“บริหารและบัญชี” ถือเป็นคณะยอดนิยมในการเลือกเรียนต่อมหาวิทยาลัย โดยสามารถเข้าได้ทั้งเด็กสายวิทย์ - สายศิลป์ (กรณีสายศิลป์ มักจะเปิดรับสายศิลป์-คำนวณ เป็นหลัก) ภายในหลักสูตรของคณะนี้เปิดสาขาวิชาให้เลือกหลากหลายมาก ปัญหาคือหลายคนมักสับสนและไม่เข้าใจว่า แต่ละสาขาเรียนเกี่ยวกับอะไร ลักษณะอาชีพต่างกันอย่างไร วันนี้พี่ปลูกไม่ปล่อยให้น้อง ๆ สงสัยนาน เราหาคำตอบมาให้เพื่อเตรียมพร้อมก่อนตัดสินใจ
เรียนเกี่ยวกับตัวเลขการทำงบประมาณ, งบดุล, รูปแบบการทำบัญชีต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการวิเคราะห์งบการเงิน, รูปแบบการทำภาษี และสิ่งสำคัญอีกอย่างคือ หลักการและวิธีตรวจสอบบัญชี ทั้งหมดนี้คือเนื้อหาหลัก ๆ ที่เราจะได้รับการฝึกฝนความรู้จากการเรียนในสาขาวิชานี้
อาชีพในอนาคต : นักบัญชี, นักบริหารภาษี, นักตรวจสอบบัญชี, ที่ปรึกษาทางบัญชี, ผู้สอบภาษี, ผู้วางระบบการเขียนโปรแกรมบัญชี, เจ้าหน้าที่ทางการเงิน เป็นต้น
หลัก ๆ ของการเรียนในสาขาวิชานี้คือ การวางแผนการตลาดอย่างไรให้สร้างสรรค์เพื่อสร้างยอดขาย โดยศึกษาความรู้ต่าง ๆ เข้ามาประกอบ เช่น ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค, วิจัยทางการตลาด, เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จำเป็นต่อการทำงานด้านการตลาด นำทุกอย่างมาปรับใช้เพื่อกระตุ้นสินค้าให้ได้รับความนิยมและติดตลาด
อาชีพในอนาคต : นักขาย (Sale), นักวิจัยการตลาด, นักการตลาด, นักบริการลูกค้าสัมพันธ์, นักธุรกิจ นักวิเคราะห์ต้นทุน เป็นต้น
สาขาวิชานี้เรียนด้านการพัฒนาองค์กรและคนในองค์กร ให้ทุกอย่างออกมาสมบูรณ์แบบต่อการทำงาน โดยใช้หลักการบริหารผสมกับไอเดียในการวางแผนคนในองค์กร อีกทั้งยังแสวงหาคนคุณภาพมาทำงาน และวิธีการดึงความสามารถของคนทำงานให้ออกมา สาขานี้เน้นการศึกษาวิธีการบริหารคนในการทำงาน กลวิธีไหนที่จะทำให้งานและคนในหน่วยงานมีประสิทธิภาพดีที่สุด
อาชีพในอนาคต : ผู้จัดการทั่วไป, ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์, ผู้จัดการแผนกการจ้างงาน, ฝ่ายแรงงานสัมพันธ์ เป็นต้น
แค่ชื่อก็รู้แล้วว่าต้องเรียนเกี่ยวกับเงินแน่นอน แต่เป็นการศึกษาเรื่องการบริหารเงินอย่างไรให้เกิดประโยชน์และสร้างสรรค์ เรียนสาขานี้จะได้ความรู้ทั้ง เรื่องตลาดหลักทรัพย์, หลักการลงทุน, การคลัง, นโยบายการเงิน ที่สำคัญคือต้องรู้กฎหมายเกี่ยวข้องกับการเงิน เป็นอีกหนึ่งสาขาน่าสนใจ ได้ความรู้ที่หลายด้านเรื่องเงิน ต่อยอดการทำงานได้หลายทาง
อาชีพในอนาคต : พนักงานธนาคาร, เจ้าหน้าที่ทางการเงิน, นักลงทุน, นักวิเคราะห์ต้นทุน, นักตลาดหลักทรัพย์, นักบริหาร, หลักวิเคราะห์หลักทรัพย์, นักวิเคราะห์ด้านการเงิน เป็นต้น
เป็นสาขาที่เชื่อมโยงกับหลายการทำงาน เพราะเป็นการเรียนด้านการบริหารการจัดการอย่างไรให้องค์กรเกิดประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นความรู้เรื่อง การวางแผนกำหนดนโยบายธุรกิจ, รูปแบบการวางแผนงานต่าง ๆ, กลยุทธ์ในการทำงาน, การนำความรู้มาวางแผนพัฒนารูปแบบองค์กร นอกจากศึกษาสิ่งที่ช่วยกระตุ้นผลแล้ว ยังต้องศึกษาวิธีการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละรูปแบบอีกด้วย เป็นสาขาที่ต้องประยุกต์ทุกความรู้ มาวางแผนและแก้ไขปัญหา ให้สภาพคล่องในการทำงานออกมาดี เป็นการเข้าไปวางระบบต่าง ๆ ในองค์กรนั้นเอง
อาชีพในอนาคต : ที่ปรึกษาองค์การ, เลขานุการ, เจ้าหน้าที่ธุรการ, นักวางระบบงานของบริษัท, นักวางแผนกลยุทธ์, เจ้าหน้าที่วิเคราะห์แผนและนโยบาย เป็นต้น
สาขาตรงใจของคนที่ชอบเรื่องธุรกิจและคอมพิวเตอร์ เรียนสาขานี้ได้ความรู้เรื่องการนำเทคโนโลยีไปใช้ในการบริหาร และการบริหารงานด้านคอมพิวเตอร์ รวมทั้งเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เช่น ศึกษาโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ในการทำงาน, เทคโนโลยีสารสนเทศ, เอาความรู้ทุกอย่างมาใช้ร่วมกัน เพื่อใช้บริหารงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีต่าง ๆ เป็นหลัก สำหรับใครที่หลงใหลโลกเทคโนโลยี และสนใจเรื่องระบบธุรกิจ สาขาวิชานี้เป็นอะไรที่ตอบโจทย์
อาชีพในอนาคต : นักบริหาร, ที่ปรึกษาด้านคอมพิวเตอร์, นักธุรกิจด้านไอที, เจ้าหน้าที่ในบริษัทผลิตสินค้าไอที เป็นต้น
ใครที่มีพื้นฐานความรู้ด้านภาษาและสนใจเรื่องธุรกิจ สาขานี้น่าสนใจ เพราะเป็นการเรียนรู้เรื่องระบบการทำธุรกิจกับองค์กรต่างประเทศ ได้ความรู้เรื่องการตลาดของต่างประเทศ วิเคราะห์รูปแบบธุรกิจในต่างประเทศ ศึกษาหลักการทำธุรกิจร่วมกับต่างประเทศยังไงให้รุ่ง ทั้งกระบวนการนำเข้า - ส่งออกสินค้า รวมทั้งวิธีพัฒนาธุรกิจให้เติบโตไปสู่นานาชาติ
อาชีพในอนาคต : นักการตลาด, นักการตลาดระหว่างประเทศ, นักธุรกิจ, นักวางระบบการทำธุรกิจร่วมกับต่างประเทศ เป็นต้น
ศึกษารูปแบบการเริ่มต้นทำธุรกิจของตัวเอง ตั้งแต่หลักการคิดธุรกิจ, วิธีการทำธุรกิจ, วางแผนการประกอบธุรกิจ, การจัดการปัญหา ทั้งหมดนี้เป็นเนื้อหาที่เชื่อมโยงกันในการทำธุรกิจ ใครที่อยากเรียนรู้วิธีการทำธุรกิจด้วยตัวเองอย่างไรให้รอดและน่าสนใจ นี่ถือเป็นคณะที่น่าสนใจมาก สำหรับคนที่กำลังมองหาคณะที่ตอบโจทย์ความต้องการแบบนี้
อาชีพในอนาคต : นักธุรกิจ นักคิดค้นและพัฒนาแบรนด์ เป็นต้น
ระบบโลจิสติกส์เป็นสิ่งที่สำคัญในการอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าและส่งออก เรียนสาขานี้จะได้ความรู้เรื่องการแข่งขันของตลาดการค้าของผู้ประกอบการ กลไลระบบการจัดส่งสินค้าให้ได้คุณภาพ วิธีการบริหารงานด้านโลจิสติกส์ วิธีการแก้ปัญหาและพัฒนาระบบโลจิสติกส์ให้มีคุณภาพ การควบคุมระบบขนส่งและการดูแลการจัดเก็บในทุกรูปแบบ ทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ ทางเรือ เรียนรู้กระบวนการขนส่งโลจิสติกส์ทั้งระบบ และวิธีการทำงานแบบนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้
อาชีพในอนาคต : ผู้ปฏิบัติการด้านโลจิสติกส์, ผู้จัดการคลังสินค้า, งานด้านระบบการขนส่ง, เจ้าหน้าที่ดูแลการกระจายสินค้า, นักวางแผนการผลิต, พนักงานการจัดซื้อด้านนำเข้า - ส่งออก, ประกอบธุรกิจรับส่งสินค้าระหว่างประเทศ, ดูแลระบบสารสนเทศทางโลจิสติกส์ เป็นต้น
สาขาวิชานี้เป็นการเรียนเรื่องการบริหารจัดการธุรกิจแบบองค์รวม ต้องศึกษาแบบคลอบคลุมหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น การบริหารจัดการ, การตลาด, กระบวนการผลิต, การบริหารคนในการทำงาน, การเงิน, รูปแบบธุรกิจในต่างประเทศ, การเติบโตของธุรกิจแต่ละรูปแบบ, วิเคราะห์การทำธุรกิจ วิธีการทำธุรกิจอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ และหลักการแก้ปัญหาในการทำธุรกิจ เป็นสาขาวิชาที่ต้องศึกษาเนื้อหาปลีกย่อย ในแต่ละสาขาวิชารวมไว้ในสาขาเดียว ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าบริหาร จะบริหารงานได้ดีก็ต้องรู้การทำงานด้านธุรกิจให้คลอบคลุมทุกรูปแบบ
อาชีพในอนาคต : นักธุรกิจ,นักการตลาด, ผู้จัดการแผนกบริหารและการตลาด, ที่ปรึกษาด้านธุรกิจ, ที่ปรึกษาองค์กร, นักวางแผนกลยุทธ์ เป็นต้น
หลักแรกของเนื้อหาที่ต้องเรียนเลยคือ พื้นฐานของงานด้านอุตสาหกรรมบริการ ทำความเข้าใจว่ารูปแบบงานที่ทำเป็นแบบไหน ลักษณะงานต้องเชื่อมโยงกับธุรกิจท่องเที่ยวอย่างไร ทำความเข้าใจวิธีการทำธุรกิจบริการ โดยเฉพาะธุรกิจที่พักและการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่าย, เงินลงทุน, ผลกำไร, ราคาที่พัก, การจัดการธุรกิจ, กลยุทธ์การทำธุรกิจ นอกจากนี้ต้องศึกษาเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และข่าวสารที่เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว เพราะกระแสการท่องเที่ยวทุกด้านมีผลกับธุรกิจด้านนี้โดยตรง
อาชีพในอนาคต : ผู้จัดการโรงแรม, ประกอบธุรกิจโรงแรมและที่พัก, ประกอบธุรกิจนำเที่ยว, มัคคุเทศก์, เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานด้านการท่องเที่ยว เป็นต้น
1. ระบบรับตรง : รอบที่ 2, 3 และ 5
1.1 GPAX, GAT, PAT 1 (ใช้ตามเกณฑ์แต่ละมหาวิทยาลัยกำหนด)
1.2 คะแนน 9 วิสามัญ
ภาษาไทย, สังคมศึกษ, ภาษาอังกฤษ, คณิตศาสตร์ 2, วิทยาศาสตร์ทั่วไป (ใช้ตามเกณฑ์แต่ละมหาวิทยาลัยกำหนด)
2. ระบบรับกลางร่วมกัน Admission 2 (รอบที่ 4)
GPAX 20%, O-NET 30%, GAT 30%, PAT 1 20%
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
คณะบัญชี การเงินและการธนาคาร มหาวิทยาลัยพายัพ
คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
หลักสูตรบัญชีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี
คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร
วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
คณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนครพนม
คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
อยากเป็นนักบัญชี ต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง
แนะแนวอาชีพ “เจ้าหน้าที่บัญชี”
แนะแนวคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
9 วิชาสามัญ แต่ละคณะ ใช้อะไรบ้าง
การใช้คะแนน GAT/PAT ของแต่ละกลุ่มคณะ
คณะไหน ใช้ PAT 1 คณิตศาสตร์ บ้าง
รวมข้อมูลเกี่ยวกับคะแนน ที่ใช้ในการเข้ามหาวิทยาลัย
รวมคณะที่จบแล้ว ต้องมีใบประกอบวิชาชีพในการทำงาน
คณะที่เด็กสายศิลป์เลือกเรียนได้ พร้อมแนะแนวอาชีพในอนาคต
รวมรีวิวการเรียนการสอน เจาะลึกหลักสูตรสาขาวิชา ทุกกลุ่มคณะ
"ปาล์ม" TOP Admissions อันดับที่ 6 บัญชี จุฬา เผยเทคนิคการเตรียมตัวสอบยังไงให้ปัง
แนะนำ 8 สาขาในคณะบัญชี/บริหารธุรกิจ ที่น่าเรียน. สืบค้นเมื่อ 7 ก.พ. 2563 https://www.dektalent.com/board/view.php?topic=180
ความแตกต่างของแต่ละสาขา. สืบค้นเมื่อ 7 ก.พ. 2563 https://www.ms.src.ku.ac.th
เรียนการจัดการ ทำงานอะไรได้บ้าง? มหาลัยที่เปิดสอนการจัดการ. สืบค้นเมื่อ 7 ก.พ. 2563 https://campus.campus-star.com/variety/132741.html
สาขาวิชาการบัญชี (Accounting)วิทยาลัยเทคโนโลยีเกษมสันต์บริหารธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 7 ก.พ. 2563 http://www.k-bac.ac.th/kbac/page-33.html
อยากเรียนบัญชี เลือกเรียนต่อที่ไหนดี คะแนนที่ใช้มีอะไรบ้าง จบแล้วทำงานตำแหน่งอะไร. สืบค้นเมื่อ 7 ก.พ. 2563 https://campus.campus-star.com/education/77618.html
บัญชี กับ การเงิน ต่างกันอย่างไร ? แล้วจะเลือกเรียนอะไร เรียนที่ไหนดี. สืบค้นเมื่อ 7 ก.พ. 2563 https://campus.campus-star.com/education/87461.html
สาขาวิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ. สืบค้นเมื่อ 7 ก.พ. 2563 https://www.bu.ac.th/th/business/international
สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน. สืบค้นเมื่อ 7 ก.พ. 2563 https://www.bu.ac.th/th/business
การท่องเที่ยวและการโรงแรม เรียนที่ไหนดี จบแล้วทำงานอะไร. สืบค้นเมื่อ 7 ก.พ. 2563 https://today.line.me/th/pc/article
การท่องเที่ยวและการโรงแรม เรียนอะไร จบแล้วทำงานอะไร?. สืบค้นเมื่อ 7 ก.พ. 2563 https://dtc.ac.th/hotel-and-tourism-management-career/