลายรูปแบบมาก โดยเฉพาะภาพเคลื่อนไหว การใช้การเข้าถึงสื่อต่าง ๆ ของคนทั่วโลก ปัจจุบันนี้ไม่ได้ดูแค่ภาพนิ่งแล้ว เค้าอยากดูภาพเคลื่อนไหว อยากดูอะไรที่ขยับได้ แทนที่จะเป็นในรูปแบบคลิปสั้น ๆ เป็นวิดีโอ หรือว่าจะเป็นรูปแบบของ Infographic หรือว่าจะเป็นแอนิเมชั่น หรือว่างาน Visual effects งาน CG ต่าง ๆ รองรับทั้งหมดเลย

          สิ่งที่เราเรียนอยู่สามารถไปต่อยอดกับวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ อาชีพที่ทำได้ คือ ผู้กำกับ (Film Director), ทำหนังทำสื่อต่าง ๆ เป็นตากล้อง ช่างภาพ (Director of photography), คนตัดต่อ (Editor) Art Director, Production Designer, Animator, Colorist, Visual effects เป็นได้เยอะมาก ทุกโพรเซสของกระบวนการในการถ่ายทำ เพื่อให้ได้ภาพยนตร์ออกมา 1 ชิ้น ก็คือเด็กเราสามารถทำได้หมดทุกแขนงงาน 

 

การเรียนตลอดหลักสูตร

เรียนทั้งหมด 4 ปี เริ่มแรกเรียนพื้นฐานเหมือนกัน แล้วค่อยไปเลือกสายที่ตัวเองถนัด

ปี 1 เรียนเรื่องพื้นฐานศิลปะ  การวาดรูป การใช้สี การจัดองค์ประกอบที่สำคัญในศิลปะ 

ปี 2 จะเริ่มแบ่งสาย เป็น สาย Animation กับสาย Visual คือเป็นสาย  Production จะแยกเรียนกัน แต่ว่าจะมีบางวิชาที่เรียนด้วยกันคือ ตัดต่อ เทคนิคการถ่าย 

ปี 3 เรียนลงลึกไปแต่ละสาขาที่เราเลือก อย่างเช่น Production design งานออกแบบ แล้วถ้าเป็น  Animation จะเป็นการทำ 3D การทำคาแรคเตอร์ตัวละครที่ชัดเจนขึ้น Production เราจะมีทั้งทำ Business และ Produce

ปี 4 ลงลึกไปเลย ทำทีสิตของเรา ว่าเราจะทำอะไรเป็นงานจบในปีนี้ 

 

การสอบเข้า

ครูเอี้ยน : วิธีสอบเข้าที่นี่ เรารับแค่ 2 รอบ รอบแรก Portfolio รอบที่ 2 คือ สอบความถนัด Portfolio จะต้องเป็นผลงานที่ตรงกับหลักสูตร ภาพยนตร์และดิจิทัล มีเดีย ถ้าเคยทำงานหนังในห้องเรียน ในวิชาต่าง ๆ ก็ดี แต่เราต้องการมากกว่านั้น น้อง ๆ ควรจะต้องมีผลงานเฉพาะของตัวเอง ถ้าน้องมีหัวใจของคนทำหนัง น้องจะลุกขึ้นไปทำหนังเอง น้องจะจับกล้องแล้วชวนเพื่อนไปถ่ายทำ ตัดต่อและเผยแพร่ เราต้องการเห็น Passion ความลุ่มหลงในเรื่องนี้จริง ๆ ว่าน้องอยากจะมาเป็นคนทำหนัง เพราะฉะนั้นมันจะต้องมีผลงานส่วนตัวของตัวเอง ที่นอกเหนือจากวิชาในห้องเรียน 

พี่เนส : ผมสอบเข้ารอบแรก การทำ Portfolio ตอนแรกเราต้องดูกำหนดการที่ทางมหาวิทยาลัยประกาศออกมาก่อนว่า ใน Portfolio เราควรจะมีอะไรบ้าง เราจำเป็นต้องมีอะไรบ้าง จะมีข้อกำหนดไว้แล้ว คือการใส่งาน Painting งานศิลปะ งานใช้สีน้ำ สีที่ถนัด แล้วก็จะเป็นงานพวกภาพถ่าย งานหนังสั้น อะไรประมาณนี้

พี่ฝ้าย : การสอบในรอบที่ 2 นะคะ ก็จะยื่น Portfolio ด้วย และมีการสอบปฏิบัติ  ซึ่งเป็นการสอบ Drawing จะต้องมีความถนัดด้านนี้ด้วย ต้องมีความรู้เรื่องทฤษฎี เช่น การเขียนบทภาพยนตร์เบื้องต้น การเขียน Storyboard เบื้องต้น และก็ยังต้องสามารถปฏิบัติได้จริงด้วย 

          สำหรับน้อง ๆ ที่ยังไม่แน่ใจนะคะ ก็อยากให้รีบค้นหาตัวเอง ศึกษาให้ดีก่อนว่าเราต้องการอะไร เราอยากเรียนอะไร ถ้าเกิดว่าตอนนี้ยังหาไม่เจอ อาจจะต้องใช้เวลานิดหน่อย แต่ก็อย่าเพิ่งชะล่าใจเพราะว่ามีสิทธิ์เต็มได้นะคะที่นี่ 

          เชิญชวนน้อง ๆ นะคะ ให้มาเรียนที่ Film ลาดกระบัง บรรยากาศสนุกสนาน มีเพื่อนแล้วก็อาจารย์ที่น่ารักทุก ๆ คน อุปกรณ์ก็ครบครัน แม้ว่าเราจะมาตัวเปล่าแต่อาจารย์ก็พร้อมที่จะสอนให้เราค่ะ

 

ค่าเทอม

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
จํานวนเงิน 22,000  บาท / ภาคการศึกษา

 

ข้อมูลหลักสูตร

ชื่อภาษาไทย : หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาพยนตร์และดิจิทัล มีเดีย

ชื่อภาษาอังกฤษ : Bachelor of Fine and Applied Arts Program in Film and Digital Media

ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ศป.บ. (ภาพยนตร์และดิจิทัล มีเดีย)

ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.F.A. (Film and Digital Media)
 

รูปแบบ และโครงสร้างของหลักสูตร

หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี  จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร  126 หน่วยกิต
https://www.arch.kmitl.ac.th/communication-art/b-film/

 

ดาวน์โหลดข้อมูลหลักสูตร

https://www.reg.kmitl.ac.th/curriculum/file/bachelor/02/film_c2564.pdf
 

รายการ I am ฉัน(จะ)เป็น

อาชีพที่ใช่จะเป็นอย่างไร ไปดู ไปรู้ ไปเห็น เส้นทางการเลือกคณะกับผู้เชี่ยวชาญ
Film Director ผู้กำกับภาพยนตร์ 
Fashion Photographer ช่างภาพแฟชั่น
TV Commercial Director ผู้กำกับภาพยนตร์โฆษณา
Creative ครีเอทีฟโฆษณา
Graphic Designer นักออกแบบกราฟฟิก

 

รู้จักอาชีพแบบเจาะลึกจาก Plook explorer

ผู้กํากับภาพยนตร์
ผู้กำกับศิลป์
ครีเอทีฟโฆษณา
ช่างภาพ
นักออกแบบกราฟิก
 

Tags
Posted by
Plook TCAS
ข่าวค่ายและกิจกรรม
ข่าวรับตรงล่าสุด
Follow us