Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา
Education > TCAS > บทความ
พ่อแม่ควรรู้ ประเภทคะแนนสอบที่ลูกต้องใช้เข้ามหาวิทยาลัย

  Favorite

          พ่อแม่ยุคใหม่ ต้องเข้าใจและพร้อมเรียนรู้ไปกับลูก โดยเฉพาะการศึกษาถือเป็นความใส่ใจที่สำคัญ ครอบครัวส่วนใหญ่ใส่ใจเรื่องนี้กันดีอยู่แล้ว เพียงแต่ยังขาดการทำความเข้าใจเรื่องระบบ และคะแนนในการศึกษาต่อ เพื่อใช้แข่งขันเข้ามหาวิทยาลัย อย่ามัวปล่อยให้ลูกเรียนรู้และอยู่กับข้อมูลฝ่ายเดียว ถึงเวลาแล้วที่พ่อแม่จะหันมาทำความเข้าใจกับการสอบของเด็กยุคนี้ โดยเฉพาะประเภทคะแนนสอบที่ลูกต้องใช้เข้ามหาวิทยาลัย

 

ประเภทคะแนนสอบ ที่ลูกต้องใช้เข้ามหาวิทยาลัย

 

GPAX

          ผลการเรียนสะสม หรือเกรดเฉลี่ยสะสม (GPAX ) ไม่ใช่คะแนนสอบ แต่คือเกรดเฉลี่ยรวมทุกวิชาตลอดหลักสูตร ในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นคะแนนที่กำหนดใช้ในระบบ TCAS เช่น ใช้เป็นเกณฑ์คุณสมบัติขั้นต่ำของผู้สมัคร หรือ ใช้คำนวณเป็นคะแนนในการคัดเลือกใน TCAS แต่ละรอบ จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมถึงต้องกำชับให้ลูก ไม่ละเลยการรักษาเกรดในแต่ละเทอม

 

การใช้ GPAX ในแต่ละรอบ

รอบที่ 1 - 3  :  ใช้เกรดเฉลี่ย 5 เทอม (ม. 4, ม. 5 และ ม. 6 เทอม 1) เป็นเกณฑ์คุณสมบัติขั้นต่ำ หรือ ใช้คำนวณคะแนนในการคัดเลือก ตามแต่ละคณะ/มหาวิทยาลัยกำหนด

รอบที่ 4  :  ใช้เกรดเฉลี่ย 6 เทอม (ม. 4 - ม. 6) มาคำนวณคะแนนในการคัดเลือก ใช้ค่าน้ำหนักในรอบนี้ถึง 20 % คือ 6,000 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 30,000)

รอบที่ 5  :  ใช้เกรดเฉลี่ย 6 เทอม เป็นเกณฑ์คุณสมบัติขั้นต่ำ หรือ ใช้คำนวณคะแนนในการคัดเลือก ตามแต่ละคณะ/มหาวิทยาลัยกำหนด

 

O-NET

          O-NET เป็นการทดสอบเพื่อวัดความรู้ของนักเรียนรายบุคคล และใช้ประเมินคุณภาพการเรียนการสอนของโรงเรียน ซึ่งจะทำการสอบในตอนที่จบการศึกษาชั้น ป. 6, ม. 3 และ ม. 6 ความพิเศษคือ คะแนนสอบของช่วงชั้น ม. 6 ใช้เป็นองค์ประกอบในการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยอีกด้วย สามารถสอบได้ครั้งเดียวเท่านั้น (ต้องสอบในปีที่จบการศึกษา) และคะแนนใช้ได้ตลอดชีวิต

 

วิชาที่สอบ

          - มีทั้งหมด 5 วิชา (ภาษาไทย, สังคม, ภาษาอังกฤษ, คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์)

          - ต้องสอบให้ครบทั้ง 5 วิชา

การนำคะแนนไปใช้

          - รอบที่ 2, 3, 5  :  เกณฑ์คะแนน เป็นไปตามแต่ละมหาวิทยาลัยกำหนด

          - รอบที่ 4  :  ใช้คำนวณคะแนนในการคัดเลือก โดยให้ค่าน้ำหนัก O-NET ถึง 30 % หรือเท่ากับ 9,000 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 30,000)

อายุของคะแนน  :  ไม่มีหมดอายุ 

 

GAT / PAT

GAT  :  เป็นข้อสอบใช้วัดความถนัดทั่วไปของนักเรียนรายบุคคล

วิชาที่สอบ แบ่งเป็น 2 พาร์ท

          1. GAT เชื่อมโยง  :  ความสามารถในการอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์ และแก้โจทย์ปัญหา

          2. GAT ภาษาอังกฤษ  :  ความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ

การนำคะแนนไปใช้

          - รอบที่ 2  :  ใช้เป็นบางโครงการ แล้วแต่มหาวิทยาลัยกำหนด

          - รอบที่ 3  :  ใช้คะแนน GAT/PAT เป็นหลัก เกณฑ์คะแนน แล้วแต่มหาวิทยาลัยกำหนด

          - รอบที่ 4  :  ใช้ทุกคณะ/สาขา ค่าน้ำหนักคะแนน 10 - 50 % แล้วแต่คณะ/สาขากำหนด
 

PAT  :  ข้อสอบวัดความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ คือ การวัดความรู้พื้นฐานและศักยภาพที่จะเรียนในวิชาชีพนั้น ๆ ให้ประสบความสำเร็จ

วิชาสอบ มีทั้งหมด 7 วิชา

          1. PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์

          2. PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์

          3. PAT 3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์

          4. PAT 4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์

          5. PAT 5 ความถนัดทางวิชาชีพครู

          6. PAT 6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์

          7. PAT 7 ความถนัดทางภาษาต่างประเทศ (เลือกสอบได้ 1 ภาษา)

             - PAT 7.1 ภาษาฝรั่งเศส

             - PAT 7.2 ภาษาเยอรมัน

             - PAT 7.3 ภาษาญี่ปุ่น

             - PAT 7.4 ภาษาจีน

             - PAT 7.5 ภาษาอาหรับ

             - PAT 7.6 ภาษาบาลี

             - PAT 7.7 ภาษาเกาหลี

การนำคะแนนไปใช้

          - รอบที่ 2  :  มีใช้บางโครงการ เกณฑ์คะแนน แต่ละมหาวิทยาลัยเป็นผู้กำหนด

          - รอบที่ 3  :  ใช้คะแนน GAT/PAT เป็นหลัก ค่าน้ำหนักและวิชาที่ใช้ แล้วแต่มหาวิทยาลัยกำหนด

          - รอบที่ 4  :  ไม่ได้ใช้ทุกสาขา ค่าน้ำหนักคะแนนคือ 0 - 40 % แล้วแต่คณะ/สาขากำหนด

อายุของคะแนน  :  2 ปี 

 

9 วิชาสามัญ

          เป็นข้อสอบกลางที่จัดสอบโดย สทศ. เพื่อนำคะแนนไปใช้ในการรับตรงเข้ามหาวิทยาลัย 

วิชาที่สอบ 

          มีจำนวนทั้งหมด 9 วิชา (ภาษาไทย, สังคม, ภาษาอังกฤษ, คณิตศาสตร์ 1, ฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา, คณิตศาสตร์ 2 และวิทยาศาสตร์ทั่วไป )

          9 วิชาสามัญ สายวิทย์, สายศิลป์ สามารถเลือกสอบได้ทุกวิชา สทศ.กำหนดให้สอบได้สูงสุด 7 วิชา ไม่จำเป็นต้องสอบครบทั้งหมด เลือกสอบตามเกณฑ์การรับของแต่ละคณะ/มหาวิทยาลัย

การนำคะแนนไปใช้

          - รอบที่ 2  :  มีใช้บ้างบางโครงการ เกณฑ์คะแนน แต่ละมหาวิทยาลัยเป็นผู้กำหนด

          - รอบที่ 3  :  ใช้คะแนน 9 วิชาสามัญ เป็นหลัก ค่าน้ำหนักและวิชาที่ใช้ แล้วแต่มหาวิทยาลัยกำหนด

          - รอบที่ 4  :  ไม่ใช้คะแนน 9 วิชาสามัญ

          - รอบที่ 5  :  แต่ละมหาวิทยาลัยเป็นผู้กำหนด

อายุของคะแนน  :  1 ปี 

 

วิชาเฉพาะ

          ข้อสอบวิชาเฉพาะ คือการวัดความรู้ความสามารถเฉพาะสาขาวิชา

ตัวอย่างคะแนนสอบวิชาเฉพาะ

          คะแนนสอบ กสพท. (แพทย์ ทันตะ สัตวแพทย์ และเภสัช), ความถนัดทางรัฐศาสตร์, วิชาเฉพาะทางศิลปะ, วิชาเฉพาะทางดนตรี เป็นต้น ซึ่งเป็นวิชาเฉพาะที่มหาวิทยาลัยจัดสอบเอง เพื่อวัดความสามารถของผู้สมัคร

การนำคะแนนไปใช้

          ใช้ในรอบที่ 2, 3 มหาวิทยาลัยเป็นผู้กำหนดเอง

อายุของคะแนน  :  1 ปี 

 

คะแนนวัดความสามารถทางภาษา

          การสอบเพื่อวัดความสามารถทางภาษา คะแนนสอบที่ใช้ เช่น TOEIC, TOEFL , IELTS, CU-TEP, SAT หรือภาษาที่สาม HSK, NJLPT เป็นต้น สามารถใช้คะแนนส่วนนี้ ยื่นข้าในหลักสูตรนานาชาติได้

การนำคะแนนไปใช้

          รอบที่ 1, 2, 3 ใช้ยื่นในหลักสูตรนานาชาติ หรือหลักสูตรปกติ ที่ต้องการคะแนนวัดความรู้ทางภาษา มาพิจารณาในการคัดเลือก

อายุของคะแนน  :  ขึ้นอยู่กับแต่ละประเภท

 

Portfolio

          Portfolio ใช้ยื่นในรอบแรกของ TCAS เป็นการสมัครโดยยื่นพอร์ตอย่างเดียว รูปแบบข้อมูลที่ใส่ในพอร์ต แต่ละคณะ/มหาวิทยาลัย จะกำหนดคุณสมบัติและความต้องการของผลงานเอง ในรอบนี้ผลงานเยอะไม่ได้แปลว่าคะแนน Portfolio จะเยอะPortfolio ที่ดี ต้องตรงตามที่คณะ/มหาวิทยาลัยต้องการเท่านั้น

การนำคะแนนไปใช้

          - รอบที่ 1  :  ใช้คะแนน Portfolio 80 - 100 %

          - รอบที่ 2, 3, 5  :  มีแค่บางคณะที่ต้องการผลงานประกอบการพิจารณา เช่น คณะในสายศิลป์ ที่เรียนด้านศิลปะ

 

          ข้อมูลทั้งหมดนี้คือ การรวบรวมประเภทการสอบต่าง ๆ ที่เปิดให้เด็กที่อยากเข้ามหาวิทยาลัยในประเทศไทยต้องสอบ พี่ปลูกนำมาเสนอแบบสรุป เพื่อให้ผู้ปกครองทุกท่าน ได้ศึกษาและเข้าใจง่ายที่สุด จะเห็นว่าเด็กยุคนี้ต้องสอบเยอะไปหมด ซึ่งต้องเตรียมตัวและเตรียมข้อมูล ทำความเข้าใจการใช้คะแนนแต่ละประเภท ก่อนที่จะลงมือสมัครสอบ ซึ่งส่วนใหญ่เด็ก ๆ มักเข้าใจมากกว่าพ่อแม่ แต่คงจะดีไม่น้อย ถ้าพ่อแม่ยุคใหม่จะใส่ใจรายละเอียด และทำความเข้าใจไปพร้อมกับลูก เมื่อเกิดปัญหา และหากพ่อแม่มีความเข้าใจในข้อมูลอยู่แล้ว ก็ยิ่งสามารถเป็นที่พึ่ง และให้คำปรึกษาแก่ลูกได้

 

บทความที่เกี่ยวของ

เจาะลึก กสพท คืออะไร สอบอะไรบ้าง
สรุปการใช้ 9 วิชาสามัญ ของแต่ละคณะ ระบบ TCAS 
ม. 6 รู้ยังคะแนน O-NET สำคัญอย่างไร 
รวมข้อมูลเกี่ยวกับคะแนน ที่ใช้ในการเข้ามหาวิทยาลัย  
รวมคำพูดยอดฮิตของพ่อแม่ ที่จี้ใจลูก
คำถามจี้ใจ ที่เด็ก TCAS ไม่อยากได้ยิน
ลูกสอบไม่ติดมหาวิทยาลัย พ่อแม่ควรทำอย่างไร
ช่วยลูกอย่างไร ให้รอดในยุค TCAS
สิ่งที่พ่อแม่ควรทำ หลังรู้ผลคะแนนสอบของลูก
ลูกได้คะแนนน้อย พ่อแม่ควรให้กำลังใจอย่างไร
รวมข้อมูลแนะแนวอาชีพ เพื่อการตัดสินใจเรียนต่อ 
ทางออกของคนงบน้อย ที่อยากเรียนต่อมหาวิทยาลัย  
ค่าเทอม ม.เอกชน 9 แห่ง ที่เด็กอยากรู้มากที่สุด 
มารู้จักคะแนนที่ใช้ใน TCAS มีคะแนนอะไรบ้าง 

 

Tags
Posted by
Plook TCAS
ข่าวค่ายและกิจกรรม
ข่าวรับตรงล่าสุด
Follow us