“เด็กบางมด แต่หัวใจพี่ไม่มดนะคร้าบบ”
วันนี้พี่นัทจะพาน้อง ๆ ไปล้อมวงเมาท์ กับเรื่องเล่าในดงวิศวะ บางมด ผ่านประสบการณ์ของว่าที่บัณฑิตหนุ่มวิศวะ โยธา หนุ่มแว่น หน้าไม่ตี๋ ลีลาคูล ๆ พี่วิว-วิทวัส กลิ่นดี นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา (อินเตอร์) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ไปติดตามกันเลยว่า กว่าจะเป็นเด็กวิศวะ ได้นั้น มันต้องผ่านอะไรมาบ้าง จะโชกโชนหรือโชคช่วย ไปส่องกันเลยค่า
พี่ได้แรงบันดาลใจมาจากคุณลุงที่เป็นวิศวกรโยธา ตอนนั้นไปที่บ้านคุณลุงและไปเห็นโมเดลบ้านที่คุณ ลุงทำเอาไว้ และโมเดลนั้นนำมาทำเป็น Project จริง ๆ จึงทำให้ได้ทราบว่า ถ้าต้องการจะสร้างบ้านจริง ๆ จากโมเดล ต้องเรียนสายวิทยาศาสตร์ และไปเรียนต่อคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาโยธา ถึงจะสามารถทำบ้านแบบคุณลุงได้
พี่เรียนพิเศษตอนเย็นหลังเลิกเรียน ควบคู่ไปกับเน้นการทบทวนสิ่งที่เรียนไปแล้วในแต่ละวัน ว่าเราเรียนอะไรไปบ้าง คือพี่ทบทวนแบบวันต่อวัน !
ไม่มีเลย พี่จะเน้นทำข้อสอบเก่า PAT 1 กับ PAT 3 หัดทำโจทย์ย้อนหลังหลาย ๆ ปี
พี่ผ่านสนามสอบ 2 สนาม คือ O - NET และ GAT PAT สำหรับสนาม O-NET ต้องบอกก่อนว่า ตอนนั้นพี่ใช้วิชา GAT PAT สอบจนติดที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีแล้ว แต่ก็ไปสอบ O-NET ตามกฎกติกา ก็ต้องยอมรับว่า เป็นการสอบที่พี่ไม่ได้จริงจังมากเหมือนกับตอนสอบ GAT PAT แต่ถ้าให้เปรียบเทียบกัน พี่คิดว่าสอบ O -NET ไม่ยากเท่า GAT PAT จึงเตรียมตัวไม่นาน ส่วนการเตรียมตัวก็จะอ่านภาษาไทย และสังคม เพิ่มเติม เพราะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ พี่อัดไปเต็มที่แล้วตอนเตรียมสอบ GAT PAT
ส่วนสนาม GAT PAT ตอนนั้นทราบแล้วว่าอยากเรียนวิศวะ จึงเลือกเน้นวิชาที่ภาควิชาวิศวะต้องใช้ คือ PAT 1, PAT 2, PAT 3 และ GAT แต่ตอนนั้น GAT ส่วนภาษาอังกฤษ ไม่ค่อยได้อ่านสักเท่าไร เพราะยังไม่ได้ภาษาอังกฤษ จึงเตรียม GAT ส่วนภาษาไทยมากกว่า เพราะวางแผนไว้ว่า จะทำให้ GAT ขึ้นสักประมาณ 200 คะแนน จากคะแนนเต็ม 300 แปลว่าต้องทำ GAT ไทยให้ได้เต็ม 150 คะแนน และมักน้อย ขอ GAT อังกฤษ สักประมาณ 50 หน่อย ๆ ก็คิดว่าเพียงพอแล้ว และมุ่งไปเน้นที่ PAT 1 กับ PAT 3 ซึ่งพี่เน้น PAT 1 เป็นพิเศษ เพราะอยากให้ได้ 100 คะแนนขึ้นไป
สาขาวิศวกรรมโยธา ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบรี ตอนปี 1 จะสอนวิชาทั่วไป แต่ภาคอินเตอร์จะสอนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด วิชาที่สอนจะต่อเนื่องจากตอนมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เคยเรียนมา เช่น แคลลูลัส 1, ฟิสิกส์ แต่ก็จะยากขึ้น ส่วนวิชาเคมีที่นี่จะเรียนแค่ตอนปี 1 เป็นเลคเชอร์ของเคมีและเป็น Lab เคมี และพอปี 1 เทอม 2 จะเริ่มเป็นวิชาภาค วิชา Statics เป็นฟิสิกส์ที่เฉพาะทางมากขึ้น เน้นเรื่องโครงสร้าง
ส่วนปี 2 – 3 จะเรียนวิชา Strength เน้นวิชาภาคมากขึ้น เช่น แคลลูลัส 2, วิชา Survey เป็นวิชาที่สอนเกี่ยวกับการตั้งกล้องวัดระดับถนน ซึ่งเป็นภาคปฏิบัติ และจะมีการเข้า Lab คอนกรีต, Lab ซีเมนต์ โดยการแบ่งกลุ่ม ช่วยกันลงมือทำเอง แล้วเขียน Report ส่งอาจารย์ อาจารย์จะให้การทดลองมาว่า จะให้ทดลองอะไรบ้าง แล้วได้ค่าเท่าไร เมื่อได้ค่าแล้วก็นำข้อมูลมาใส่ใน Report แต่ละ Lab ตัวอย่างเช่น มี 10 Lab ก็จะทำอาทิตย์ละ Lab ทำทุก Lab ส่วนการ Report Lab เป็นการเปรียบเทียบค่าต่าง ๆ จะต้องบอกได้ว่า ค่าที่เราทดลองมาแตกต่างกันเพราะสาเหตุอะไร ต้องวิเคราะห์และหาสาเหตุให้ได้ ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลจะเป็นตัวนำมาวัดผลในการให้คะแนน ถ้าวิเคราะห์คาดเคลื่อนก็จะได้คะแนนน้อยลง และหากเขียน Report มาไม่ดี อาจารย์จะให้เขียนใหม่ แล้วนำมาส่งใหม่ ที่สำคัญ ! ถ้าหากอาจารย์จับได้ว่า เขียนมาเหมือนกันเพื่อน (เรียกง่าย ๆ ว่าลอกกันมา) ก็จะให้ F เลย !! (โหดมั้ยล่ะ)
พอปี 4 จะเป็นวิชาเลือก และวิชาเฉพาะทางมากขึ้น จะมีวิชาแต่ละสายแล้วแต่ว่าเราจะเลือกสายไหน เช่น สายโครงสร้าง สายบริหารงาน สายออกแบบ พี่วิวเลือกสายออกแบบกับธรณี วิชาที่เรียนจะมีวิชาเรวิท (Revit) ใช้โปรแกรมเรวิทในการออกแบบ ภาพในการออกแบบจะเห็นเป็นภาพ 3 มิติขึ้นในคอมพิวเตอร์ ทำให้เห็นภาพมากขึ้น เข้าใจตรงกันมากขึ้น เป็นเทคโนโลยีที่ดีขึ้นกว่าสมัยก่อนที่ต้องสเก็ตมือลงในกระดาษ ภาพจะเห็นแค่ 2 มิติ ซึ่งที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีเพิ่งเปิดสอนวิชาเรวิทปีนี้เป็นปีแรก เพราะพี่วิวและเพื่อน ๆ ไปขออาจารย์ให้เปิดสอนวิชานี้ เนื่องจากตลาดเป็นที่ต้องการทำให้เป็นตัวเลือกที่ดีในการใช้สมัครงาน
ด้วยความที่พี่เรียนหลักสูตรนานาชาติ ปี 1 เริ่มต้นมาก็จะมีปัญหาเรื่องภาษา เนื่องจากอาจารย์ใช้ภาษาอังกฤษใน การสอน สิ่งที่ช่วยได้คือ กลับมาทบทวนสิ่งที่อาจารย์สอนว่าสอนอะไรไปบ้าง เรียนเรื่องไหนไปแล้วบ้าง ควบคู่กับการอ่านชีทภาษาไทยประกอบเพิ่มเติม พอปี 2 จะออกภาคสนามมากขึ้น จะเป็นเรื่องใหม่ที่ยังไม่เคยเจอ ก็ต้องพยายามหาความรู้ใหม่ว่าเขาเรียนกันยังไง ต้องใช้อุปกรณ์อะไร ยังไงบ้าง ต้องศึกษาด้วยตัวเองเพิ่มเติมอีกเยอะมาก
ปี 3 สำหรับพี่ พี่ว่าเป็นปีที่หนักที่สุด เพราะจะเรียนหนักมากกกกก (ก.ไก่ล้านตัว) เรียนตั้งแต่เช้าถึงดึก โดยวิชาที่เรียนจะเป็นวิชาภาค ซึ่งพี่เลือกภาควิศวกรรมโยธา เวลาเรียนจะเรียนแบบเจาะลึกเหมือนต้องเอาไปใช้งานจริง ๆ โดยเฉพาะพวกวิชาคำนวณโครงสร้างต่าง ๆ
สุดท้ายคือ ปี 4 เหลือวิชาเรียนน้อยลงแล้ว แต่จะหนักตรงวิชา Project จบ เนื่องจากที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีจะค่อนข้างเข้มงวดเรื่องนี้จะไม่ค่อยให้ผ่านง่าย ๆ
ไม่ได้จัดตารางเรียนอะไรเป็นพิเศษ ใช้การทบทวนสิ่งที่เรียนมาในแต่ละวัน ข้อที่สำคัญ คือทบทวนทุกวัน เรียนอะไรต้องทบทวนทันที ไม่ใช่รอไปอ่านย้อนหลังทีเดียว แบบนี้ไม่ทัน ของพี่คือเรียนไป ทบทวนไป คู่ขนานกันแบบนี้ตลอด
อาจารย์ที่มหาวิทยาลัยข้าถึงง่าย เวลามีปัญหาอะไรสามารถไปปรึกษาได้เลย ส่วนเพื่อนก็ช่วยเหลือกันดี แต่ละคนจะช่วยกันในแต่ละวิชาที่ตัวเองถนัด สลับช่วยเหลือกัน
เรื่องหลัก ๆ เช่น ตอนเรียนปี 1 ตอนนั้นพี่ฟังภาษาอังกฤษไม่ออก ทำให้ต้องปรับตัวและใช้ความขยันให้มากขึ้นเพื่อที่จะเข้าใจในสิ่งที่อาจารย์สอน ซึ่งเพื่อน ๆ ส่วนใหญ่ที่มาเรียนภาคอินเตอร์จะได้ภาษากันอยู่แล้ว
ที่พี่เลือกเรียนภาคอินเตอร์ เนื่องจากช่วงนั้นเปิดอาเซียนพอดี และมองว่าการได้ภาษาด้วยจะเป็นใบเบิกทางที่ดีในการต่อยอดในอนาคต และยังเป็นการบังคับให้พี่พัฒนาตัวเองด้วย
ตอนปี 1 จะมีวิชาสแตติก (Statics) ตอนช่วง Final อาจารย์จะให้ Project มา 1 Project และนักศึกษามา Present หน้าห้องเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด พี่เห็นรุ่นพี่ปี 4 ที่ติด F แล้วมาเรียนใหม่ เขา Present ภาษาอังกฤษกันเก่งมาก เลยเป็นแรงบันดาลใจทำให้อยากทำให้ได้เหมือนรุ่นพี่ และเพื่อน ๆ รอบข้างก็เก่งภาษาอังกฤษกันเป็นส่วนใหญ่ พี่จึงเริ่มจากการให้ความสนใจกับภาษาอังกฤษมากขึ้น เริ่มฟังเพลงภาษาอังกฤษ เริ่มแปลความหมายของเนื้อเพลง ไม่ได้ฟังแค่ผ่าน ๆ และดูภาพยนตร์ที่เป็นภาษาอังกฤษ โดยสนใจคำศัพท์ที่ได้พบเจอ ฝึกบ่อย ๆ ฟังภาษาอังกฤษบ่อย ๆ สุดท้ายมันก็เลยสนิทกัน และเข้าใจกันมากขึ้น
พี่ทำกิจกรรมต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยตลอด เช่น การรับน้องทุกชั้นปี การแข่งกีฬาสี กิจกรรมในมหาวิทยาลัย กิจกรรมของภาค ส่วนใหญ่จะอยู่ฝ่ายถ่ายภาพ เรียกว่าเป็นตากล้องของคณะในเกือบทุกงาน
การฝึกงานช่วยให้เกิดการสร้างวินัยให้กับตัวเอง ให้ตรงต่อเวลา จะแตกต่างกับการเรียนที่มหาวิทยาลัย ที่เราสามารถเข้าเรียนสายได้ แต่การทำงานถ้าเข้าสาย คะแนนวินัยจะถูกตัดและถูกหักเงินด้วย ตอนฝึกงาน พี่อยู่ฝ่ายออกแบบ ซึ่งถือว่าตรงเป๊ะกับที่เรียนมา
เจอของจริงมาก พี่ได้ฝึกงานกับบริษัท เวิอร์คสตัท จำกัด (WERKSTUT CO.,LTD.) บริษัททำเกี่ยวกับการออกแบบส่วนประกอบแต่ละส่วน เช่น ส่วนประกอบของเสา คาน เป็นการฝึกงานที่ได้ทำงานจริง ๆ ลงมือทำเองจริง ใช้เวลาในการฝึกงานประมาณ 2 เดือนครึ่ง ทางบริษัทฯ จะให้แบบแปลนของสถาปัตย์มา แล้วให้พี่ออกแบบขึ้นใน Program เรวิทที่เป็น 3 มิติ ทำให้ได้พื้นฐานความรู้การทำ Program เรวิท เพิ่มเติมจากการฝึกงาน ยกตัวอย่างเช่น งาน 100% เด็กฝึกงานจะทำงานประมาณ 20% เสร็จแล้วจะมีการตรวจสอบจากรุ่นพี่ที่ทำงานว่าถูกต้องมั้ย เสร็จแล้วก็จะนำไปใช้จริงในงาน
การฝึกงานครั้งนั้น พี่ได้ประสบการณ์มาก เช่น เมื่อเราได้รับมอบหมายงานมาในเวลาที่กำหนด พี่สามารถจัดสรรชีวิตตัวเองได้ว่า ตอนนี้ไม่อยากทำก็ไม่ต้องทำ หรือจะทำงานข้างนอกก็ได้ ไม่จำกัดเรื่องการเข้างาน แต่เมื่อถึงเวลาส่งงาน จะต้องมีงานส่งให้ทันเวลาตามที่กำหนด ซึ่งการฝึกงานทำให้พี่ได้เจอลูกค้าที่จ้างงานจริง ต้องออกไปติดต่อกับลูกค้า ได้พบปะ พูดคุยเรื่องงานที่ออกแบบว่าถูกต้องหรือไม่ ต้องปรับแก้ตรงไหนบ้าง ซึ่งการเรียนในมหาวิทยาลัยจะไม่ได้เจอประสบการณ์เหล่านี้
ตอนนี้วางแผนทำงานไปก่อนสักพักเพราะต้องการใช้ความรู้ ความสามารถที่เรียนมาเพื่อหาประสบการณ์ในการทำงาน แล้วจึงค่อยวางแผนเรียนต่อปริญญาโท ด้านการบริหาร เพื่อต่อยอดกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาโยธา ที่เรียนมา
บางมด ไม่เคยมดเลย เพราะมีความพร้อมด้านอุปกรณ์ในการเรียนการสอนเต็มที่ นักศึกษาได้ทำ Lab ของจริง อุปกรณ์มีเยอะมาก เพียงพอต่อจำนวนนักศึกษาทุกชั้นปี
ที่สุดเลยคือ ประทับใจเรื่องเพื่อน ได้เพื่อนที่ดีมาก มีอะไรจะคอยช่วยเหลือกันในเรื่องเรียน เช่น การจดโน้ตเวลาเรียนแต่ละคนจะจดโน้ตเอาไว้ แล้วนำมาแชร์กัน ช่วยเหลือกันดีมาก สามัคคีกันเหมือนเป็นกองทัพมดเลย สมกับเป็น ม.บางมดจริง ๆ
อยากให้น้องตั้งเป้าหมายไว้ให้ชัดเจนว่าอยากเรียนวิศวะโยธาจริง ๆ พอเรามีเป้าหมาย มีความฝันจะเป็นแรงผลักดันให้น้อง ๆ มีกำลังใจที่จะอ่านหนังสือ อยากให้น้อง ๆ สร้างกำลังใจให้ตัวเองและไม่ท้อแท้กับแรงกดดันรอบข้าง ขอให้ทำให้ดีที่สุด อย่าเสียใจหากได้ทำอย่างเต็มที่แล้ว
จากความฝันของเด็กชายคนหนึ่ง ได้กลายมาเป็นความจริงของวัยรุ่นคนหนี่ง เพราะโมเดลต้นแบบที่เป็นเหมือนจินตนาการ แต่มันก็นำมาสร้างเป็นบ้านได้ในความเป็นจริง เฉกเช่นเดียวกับความฝันในวัยเด็ก ที่สามารถนำมาสร้างให้เป็นความจริงได้...ในปัจจุบัน
ชีวิตของพี่วิวสร้างบทเรียนหนึ่งที่น่าสนใจคือ เขาไม่ถนัด “ภาษาอังกฤษ” แต่กลับเลือกเรียนหลักสูตรนานาชาติ คือเลือกอยู่กับสิ่งที่ไม่ถนัด แต่พร้อมพัฒนา ! ไม่ใช่ไม่ถนัดอะไร ก็ปล่อยให้ไม่ถนัดต่อไปอยู่อย่างนั้น ทั้งที่สิ่งที่ไม่ถนัด มันสำคัญและจำเป็นต้องนำไปใช้ในการทำงาน เป็นอีกหนึ่งมุมมองที่พี่นัทฝากไว้เพิ่มเติมให้น้อง ๆ ค่ะ
“ถ้าเราทำแต่สิ่งที่เราถนัด ชีวิตเราก็อาจจะไม่พัฒนา”
พี่นัท ทรูปลูกปัญญา
ภาพปกจาก ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)
www2.ce.kmutt.ac.th