จะเลือกเรียนต่อคณะไหนต้องรู้ข้อมูลอาชีพ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เลือกเรียน โดยเฉพาะอาชีพที่ต้องมีใบประกอบวิชาชีพในการทำงาน ข้อมูลสำคัญแบบนี้พลาดไม่ได้ เพราะมีผลกับการเลือกหลักสูตรเรียน มหาวิทยาลัยแต่ละที่มีหลักสูตรคล้ายกัน แต่บางที่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพรับรองให้หลังจบ หรือหลักสูตรนั้น ๆ ไม่รับรองให้มีสิทธิ์สอบใบประกอบวิชาชีพ ปัญหานี้สำคัญ เมื่อรู้รายละเอียดแล้ว สามารถใช้ข้อมูลนี้ตรวจสอบหลักสูตรแต่ละมหาวิทยาลัยก่อนเลือกเรียน
ใบประกอบวิชาชีพที่ต้องมีในการทำงาน : ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม
ผู้ที่มีสิทธิสอบ : จบหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต
อาชีพในอนาคต : แพทย์
ใบประกอบวิชาชีพที่ต้องมีในการทำงาน : ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์
ผู้ที่มีสิทธิสอบ : จบหลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต
อาชีพในอนาคต : สัตวแพทย์
ใบประกอบวิชาชีพที่ต้องมีในการทำงาน : ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทันตกรรม
ผู้ที่มีสิทธิสอบ : จบหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต
อาชีพในอนาคต : ทันตแพทย์
ใบประกอบวิชาชีพที่ต้องมีในการทำงาน : ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม
ผู้ที่มีสิทธิสอบ : จบหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต
อาชีพในอนาคต : เภสัชกร
ใบประกอบวิชาชีพที่ต้องมีในการทำงาน : ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
ผู้ที่มีสิทธิสอบ : จบหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต
อาชีพในอนาคต : พยาบาล
ใบประกอบวิชาชีพที่ต้องมีในการทำงาน : ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์
ผู้ที่มีสิทธิสอบ : เฉพาะผู้ที่จบสาขาวิชาเทคนิคการแพทย์
อาชีพในอนาคต : นักเทคนิคการแพทย์
ใบประกอบวิชาชีพที่ต้องมีในการทำงาน : ใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ
ผู้มีสิทธิสอบ : จบหลักสูตรการแพทย์แผนจีน
อาชีพในอนาคต : แพทย์แผนจีน
ใบประกอบวิชาชีพที่ต้องมีในการทำงาน : ใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย
ผู้ที่มีสิทธิสอบ : เฉพาะผู้ที่จบสาขาวิชาการแพทย์แผนไทย
อาชีพในอนาคต : นักการแพทย์แผนไทย, ทำงานเกี่ยวกับการแพทย์ทางเลือก, ธุรกิจแพทย์แผนไทย เป็นต้น
ใบประกอบวิชาชีพที่ต้องมีในการทำงาน : ใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์
ผู้ที่มีสิทธิสอบ : เฉพาะผู้ที่จบสาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์
อาชีพในอนาคต : แพทย์แผนไทยประยุกต์
ใบประกอบวิชาชีพที่ต้องมีในการทำงาน : ใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ
ผู้ที่มีสิทธิสอบ : จบสาขาวิชารังสีเทคนิค
อาชีพในอนาคต : นักรังสีเทคนิค
ใบประกอบวิชาชีพที่ต้องมีในการทำงาน : ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัด
ผู้ที่มีสิทธิสอบ : เฉพาะผู้ที่จบสาขากายภาพบำบัด
อาชีพในอนาคต : นักกายภาพบำบัด
ใบประกอบวิชาชีพที่ต้องมีในการทำงาน : ใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ
ผู้ที่มีสิทธิสอบ : สอบเฉพาะผู้ที่จบสาขากิจกรรมบำบัด
อาชีพในอนาคต : นักกิจกรรมบำบัด ในหน่วยงานการแพทย์และสาธารณสุข
ใบประกอบวิชาชีพที่ต้องมีในการทำงาน : ใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ
ผู้มีสิทธิสอบ : จบสาขาวิชาทัศนมาตรศาสตร์
อาชีพในอนาคต : นักทัศนมาตร
ใบประกอบวิชาชีพที่ต้องมีในการทำงาน : ใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ
ผู้มีสิทธิสอบ : จบสาขาวิชาจิตวิทยาคลินิก
อาชีพในอนาคต : นักจิตวิทยา
ใบประกอบวิชาชีพที่ต้องมีในการทำงาน : ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม
ผู้ที่มีสิทธิสอบ : จบสาขาสถาปัตยกรรมหลัก, สาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง, สาขาภูมิสถาปัตยกรรม, สาขาสถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์
อาชีพในอนาคต : สถาปนิก, อินทีเรีย ดีไซน์ เป็นต้น
ใบประกอบวิชาชีพที่ต้องมีในการทำงาน : ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (เฉพาะบางอาชีพเท่านั้นที่ต้องสอบ)
ผู้ที่มีสิทธิสอบ : จบหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ ตามสาขาวิชาที่มีสิทธิสอบ
อาชีพที่ต้องสอบใบประกอบวิชาชีพ : วิศวกรรมโยธา, วิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง, วิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร, วิศวกรรมเครื่องกล, วิศวหรรมอุตสาหการ, วิศวกรรมเหมืองแร่, วิศวกรรมเคมี, วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
อาชีพในอนาคต : วิศวกรในสาขาต่าง ๆ
ใบประกอบวิชาชีพที่ต้องมีในการทำงาน : ใบประกอบวิชาชีพครู
ผู้ที่มีสิทธิสอบ : หลักสูตร 4 ปีต้องสอบ แต่หลักสูตร 5 ปีไม่ต้องสอบ
อาชีพในอนาคต : ครู, อาจารย์
ใบประกอบวิชาชีพที่ต้องมีในการทำงาน : ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม
ผู้ที่มีสิทธิสอบ : 1. นิวเคลียร์ 2. ควบคุมมลพิษ, 3. การเพาะเลี้ยงและการใช้จุลินทรีย์ที่ก่อโรค 4. สารเคมีอันตราย
อาชีพในอนาคต : นักวิทยาศาสตร์, อาชีพเฉพาะทางในสาขาที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
ใบประกอบวิชาชีพที่ต้องมีในการทำงาน : ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพบัญชี
ผู้ที่มีสิทธิ์สอบ : จบสาขาวิชาการบัญชี ผู้ตรวจสอบบัญชี
อาชีพในอนาคต : นักบัญชี ผู้ตรวจสอบบัญชี
ใบประกอบวิชาชีพที่ต้องมีในการทำงาน : ใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์
ผู้ที่มีสิทธิสอบ : จบตรงสายสอบได้เลย กรณีจบคณะ/สาขาวิชาอื่นต้องผ่านการอบรบก่อน
อาชีพในอนาคต : นักสังคมสงเคราะห์
ใบประกอบวิชาชีพที่ต้องมีในการทำงาน : ใบอนุญาตให้เป็นทนายความ (จะเป็นทนายความได้ต้องสอบใบประกอบวิชาชีพนี้) ส่วนเนติบัณฑิต เป็นการสอบเพื่อสามารถที่จะเป็น ผู้พิพากษาหรืออัยการต่อไปได้
ผู้ที่มีสิทธิสอบ : หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต
อาชีพในอนาคต : ทหาร, ผู้พิพากษา, อัยการ
คณะที่เด็กสายศิลป์เลือกเรียนได้ พร้อมแนะแนวอาชีพในอนาคต
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ แต่ละสาขาวิชาคืออะไร จบแล้วทำงานอะไรได้บ้าง