อาชีพยอดนิยมในประเทศไทย ที่ยังได้รับความนิยมไม่เปลี่ยนคือ “อาชีพข้าราชการ” เคยสงสัยกันไหมว่า เพราะอะไรทำไมเวลาเราต้องเรียนต่อมหาวิทยาลัย ผู้ใหญ่จึงมักแนะนำให้เลือกคณะที่จบมาแล้วทำงานข้าราชการต่อได้ มาไขข้อสงสัยเรื่องนี้กันเลยว่า ทำไมอาชีพข้าราชการยังเป็นทางเลือกอันดับต้น ๆ มาตลอด
เป็นคำเรียกอาชีพที่ทำงานอยู่ในสังกัดของหน่วยงานรัฐ มีได้หลายตำแหน่ง ที่เราคุ้นกันบ่อย ๆ เช่น ข้าราชการครู พยาบาล ทหาร ตำรวจ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานรัฐหรือกระทรวงต่าง ๆ เป็นต้น ตำแหน่งงานข้าราชการจะต้องสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุในระบบ ถึงจะเรียกได้ว่าเป็นข้าราชการเต็มตัว เป็นอาชีพที่ทำงานตามนโยบายของรัฐ รับเงินเดือนจากประเทศโดยตรง มีความมั่นคงค่อนข้างมาก เพราะไม่ต้องกังวลกับการปิดตัวขององค์กร เนื่องจากทำงานในระบบของรัฐโดยตรง ซึ่งต่างจากบริษัทเอกชนที่มีความเสี่ยงต่อการปิดตัวของบริษัท
ขั้นตอนการเป็นข้าราชการ เริ่มจากมีวุฒิการศึกษาที่ตรงกับการเปิดรับของสายอาชีพ ที่สำคัญต้องสอบบรรจุให้ผ่าน และรอเรียกตัวเข้าบรรจุ จึงจะถือว่าเป็นข้าราชการอย่างสมบูรณ์ การทำงานในหน่วยงานรัฐแต่ไม่ได้สอบบรรจุ หรือสอบไม่ติด ไม่นับว่าเป็นข้าราชการ แต่เรียกว่าพนักงานราชการเท่านั้น
1. ความมั่นคงทางอาชีพมีสูง ไม่ต้องกังวลเรื่องการลอยแพพนักงาน หรือบริษัทปิดตัวลงแบบเอกชน เพราะทำงานภายใต้การดูแลขอรัฐ รับเงินเดือนจากรัฐโดยตรง
2. มีเงินบำเหน็จบำนาญหลังเกษียณให้ใช้ เลือกได้ว่าจะรับเป็นก้อนหรือรายเดือน ถ้าเลือกรับรายเดือนก็มีเงินใช้ทุกเดือนตลอดชีวิต
4. ได้รับสวัสดิการด้านต่าง ๆ ค่อนข้างดี ทั้งเรื่องการรักษาพยาบาลที่สามารถใช้ได้ตลอดชีวิต กองทุนสำรอง
5. สวัสดิการคลอบคลุมถึงคนในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นค่ารักษาพยาบาลคู่สมรส ค่าใช้จ่ายการศึกษาของบุตร
6. เป็นอาชีพที่ได้รับความเชื่อมั่นด้านต่าง ๆ เช่น หน่วยงานด้านการเงินและการทำธุรกรรม ซึ่งทำให้ได้รับการอนุมัติง่ายขึ้น ตำแหน่งงานสามารถใช้เป็นหลักประกันในสังคมด้านต่าง ๆ เช่น รับรองการทำงาน เป็นต้น
1. งานไม่เป็นอิสระ ต้องทำตามกฎระเบียบและนโยบายของรัฐ
2. กว่าจะเป็นข้าราชการเต็มตัวได้ ต้องสอบหลายขั้นตอน
3. แม้ว่าจะสอบบรรจุติดแล้ว แต่ก็ไม่สามารถเลือกที่ทำงานเองได้
4. ความก้าวหน้าในอาชีพมี แต่ต้องใช้เวลานาน
5. อัตราเงินเดือนขยับได้ไม่สูงเท่าบริษัทเอกชน
1. กลุ่มอาชีพบุคลากรทางการศึกษา (ครู, อาจารย์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์)
2. กลุ่มอาชีพทางทหาร (ทหารบก, ทหารอากาศ, ทหารเรือ)
3. กลุ่มอาชีพด้านวิทยาศาสตร์ (นักวิทยาศาสตร์, นักธรณีวิทยา, เจ้าหน้าที่ทางวิทยาศาสตร์)
4. กลุ่มอาชีพแพทย์ (แพทย์, พยาบาลและสาธารณสุข, เภสัชกรรม, เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์)
5. กลุ่มอาชีพการคลัง/เศรษฐกิจ (เจ้าหน้าที่ศุลกากร, เจ้าพนักงานการคลัง, เจ้าหน้าที่บัญชีและการเงิน)
6. กลุ่มอาชีพด้านต่างประเทศ (ทูต, ล่าม, เจ้าหน้าที่หน่วยงานด้านการต่างประเทศ)
8. กลุ่มอาชีพด้านกฎหมาย (ทหาร, อัยการ, ผู้พิพากษา)
9. กลุ่มอาชีพนักวิชาการ
1. คณะครุศาสตร์ / ศึกษาศาสตร์
2. คณะมนุษยศาสตร์
3. นิติศาสตร์
4. คณะรัฐศาสตร์ / รัฐประศาสนศาสตร์
5. คณะบริหารธุรกิจ / พาณิชยศาสตร์และการบัญชี
6. คณะวิทยาศาสตร์
7. คณะสังคมศาสตร์
8. คณะพยาบาลศาสตร์
9. วิศวกรรมศาสตร์
10. คณะแพทยศาสตร์
11. คณะเภสัชศาสตร์
เทคนิคเลือกเรียนต่อมหาวิทยาลัยอย่างไร ให้เหมาะกับตัวเอง
เส้นทางครู อยากเป็นครู ต้องเรียนอะไร ?
คะแนนสูง-ต่ำ TCAS รอบ 4 แอดมิชชั่น ปี 2562
สำรวจเส้นทาง สายวิทย์ สายศิลป์ เรียนต่อคณะอะไรได้บ้าง
เลือกอย่างไหน ? คณะที่ใช่ VS มหาวิทยาลัยที่ชอบ
เรียนจบเภสัช ทำอะไรได้มากกว่าที่คุณคิด !
รวมรีวิวการเรียนการสอน เจาะลึกหลักสูตรสาขาวิชา ทุกกลุ่มคณะ