เทรนให้สอบติด ติดให้ตรงเทรนด์ Step by Step ม. 4 - ม. 6 เด็ก ม.ปลาย เตรียมตัวอย่างไรให้สอบติด และพร้อมบุก TCAS ออกสตาร์ทพร้อมกันทุกระดับชั้น เตรียมตัวก่อน พร้อมก่อน วันนี้พี่นัทจะมาเทรนน้อง ๆ ให้สอบติด แต่จะติดอย่างไรให้ตรงเทรนด์ของโลกในศตวรรษที่ 21 มาว่ากันแบบ Step by Step ทีละขั้นแบบแยกชั้น ไม่ว่าจะอยู่ ม. 4 ม. 5 หรือ ม. 6 ก็ตาม เดินตามพี่มาเลยน้องงงง รับรอง...ติดชัวร์!
ทุกคนค้นหาตัวตน แต่ไม่ใช่ทุกคนที่ค้นพบตัวเอง การค้นหาต้องจบลงด้วยการค้นพบ ยิ่งรู้จักตัวเองเร็วเท่าไหร่ ยิ่งวางแผนการศึกษาได้คมชัดมากขึ้นเท่านั้น และ ม.5 คำตอบต้องมา โครงร่างตัวตนต้องเริ่มชัดแล้ว โดยไม่ใช่รู้แค่ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร ต้องการอะไร ไม่ต้องการอะไร แต่ต้องรู้ทันการเปลี่ยนแปลงของตัวเองและสามารถประเมินศักยภาพ จุดอ่อน จุดแข็ง ของตนได้
เกรด ม. 5 คือครึ่งทางของ GPAX ม.ปลาย แล้ว โดยเกรดในระบบ TCAS จะทำงาน 2 แบบ คือ ใช้เป็นค่าน้ำหนัก นำไปคำนวณตามสัดส่วนของแต่ละสาขา เพื่อแปรผลเป็นคะแนน และใช้เป็นคะแนนขั้นต่ำ คือ คะแนนที่ได้ต้องถึงเกณฑ์ที่สาขากำหนด ถ้าไม่ถึงถือว่าขาดคุณสมบัติ ทั้งเกรดเฉลี่ยรวม (GPAX) และ เกรดเฉลี่ยรายวิชา (GPA) ดังนั้นถ้าเกรดพังต้องรีบอัป ตั้งใจเรียนและอ่านหนังสือดึงเกรดให้สูงขึ้น แม้เกรดจะไม่ใช่ตัวชี้วัดความสำเร็จของเรา แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า เกรดก็สำคัญสำหรับการสอบเข้ามหาวิทยาลัย
ม. 5 มีอดีตคือ ม. 4 และมีอนาคตคือ ม. 6 ในขณะที่เรากำลังเรียนเนื้อหาของ ม. 5 เราก็อาจส่งคืนเนื้อหา ม. 4 กลับไปให้อาจารย์แล้ว และถ้าปล่อยให้ถึง ม. 6 เวลาที่จำกัดและบีบคั้น แต่ต้องมาอ่านย้อนอดีตทั้ง ม. 4 และ ม. 5 คงจะปั่นป่วนไม่น้อย ดังนั้นการจะอ่านหนังสือให้ได้ผลคือ ต้องย้อนไปถึงอดีต (จัดเวลาอ่านหนังสือของ ม. 4) และล่วงหน้าไปถึงอนาคต (อ่านของ ม. 6 ไปล่วงหน้าก่อนที่จะเรียน) ถ้าใครทำได้แบบนี้ รับรองคลังความรู้ในสมองแน่นแน่นอน
ช่วง ม. 4 เราได้ลองหว่านทำกิจกรรมไปเรื่อย พอ ม. 5 ต้องยกระดับขึ้นมานิดนึง ต้องรู้จักเลือกกิจกรรมที่ทำแล้วส่งเสริมทักษะ ความสามารถ และสร้างแต้มต่อในการเข้ามหาวิทยาลัย สังเกตจากผลงานและบทบาทของตัวเองตอนทำกิจกรรม กิจกรรมไหนที่ทำแล้วสามารถแสดงความโดดเด่นออกมาได้ชัดเจนที่สุด เลือกกิจกรรมแนวนั้นมาพัฒนาต่อ โฟกัสกับกิจกรรมที่ใช่ที่สุด เอาที่ทำแล้วปัง มงลงตรงหัวเป๊ะ สร้างเป็นผลงานเพื่อพัฒนาต่อเป็น Portfolio
Portfolio (แฟ้มสะสมผลงาน) คือ เอกสารที่แสดงตัวตน ความรู้ ความสามารถ ทักษะ การเข้าร่วมกิจกรรม ตลอดจนรางวัลที่ได้รับ ที่สะสมมาในอดีต (3 – 4 ปี) ที่มีความสอดคล้องกับสาขาวิชาที่สมัคร ใช้เป็นเครื่องมือแข่งขันหลักในรอบที่ 1 และอาจใช้ประกอบบ้างในรอบอื่น เพื่อประกอบการพิจารณา หรืออาจหมายถึงผลงานที่สร้างตามโจทย์ที่สาขากำหนด (โจทย์เปลี่ยนทุกปี) สำหรับพอร์ตแบบแรก ถ้าน้อง ๆ มารอทำในช่วง ม. 6 บอกเลยว่า ไม่ทัน! ไหนจะไปค่าย แข่งขัน สร้างผลงาน เราไม่สามารถบังคับกิจกรรมเหล่านี้ให้เปิดเวทีในเวลาที่เราต้องการทำพอร์ตได้ ต้องสะสมไม่ใช่นึกจะทำก็ทำได้ทันที
เรียนพิเศษกลายเป็นตัวช่วยหลักของน้อง ๆ แต่หลายคนพบปัญหา เรียนแน่น แต่เกรดก็ยังเน่า ไม่เข้าใจอยู่ดี ดังนั้นการเรียนพิเศษจึงไม่ใช่สักแต่ว่าเรียน ๆ ไปให้มั่นใจ แต่อาจไม่ได้เข้าใจ ต้องเลือกเรียนอย่างพอดีและมีเหตุมีผล เช่น อาจจะเลือก “เรียนซ่อม” วิชาที่อ่อน “เรียนสร้าง” ในวิชาที่ยังไม่เคยเรียน อยากเรียนล่วงหน้า หรือ “เรียนเสริม” วิชาที่เก่ง เพื่อโกยคะแนนส่วนนี้ให้ชัวร์ที่สุด จะได้รู้ว่าเรียนไปเพื่ออะไร หรือควรเลือกเรียนวิชาไหน อย่าลืมว่า ในการทำข้อสอบ ไม่เกี่ยวกับว่า เราเรียนอะไรมามากแค่ไหน แต่มันขึ้นอยู่กับว่า เราเข้าใจและจดจำสิ่งที่เรียนมา ได้มากน้อยเพียงใดต่างหาก
กิจกรรมค่ายค้นหาตัวตน ค่ายแนะนำคณะสาขาต่าง ๆ เพื่อเปิดประสบการณ์ ว่าตัวตนของเราสอดคล้องกับคณะนั้นหรือไม่ ถ้าใช่เราจะได้สัมผัสความสุข แรงบันดาลใจ แรงผลักดันให้อยากศึกษา และแรงขับเคลื่อนให้อยากทำงานด้านนี้ เป็นการทดสอบให้ได้คำตอบว่า ที่เคยคิดว่าใช่ มันใช่แน่ ๆ หรือแค่...คิดไปเองว่าใช่ ถ้ายังไม่มั่นใจ อาจตระเวนให้หลายค่าย หลากสถาบัน อย่าหมกตัวเองไว้กับความฝันเงียบ ๆ ความฝันที่ผ่านการทดสอบอย่างเข้มข้นแล้วต่างหาก ถึงจะเป็นความฝันที่แท้จริง
การตั้งเป้าคะแนนเหมือนกับเรือที่ต้องมีหางเสือกำหนดทิศทางไว้ จะได้ไม่เดินทางอย่างไรเป้าหมาย คะแนนแบ่งเป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ คือ คะแนนจากข้อสอบกลาง และข้อสอบอื่น ๆ เช่น วิชาเฉพาะในบางสาขา คะแนนวัดความสามารถทางภาษา เช่น TOEFL, IELTS, CU-TEP, SAT หรือภาษาที่สาม HSK, NJLPT เป็นต้น เมื่อน้อง ๆ สนใจสาขาใด ก็เข้าไปตรวจสอบข้อมูลว่าใช้วิชาใดเป็นองค์ประกอบในการคัดเลือก จากนั้นก็ตั้งเป้าคะแนนว่าเราจะต้องทำแต่ละวิชาให้ได้เท่าไหร่ เพื่อมีสิทธิ์ลุ้นให้ติดในสาขานั้น แต่ถ้าสาขาเหล่านั้นไม่ได้แจ้งคะแนนต่ำสุดไว้ เราก็อาจจะตั้งเป้าจากค่าเฉลี่ยของการสอบแต่ในละปี
นอกจากข้อสอบกลางที่ใช้เข้าในระบบ TCAS ที่สอบได้เฉพาะน้อง ม. 6 แล้ว เด็ก ม.ปลาย ยังมีการสอบอื่น ๆ เช่น การสอบ BMAT สำหรับคนที่จะเข้าแพทยศาสตร์อินเตอร์ หรือข้อสอบวัดความถนัดทางภาษา เช่น SAT, TOEFL, CU-TEP ฯลฯ ที่สำคัญข้อสอบวัดความถนัดทางภาษาเหล่านี้ ในปีหนึ่งจะเปิดสอบหลายรอบ ดังนั้นน้องควรฝึกลองสนามจริงได้เลย ถ้าคะแนนยังไม่พอใจ ก็สอบใหม่ได้หลายครั้งจนกว่าจะพอใจ และเลือกใช้คะแนนที่ดีที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่คะแนนจะมีอายุ 2 ปี ถ้าสอบตั้งแต่อยู่ ม. 5 ก็ทันใช้งานในการเข้ามหาวิทยาลัยพอดี
รวบรวมข้อมูล ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ ที่จะเป็นตัวช่วยให้การตัดสินใจในช่วงเวลานี้ เป็นไปอย่างรอบคอบ >>Click
ทำอย่างไรให้ Port เป๊ะ ติดปัง ดั่งใจ คลิกหาคำตอบกันได้เลย >>Click
รู้จักแหล่งทุนการศึกษา วางแผน เลือกทุนที่เหมาะสม สิทธิและโอกาสด้านทุนการศึกษา >>Click
คณะในฝัน สาขาที่ใช่ มหาวิทยาลัยที่ชอบ มีบรรยากาศการเรียนอย่างไร หลักสูตรตรงกับความต้องการของเราไหม รวบรีวิวการเรียนการสอนมาให้แล้ว แชร์ประสบการณ์ตรงจากเหล่าอาจารย์ ศิษย์เก่า และรุ่นพี่ เจาะลึกหลักสูตรสาขาวิชา ทุกกลุ่มคณะ ให้น้อง ๆ ได้ศึกษา เป็นตัวช่วยในการตัดสินใจเรียน >>คลิกที่นี่
รู้จักอาชีพ เจาะลึกแนวทางการทำงาน ค้นหาตัวเอง >>คลิกที่นี่
ทรูปลูกปัญญา แอปพลิเคชั่น ช่วยเคลียร์ชีวิตวัยเรียนยาก ๆ ให้กลายเป็นเรื่องง่ายได้สบาย
ใช้ฟรี ไม่เสียค่าเน็ต เมื่อใช้งานผ่านทรูมูฟ เอช
App Store: https://apple.co/2KCXYFT
Google Play: https://bit.ly/2UT0RDy
3 ช่องทางการติดตาม
Facebook Fanpage Plook TCAS
ชอบไลก์ ชอบแชร์ ชอบคอมเมนต์ เกาะทุกประเด็นของ TCAS รับตรง โควตา ข่าวค่าย เทคนิคการเรียน มาจอยกันใน เพจ Plook TCAS
Twitter @Plook TCAS
สายรีทวิต ชอบข่าวแบบเรียลไทม์ อัปเดตทุกข่าวสารของ TCAS ไม่อยากพลาด อย่ารอช้า Follow @PlookTCAS เลย
LINE @Plook TCAS
ช่องทางที่ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น อัพเดตข่าว TCAS รับตรง โควตา ไม่อยากพลาดข้อมูลข่าวสาร แอดเลย !! ID : @PlookTCAS