Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา
Education > TCAS > บทความ
วางแผนการติว เตรียมตัวสอบเข้า ม. 4

  Favorite

          จบ ม. 3 เรียนต่อ ม. 4 แน่นอนว่าน้อง ๆ ที่เลือกเส้นทางนี้ จะต้องมุ่งหน้าสู่มหาวิทยาลัยต่อไป แต่ก่อนเข้า ม. 4 ก็ต้องผ่านด่านการทดสอบ การสอบเข้าต่าง ๆ เลือกแผนการเรียน เลือกวิชาที่ถนัด เลือกเส้นทางที่พาเราไปสู่คณะในฝัน มาวางแผนการติว พิชิตข้อสอบ เตรียมตัวสอบเข้า ม. 4 โรงเรียนดัง ไม่ว่าจะเป็น โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย  โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ และโรงเรียนอื่น ๆ

          เนื้อหาการสอบเข้า ม. 4 มี 5 วิชาหลัก คือ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม การอ่านหนังสือให้ได้ประสิทธิภาพ ต้องมีแผนกันสักหน่อย อย่างเช่น การจัดตารางติว และอย่าลืมอ่านเคล็ดลับดี ๆ ที่จะช่วยในการสอบ พร้อมแล้ว ไปลุยกันเลย!

เริ่มเข้าสู่บทเรียน... คลิกเลือกวิชา

    คลิกที่นี่ : ภาษาไทย

    คลิกที่นี่ : ภาษาอังกฤษ

    คลิกที่นี่ : วิทยาศาสตร์

    คลิกที่นี่ : คณิตศาสตร์

    คลิกที่ี่นี่ : สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 

 

จัดตารางติวให้ตัวเอง

จัดตารางอ่านหนังสือ วันไหนอ่านอะไรบ้าง เลือกช่วงเวลาที่ตัวสะดวก บางคนชอบอ่านตอนเช้า บางคนชอบอ่านกลางคืน ติววันละวิชา วิชาละ 1 เรื่อง ใช้เวลาติววิชาละ 2 - 3 ชั่วโมง 

ตัวอย่างการจัดตารางติว จัดตามที่ตัวเองถนัดและคิดว่าทำได้จริง วางแพลนเลย เหลือเวลาอีกเท่าไหร่ เราจะใช้เวลาเท่าไหร่ ในการเก็บทุกวิชาให้ครบ

 

เทคนิคการอ่านหนังสือ ทำวนไปให้ครบ

ตีโจทย์วิชาต่าง ๆ ให้แตกละเอียด ท่องสูตร ท่องศัพท์ จับเรื่องสำคัญทำโน้ตย่อ พร้อมที่จะลงสนามจริง

อ่านรอบที่ 1 Scan 

อ่านอย่างสำรวจ ตรวจรายละเอียด เป็นขั้นตอนแรกของการอ่านหนังสือ อ่านแบบกวาดสายตา เพื่อโกยเนื้อหาให้เป็นก้อนข้อความ ไฮไลท์  Key Word สูตร ชื่อเฉพาะ ออกสอบบ่อย

อ่านรอบที่ 2 Screen

อ่านอย่างกลั่นกรอง คัดเลือกประเด็นสำคัญ แล้วทำ “โน้ตย่อ” ดึงสาระสำคัญมาเขียนด้วยภาษาของเรา การอ่านหนังสือที่มีประสิทธิภาพต้องผ่านการจดด้วยมือ เพราะในขณะจด สมองต้องควบคุมสั่งการว่าต้องเขียนอะไร สะกดอย่างไร เรียบเรียงแบบไหนให้เข้าใจง่ายที่สุด กระบวนการทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นการอ่านอย่างหนึ่ง เป็นการทบทวนที่ดีมาก ความรู้จะค่อย ๆ แทรกตัวผ่านการเขียนเข้าไปในสมองโดยที่ไม่ทันตั้งตัว มารู้สึกตัวอีกทีก็จดจำเนื้อหาที่เขียนได้เกือบหมดแล้ว

อย่าลืมการทำโจทย์ จับเวลา

การฝึกทำข้อสอบบ่อย ๆ เปรียบเสมือนการทบทวนเนื้อหาไปในตัว แม้ว่าเราจะอ่านและสรุปเนื้อหาที่ออกสอบมาอย่างดีแล้ว ก็ไม่ได้แปลว่าเนื้อหาทั้งหมดจะมีในข้อสอบ การฝึกทำข้อสอบจะทำให้เห็นชัดมากขึ้นว่า เนื้อหาส่วนใหญ่ออกลักษณะไหน ข้อสอบถามอย่างไร มีตัวเลือกอย่างไร แนวข้อสอบเป็นแบบไหน การฝึกบ่อย ๆ และรู้แนวคำตอบ ทำให้สามารถทำข้อสอบได้อย่างรวดเร็ว และเพิ่มโอกาสได้คะแนนสูงขึ้น

หากมีเวลา.. ติวกับกลุ่มเพื่อน

ใครติวคนเดียวจำแม่นกว่าก็ลุยคนเดียวไปโลด แต่ใครมีเพื่อนช่วยกันติว ก็บอกเลยว่าเป็นอีกวิธีที่ได้ผลสุด ๆ การช่วยกันติวนั้นมีประโยชน์มาก ติวให้เพื่อน เราจะจำได้แม่นยิ่งขึ้น และเพื่อนอาจจะช่วยเสริมในส่วนที่เราอ่อน 

 

เทคนิคการทำข้อสอบปรนัย

1. อ่านทำความเข้าใจคำถามอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะคำว่า ไม่ใช่  มากที่สุด  น้อยที่สุด
2. อ่านคำตอบที่เป็นตัวเลือกทั้งหมดทุกข้อ ก่อนตัดสินใจเลือกข้อที่เป็นคำตอบที่ถูกต้องมากที่สุดเพียงข้อเดียว
3. ไม่ควรใช้เวลานานกับคำถามข้อใดข้อหนึ่ง ถ้ายังคิดไม่ออก ควรเว้นไว้ก่อน แต่ต้องทำเครื่องหมายไว้เพื่อกลับมาทำ
4. ตรวจสอบเวลาและข้อสอบที่ทำ หากเวลาเหลือน้อย แต่ข้อสอบมีเยอะควรรีบทำให้เร็วขึ้น แต่ถ้าเวลาเหลือเยอะ ควรใช้เวลาที่เหลือพิจารณาข้อสอบที่ค่อนข้างยากอีกครั้ง
5. หากต้องตอบคำถามข้อที่ไม่แน่ใจ ควรตัดตัวเลือกที่เห็นว่า ไม่ถูกออกก่อน แล้วพิจารณาข้อที่เหลืออย่างรอบคอบ
6. ควรทำข้อสอบให้ครบทุกข้อ อย่าให้ปล่อยกระดาษคำตอบว่างไว้ ทำไม่ได้ คิดไม่ทัน เมื่อใกล้หมดเวลาก็ให้กาคำตอบให้ครบ ถึงแม้จะเป็นการเดาข้อสอบก็ควรทำ
7. คำถามที่จำเป็นต้องมีการคิดคำนวณ สามารถคิดคำนวณ และทดเลขลงในกระดาษคำตอบของแบบทดสอบได้ 

 

เทคนิคการทำข้อสอบอัตนัย

1. เริ่มต้นด้วยประโยคที่เป็นคำตอบที่ตรง และถูกที่สุด ตอบคำถามด้วยคำตอบที่ถูกต้องที่สุดก่อน
2. ตอบในย่อหน้าแรก ด้วยคำตอบที่ถูกต้องที่สุด ในย่อหน้าแรกในการตอบคำถาม ให้เสนอเหตุผลที่สำคัญที่สุด
3. การตอบในย่อหน้าต่อมา เป็นเหตุผลรอง คำตอบในย่อหน้าต่อมา ต้องเป็นเหตุผลรอง และขยายย่อหน้าแรกให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
4. ย่อหน้าต่อมา เป็นเนื้อหาย่อย ๆ ควรอธิบายเนื้อหาย่อยอื่น ๆ ในย่อหน้าถัดมาให้ละเอียดยิ่งขึ้น
5. ควรมีตัวอย่าง ประกอบเหตุผล หาตัวอย่างมาประกอบการตอบคำถาม เพื่อความชัดเจนของคำตอบยิ่งขึ้น
6. ให้ข้อคิด หรือการวิเคราะห์ของตัวเองเสริม ควรมีข้อคิด หรือวิเคราะห์เนื้อหาเสริมเข้าไปในคำตอบด้วย

 

Tags
Posted by
Plook TCAS
ข่าวค่ายและกิจกรรม
ข่าวรับตรงล่าสุด
Follow us