เกณฑ์การคัดเลือกในการเข้ามหาวิทยาลัย นอกจากคะแนนต่าง ๆ แล้ว ที่สำคัญอีกอย่างคือเรื่องสุขภาพ วันนี้จะรวบรวมข้อมูล คณะที่กำหนดคุณสมบัติด้านสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็น โรคต่าง ๆ ค่าสายตา น้ำหนัก ส่วนสูง เป็นต้น
คุณสมบัติด้านสุขภาพ จาก กสพท (กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย)
ต้องมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง และปราศจากโรค อาการของโรค หรือความพิการอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบอาชีพเวชกรรม ดังต่อไปนี้
- ปัญหาทางจิตเวชขั้นรุนแรงอาจเป็นอันตรายต่อตนเอง และ/หรือผู้อื่น เช่น โรคจิต โรคอารมณ์ผิดปกติ บุคลิกภาพผิดปกติ ชนิด antisocial personality disorders หรือ borderline personality disorders รวมถึงปัญหาทางจิตเวชอื่น ๆ อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
- โรคติดต่อในระยะติดต่ออันตราย ที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเอง ต่อผู้ป่วย หรือส่งผลให้เกิดความพิการอย่างถาวร อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และ และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
- โรคไม่ติดต่อหรือภาวะอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา ที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเอง ต่อผู้ป่วย และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
- ความพิการทางร่างกาย อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
- ความผิดปกติในการในได้ยินทั้งสองข้าง โดยมีระดับการได้ยินเฉลี่ยที่ความถี่ 500-2,000 เฮิรตซ์ สูงกว่า 40 เดซิเบล และความสามารถในการแยกแยะคำพูด น้อยกว่าร้อยละ 70 จากความผิดปกติของประสาทและเซลล์ประสาทการได้ยิน อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
- ความผิดปกติในการเห็นภาพ และคณะกรรมการแพทย์ผุ้ตรวจร่างกายของสถาบันนั้น ๆ เห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม โดยมีระดับการมองเห็นในตาข้างดี เมื่อแก้ไขด้วยแว่นสายตาแล้ว แย่กว่า 6/12 หรือ 20/40
- มีภาวะตาพร่องสีทุกสี อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
- โรคหรือความพิการอื่น ๆ ซึ่งมิได้ระบุไว้ และคณะกรรมการแพทย์ผุ้ตรวจร่างกายของสถาบันนั้น ๆ เห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
คุณสมบัติโดยรวมจากหลายสถาบัน
- หญิงโสดหรือชายโสด
- มีอายุไม่ต่ำกว่า 16 ปีบริบูรณ์
- มีน้ำหนักตัวไม่น้อยกว่า 40 กิโลกรัม ความสูงไม่ต่ำกว่า 150 เซนติเมตร
ด้านสุขภาพ
มีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ไม่มีประวัติเป็นโรคประสาท และปราศจากโรคอาการของโรคหรือมีความพิการอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา ดังต่อไปนี้
- มีความพิการอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
- มีปัญหาทางจิตเวชขั้นรุนแรงอาจเป็นอันตรายต่อตนเอง และ/หรือผู้อื่น เช่น โรคจิต โรคอารมณ์ผิดปกติ บุคลิกภาพผิดปกติ ชนิด antisocial personality disorders หรือ borderline personality disorders รวมถึงปัญหาทางจิตเวชอื่น ๆ อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพการพยาบาล
- โรคติดต่อในระยะติดต่ออันตรายที่จะมีผลต่อผู้รับบริการหรือส่งผลให้เกิดความพิการอย่างถาวร อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
- โรคไม่ติดต่อหรือภาวะอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา เช่น
- โรคลมชักที่ยังไม่สามารถควบคุมได้ (โรคลมขักที่ไม่มีอาการชักมาแล้วอย่างน้อย 3 ปี โดยมีการรับรองจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ถือเป็นโรคลมชักที่ควบคุมได้)
- โรคหัวใจที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและการประกอบวิชาชีพการพยาบาล
- โรคความดันเลือดสูง
- โรคอ้วน (ค่า BMI > 30 ทั้งนี้ ถือเอามาตรฐานเครื่องชั่งและเครื่องวัดของสถาบันเป็นเกณฑ์ตัดสิน)
- ภาวะไตวายเรื้อรัง
- โรคเบาหวาน
- วัณโรคระยะไม่สงบ หรือโรคปอดเรื้อรังซึ่งอาจขัดขวางต่อการศึกษา
- ติดสารเสพติดให้โทษ
- ตาบอดแม้แต่ข้างเดียวหรือสายตาไม่ปกติ เมื่อรักษาโดยใช้แว่นสายตาแล้วยังมีสายตาต่ำกว่า 6/12 เมตร หรือ 20/40 ฟุต ตาบอดสีชนิดรุนแรงทั้ง 2 ข้าง โดยได้รับการจตรวจอย่างละเอียดแล้ว หรือมีความผิดปกติในการเห็นภาพ
- มีความผิดปกติในการในได้ยิน โดยมีระดับการได้ยินเฉลี่ยที่ความถี่ 500-2,000 เฮิรตซ์ สูงกว่า 40 เดซิเบล จากความผิดปกติทางประสาทและการได้ยิน ของหูข้างใดข้างหนึ่ง
- มีความพิการของนิ้วมือ แขน ขา โรคหรือความพิการอื่น ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
- เพศชายต้องมีส่วนสูง 165 หรือบางที่ 170 เซนติเมตร ขึ้นไป
- เพศหญิงควรมีความสูง 155 หรือบางที่ 160 เซนติเมตรขึ้นไป
- มีน้ำหนักสัมพันธ์กับส่วนสูง
- ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง หรือความพิการที่สถาบันเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและวิชาชีพ
ส่วนคณะอื่น ๆ ที่ไม่ได้ระบุคุณสมบัติด้านสุขภาพไว้อย่างชัดเจน ไม่ใช่ว่าจะไม่มีนะคะ แต่ละที่จะมีการตรวจสุขภาพก่อนเข้าศึกษาอยู่แล้ว เกณฑ์มาตรฐานในระดับทั่วไปของสุขภาพปกติ ไม่ได้เจาะจงลงลึกอย่างคณะข้างต้น ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง หรือความพิการที่สถาบันเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและวิชาชีพ