“วิศวกรรมการบินและอวกาศ” เป็นหนึ่งในสาขาวิชายอดฮิตของคณะวิศวกรรมศาสตร์ หรือคณะที่เปิดสอนหลักสูตรด้านการบิน สาขาวิชานี้มีดียังไง เรียนจบแล้วลุยต่ออาชีพไหนได้บ้าง ใครที่เหมาะจะเรียนด้านนี้ มาหาคำตอบกันเลย
ศึกษาและทำงานเกี่ยวกับโครงสร้างการบิน เครื่องยนต์ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการบินทั้งหมด เช่น ระบบการขับเคลื่อนการบิน การผลิตโครงสร้างอุปกรณ์การบิน วางแผนการสร้างอุปกรณ์การบินทุกรูปแบบ รวมถึงระบบการขนส่งการบินไปอวกาศ เป็นสาขาที่น่าสนใจและเสี่ยงพอสมควร ทำให้ค่าตอบแทนรายได้ค่อนข้างสูง เรียนจบด้านนี้สามารถเข้าทำงานได้ในสายอาชีพ “วิศวกรด้านอากาศยาน, ช่างซ่อมบำรุงอากาศยาน” เป็นต้น
- วิศวกรการบินและอวกาศ
- วิศวกรโครงสร้างอากาศยาน
- วิศวกรด้านการจัดการธุรกิจการขนส่งทางอากาศ
- วิศวกรออกแบบและสร้างอากาศยาน เครื่องยนต์เจ็ท ดาวเทียม
- วิศวกรฝ่ายวางแผนการซ่อมบำรุงอากาศยานและชิ้นส่วนประกอบ
- วิศวกรควบคุมวงโคจรและสถานีดาวเทียม
- วิศวกรออกแบบวิเคราะห์ทางวิศวกรรมโครงสร้างและอากาศพลศาสตร์
- วิศวกรโครงการ
- วิศวกรเครื่องจักรใหญ่
- เจ้าหน้าที่ด้านจราจรทางอากาศ
- เจ้าหน้าที่ด้านการบริหารการจัดการอุตสาหกรรมและธุรกิจการบินและอวกาศ
- เจ้าหน้าที่ด้านควบคุมมาตรฐานการเดินอากาศ
คนที่สนใจเกี่ยวกับเครื่องบิน ระบบการบินต่าง ๆ และสนใจเรื่องโครงสร้างเกี่ยวกับการสร้างอุปกรณ์การบินด้วย สนใจเรื่องเครื่องกลและเทคโนโลยี ที่สำคัญต้องมีความกล้าและท้าทาย ไหวพริบต้องดี มีทักษะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า มีความรับผิดชอบ มีความรอบคอบ และต้องถนัดในวิชาคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ และภาษาอังกฤษ
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
- โรงเรียนนายเรืออากาศ
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง