ชีวิตเด็ก TCAS นอกจากต้องเตรียมตัวเองให้พร้อม กับการเกาะติดข่าวสารการเข้ามหาวิทยาลัย การตะลุยสอบ และการตั้งรับกับผลลัพธ์ทุกการประกาศผลสอบ ที่ถือเป็นความกดดันและหน้าที่อันยิ่งใหญ่ ที่ช่วงชีวิตในวัยนี้ต้องเจอแล้ว แต่ก็ยังไม่จบเท่านั้น ยังต้องรับมือกับกระแสต่าง ๆ ในสังคม คนรอบตัว ความคิดและคำพูดมากมาย ที่อาจสร้างผลกระทบทางจิตใจ และบั่นทอนกำลังใจ รวมทั้งเพิ่มความกดดันที่มีอยู่แล้ว ให้มากขึ้นไปอีก บางถ้อยคำก็แสนธรรมดา แต่จี้ใจเหลือเกิน คำถามที่เด็ก TCAS ได้ยินทีไรไม่สบายใจเอาเสียเลย มีอะไรบ้าง เช็คเลย!
- ได้คะแนนสอบเท่านี้เองเหรอ
- คิดว่าจะสอบติดไหม
- เรียนคณะนี้คิดดีแล้วเหรอ
- ทำไมไม่เรียนคณะนั้นล่ะ
- เลือกคณะนี้ จบมาจะทำงานอะไร
- เรียนไหวเหรอ คณะนี้ยากนะ ต้องเก่งถึงจะเรียนได้
- สอบติดที่ไหน
- ได้ที่เรียนแล้วยัง
- อ้าว! ยังสอบไม่ติดรอบนี้เหรอ
- สอบติด แล้วติดอันดับที่เท่าไหร่
- ไม่ได้ถูกคัดเป็นเด็กทุนเหรอ
- ติดมหาวิทยาลัยอะไรนะ ชื่อไม่คุ้นหูเลย มหาวิทยาลัยดังรึเปล่า
ทั้งหมดนี้เป็นแค่บางส่วนของคำถามยอดฮิตที่เด็ก TCAS ต้องเจอเท่านั้น ในความเป็นจริงแล้วยังมีอีกมากมายที่ต้องรับมือ ปัญหาสำคัญของคำถามเหล่านี้คือ เจตนาของผู้ถาม! ที่มีทั้งถามด้วยความห่วงใย และถามเพื่อนำไปพูดจาเปรียบเทียบต่อ ให้คนถูกถามรู้สึกแย่และเสียความมั่นใจ เพราะการเข้ามหาวิทยาลัยเป็นเรื่องที่น้อง ๆ หลายคนคาดหวังแต่ตั้งตารอว่า โอกาสของตัวเองจะมาถึงเมื่อไหร่ หลายคนพยายามอย่างเต็มที่แล้ว แต่ก็ยังสอบไม่ติด ก็พยามต่อเพื่อรอการประกาศผลในรอบใหม่ ยิ่งถูกถามยิ่งกดดัน เพราะหลายคนมองว่า เป็นเสมือนการจี้ที่ตรงจุด ก็ย่อมทำให้รู้สึกมากเป็นพิเศษ บอกเลยว่า ถ้าให้เลี่ยงก็คงยาก เพราะหลายคนคงพยายามแล้ว แต่คงห้ามคนถามไม่ได้
1. คิดในแง่บวกว่า อาจถามด้วยความเป็นห่วงก็ได้
2. ใจเย็น ๆ มีสติ อย่ารีบร้อนใช้อารมณ์
3. ตอบคำถามให้รวบรัดที่สุด
4. เบี่ยงประเด็นสนทนาไปเรื่องอื่น
5. ถ้าถูกถามด้วยเจตนาที่ไม่ดี อาจตอบกลับสั้น ๆ ว่า “ถ้าติดเมื่อไหร่ เดี๋ยวแจ้งเองนะคะ/นะครับ”
6. เมื่อไหร่ที่ถูกนำไปเปรียบเทียบ ให้ยิ้ิม แล้วหาทางเดินออกจากจุดนั้นแบบเนียน ๆ ไม่ต้องตอบโต้ให้เสียเวลา
7. ถ้าเจอคำถามตั้งแง่ กับสิ่งที่เลือกเรียน หรือมหาวิทยาลัยที่ติด อาจตอบว่า “สนใจคณะและมหาวิทยาลัยนี้ ปรึกษาครอบครัวแล้ว ที่บ้านโอเค”
8. ตอบคำถามด้วยความประนีประนอม
เมื่อไหร่ที่เจอคำถามเหล่านี้ ขอให้พิจารณาดูก่อนว่า เป็นคำถามที่มาจากความห่วงใยหรือเจตนาไม่ดี หากเป็นคำถามที่มาจากเจตนาดี แม้จะไม่อยากถูกถาม ก็ควรตอบกลับด้วยความสุภาพ แต่หากแน่ใจแล้วว่า คนถามไม่ได้ห่วงใยเราเท่าไหร่ ก็ควรตอบกลับด้วยสติเช่นเดิม แต่ตอบให้กระชับ จบบทสนทนาให้ไว เลี่ยงการพูดคุยที่ยืดเยื้อ ที่จะกระตุ้นอารมณ์และความรู้สึกของเราให้แย่ลงกว่าเดิม ที่สำคัญคือ หลังจากนั้น พยายามอย่าเก็บมาคิดมากเกินไป ให้มองเป็นเรื่องธรรมดาที่ต้องเจอในชีวิต เจอแล้วเดี๋ยวก็ผ่านไป จะทำให้เราสบายใจ และมีกำลังใจลุ้นผลสอบต่อไป
คำถามจี้ใจ ที่เด็ก ม. 6 ไม่อยากได้ยิน
คำถามที่ เด็กซิ่ว ต้องเจอ ตอนเปิดเทอมเข้ามหาวิทยาลัย
รวมบททดสอบ ที่ต้องเจอในชีวิตนักศึกษา
กิจกรรมรับน้อง ให้อะไรกับเฟรชชี่
รวมข้อมูลแนะแนวอาชีพ เพื่อการตัดสินใจเรียนต่อ
ทางออกของคนงบน้อย ที่อยากเรียนต่อมหาวิทยาลัย
ค่าเทอม ม.เอกชน 9 แห่ง ที่เด็กอยากรู้มากที่สุด
5 เรื่อง ต้องรู้ ! เกี่ยวกับคะแนนสอบเข้ามหาวิทยาลัย
รวมรีวิวการเรียนการสอน เจาะลึกหลักสูตรสาขาวิชา ทุกกลุ่มคณะ