อ.ดร.กฤษฎา เล่งเวหาสถิตย์
พี่อัง-นวษา ใจมา
พี่เฟิร์ส-รติชา สอนศรี
สาขาวิชาวิศวกรรมด้านความปลอดภัยและการพิสูจน์หลักฐานทางคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นสาขาน้องใหม่ และเปิดเป็นที่แรกของประเทศไทย เพิ่งเปิดรับนักศึกษาในปี 2562
พี่อัง : สนใจด้านวิศวะคอมพิวเตอร์อยู่แล้ว เลยหาข้อมูลมาเรื่อย ๆ จนเจอสาขานี้ น่าสนใจมาก ที่บ้านก็สนับสนุน ก็เลยเข้ามาเรียน
พี่เฟิร์ส : ตอนอยู่ ม. 5 เคยเรียนเขียนเว็บเพจ เขียนโค้ดอะไรประมาณนี้ ตอนนั้นที่เรียนมันสนุกมาก พอจบมาแล้วเจอสาขานี้เปิดพอดี ก็เลยเข้ามาเรียน
สาขานี้เรียกสั้น ๆ ว่า Cyber Security เรียนเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลทางไซเบอร์ การจัดการความปลอดภัยและการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์และคอมพิวเตอร์ทุกรูปแบบ รวมทั้งการสืบค้นหาหลักฐานในระบบอิเล็กทรอนิกส์
แบ่งวิชาเอกหรือแขนงวิชาออกเป็น 2 แขนงด้วยกัน คือ
1. วิชาเอก Computer Security
2. วิชาเอก Forensic Computing
วิศวกรรมความปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์และการพิสูจน์หลักฐาน เป็นหลักสูตรนานาชาติ ระดับปริญญาตรี 4 ปี โดยมีการกำหนดให้มีการเรียนในประเทศไทย จำนวน 2 ปี และเรียนที่ DMU ประเทศอังกฤษในชั้นปีที่ 3 – 4 ตามความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒและมหาวิทยาลัยเดอ มอนต์ฟอร์ต (De Montfort University) ประเทศอังกฤษ ซึ่งตลอดการศึกษาน้อง ๆ ต้องใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารตลอดการเรียนการสอนจนจบการศึกษา
ดร. กฤษฎา เล่งเวหาสถิตย์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมด้านความปลอดภัยและการพิสูจน์หลักฐานทางคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ภัยทางไซเบอร์ระดับส่วนบุคคล ก็อาจจะเป็นเรื่องของการขโมยข้อมูล Sensitive information ที่เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลทางสุขภาพ หรือแม้กระทั่งการขโมยข้อมูลทางอัตลักษณ์ของคนไป สำหรับระดับองค์กร ก็จะเป็นเรื่องของการเข้ามาเจาะระบบ เพื่อที่จะขโมยข้อมูล บิดเบือนข้อมูล หรือทำลายข้อมูล ที่สำคัญในองค์กร รวมถึงเข้ามาเข้ารหัสข้อมูลเพื่อที่จะ ทำให้องค์กรไม่สามารถเข้าถึงองค์กรนั้นได้ ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลในไทยหรือในต่างประเทศ หรือแม้กระทั่งตาโรงเรียน, มหาวิทยาลัยต่าง ๆ หรือกระทั่งการที่เค้าจะเข้ามาเพื่อทำให้ระบบการทำงานใช้ไม่ได้ เป็นลักษณะที่เรียกว่า Denial of service จะทำให้ผู้ใช้คนอื่น ๆ เข้าระบบไม่ได้
ปี 1 เรียนพวก GE (General Education), Basic Science และวิชาพื้นฐานของวิศวะทั้งหมด
ปี 2 เรียนวิชาที่ลึกขึ้นไปอีก เช่น วิชา Digital Enterprise, Database algorithms รวมถึง Computer architecture ด้วย
ปี 3 จะมีการเลือกเอกเพื่อแยกสายการทำงาน โดยที่เอกของเราจะมีให้เลือก 2 เอก คือ Cyber Security และ Digital Forensic หลังจากที่เราเลือกเอกแล้ว เราจะไปต่อปริญญาตรีใบที่ 2 ที่ De Montfort University ที่ประเทศอังกฤษ
ปี 4 ปีสุดท้ายแล้ว เราจะนำความรู้ทั้งหมดไปทำเป็นโปรเจคจบ
1. ทักษะภาษาอังกฤษ เพราะการเรียนตลอดหลักสูตรต้องใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารทั้งหมด
2. ความรู้และทักษะเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี
พี่อัง
พี่เฟิร์ส
พี่อัง : สำหรับ Portfolio ต้องเน้นกิจกรรมเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ให้อาจารย์เห็นว่าเราสนใจด้านนี้จริง ๆ
ปี 1 – 2 เรียนที่ประเทศไทย
- ภาคทฤษฎีที่ มศว.ประสานมิตร
- ภาคปฏิบัติที่ มศว. องครักษ์
- ค่าเทอม 80,000 บาท/เทอม
ปี 3 - 4 เรียนที่มหาวิทยาลัยเดอมอนต์ฟอร์ต ประเทศอังกฤษ (DMU)
- ค่าเทอมประมาณ 500,000 บาท/ปี
- ค่าใช้จ่ายส่วนตัวประมาณ 500,000 บาท ขึ้นอยู่กับค่าเงิน
เว็บไซต์มหาวิทยาลัย http://inter.eng.swu.ac.th
วิศวกรรมด้านความปลอดภัยและการพิสูจน์หลักฐานทางคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรนานาชาติ) มศว แม้จะเป็นสาขาวิชาน้องใหม่แต่ก็มีความน่าสนใจไม่น้อย เหตุผลอย่างหนึ่งคือ ตอบโจทย์ความต้องการของสังคมในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารไร้พรมแดนเข้ามามีอิทธิพลในการใช้ชีวิตประจำวันของเราเป็นอย่างมาก น้อง ๆ ที่สนใจเรียนต่อในสาขาวิชานี้ก็ต้องเตรียมตัวให้พร้อม ทั้งการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ และความรู้ความสามารถเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งต้องใช้ในการเรียนอย่างแน่นอน และที่สำคัญต้องไม่ลืมที่จะศึกษารายละเอียดการรับสมัครเข้าศึกษาต่อของมหาวิทยาลัย วางแผนดีมีชัยไปกว่าครึ่ง ขอให้น้อง ๆ ได้เรียนในสิ่งที่รักและสิ่งที่เลือกนะครับ อนาคตที่ดีรออยู่
- ตำรวจด้านไอที
- นักตรวจสอบหลักฐานทางคอมพิวเตอร์
- ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยของไอที
- อาชีพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
อาชีพที่ขาดไม่ได้ในศตวรรษที่ 21 เมื่อข้อมูลของเราล้วนอยู่ในโลกออนไลน์ นั่นก็คือ “Cyber Security Professional”
รู้จักอาชีพแบบเจาะลึกจาก Plook explorer