Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา
Education > TCAS > บทความ
คณิตศาสตร์ O-NET, PAT 1, สามัญ แตกต่างกันอย่างไร

  Favorite

คณิตศาสตร์ เป็นวิชาหินวิชาปราบเซียนวิชาหนึ่งเลย เป็นวิชาที่หลายคนขอบาย ไม่อยากสอบ เลี่ยงได้เลี่ยง แต่มันก็เป็นวิชาหลักที่เราทุกคนต้องเรียนรู้ ไม่ว่าจะเรียนสายวิทย์ หรือ สายศิลป์ ก็ล้วนเจอคณิตศาสตร์ และในการเข้ามหาวิทยาลัย แต่ละคณะต่าง ๆ ก็ขอวัดความรู้ด้านคณิตศาสตร์ ไม่ใช่ทุกคณะที่ต้องการคณิตศาสตร์ แต่ในการสอบ TCAS ต่าง ๆ ยังไงก็หนีไม่พ้น

 

คณิตศาสตร์ O-NET

เนื่องจาก O-NET เป็นการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ก่อนจบ ม. 6 ต้องสอบทุกคน และต้องสอบทุกวิชา ขาดสอบไม่ได้ เลี่ยงสอบคณิตศาสตร์ไม่ได้แล้วสิ  แต่คณิต O-NET จัดเป็นข้อสอบที่ง่ายที่สุด ในบรรดาคณิตศาสตร์ของวิชาต่าง ๆ สังเกตได้จากการที่ในแต่ละปี จะมีน้อง ๆ ที่สอบได้ 100 คะแนนเต็มจำนวนมาก

เนื้อหาการสอบ O-NET ม. 6 ปีการศึกษา 2562 คลิกที่นี่
 

9 วิชาสามัญ คณิตศาสตร์ 1 และคณิตศาสตร์ 2

มีความยากในระดับ กลาง ๆ (แต่บางข้อก็ยากพีคนะครับ) ซึ่งหัวใจของวิชาสามัญคือเวลาครับ เนื่องจากมีเวลาต่อข้อเพียง 3 นาที ต้องทำไวกาไว ตัดสินใจรวดเร็วและถูกต้อง น้อง ๆ จึงต้องฝึกทำโจทย์จนชำนาญมาก ๆ โดย คณิตศาสตร์วิชาสามัญแบ่งออกเป็น 2 สาย
คณิตศาสตร์ 1 สำหรับคณะสายวิทย์ และศิลป์คำนวณ
คณิตศาสตร์ 2 สำหรับคณะสายศิลป์ภาษา และศิลป์อื่น ๆ

เนื้อหาการสอบ 9 วิชาสามัญ ปี 2563 คลิกที่นี่
 

PAT 1 คณิตศาสตร์

ข้อสอบชุดนี้ต้องการวัดความเป็นมืออาชีพ ความโปรฯ ในสาขาวิชาคณิตของน้อง ๆ มันเลยเป็นข้อสอบที่พลิกแพลง และมีความยากสูงสุด ตัวอย่างเมื่อปี 61 คะแนนเฉลี่ยจากผู้เข้าสอบทั้งประเทศอยู่ที่ 48.45 จากเต็ม 300 และมีผู้ที่ทำคะแนนได้ 270-300 เพียงแค่ 36 คน (เขาเหล่านั้นไม่ใช่คนครับน้อง ๆ)

เนื้อหาการสอบ GAT/PAT ปี 2563 คลิกที่นี่
 

คณะที่ใช้ PAT 1 และคณิตศาสตร์ 1

ไม่ใช่ทุกคณะที่ใช้ แต่น้อง ๆ รู้หรือไม่ ว่า PAT 1 และ คณิตศาสตร์ 1 ใช้ยื่นได้หลากหลายคณะ ไม่ใช่แค่คณะสายบัญชี การเงิน ตัวเลข อย่างเดียว ยื่นคณะไหนได้บ้าง ไปดูกันเลย
- คณะสหเวชศาสตร์
- คณะทันตแพทยศาสตร์
- คณะวิทยาศาสตร์
- คณะ/สาขา วิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง
- คณะวิศวกรรมศาสตร์
- คณะครุศาสตร์ / ศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการสอบคณิตศาสตร์
- คณะเศรษฐศาสตร์
- คณะ/สาขา จิตวิทยา
- คณะบริหารธุรกิจ
- คณะบัญชี
- คณะ/สาขา การเงิน การตลาด
- คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
- คณะเกษตร / ประมง
- คณะ/สาขา การจัดการการบิน ธุรกิจการบิน

นอกจากนี้ยังมีคณะที่ไม่ได้บังคับใช้ แต่เลือกยื่นรูปแบบ PAT 1 หรือเลือกสอบคณิตศาสตร์ 2 ได้
- ครุศาสตร์ / ศึกษาศาสตร์
- วิทยศาสตร์
- คณะรัฐศาสตร์
- นิติศาสตร์
- คณะนิเทศศาสตร์ / คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน / คณะสื่อสารมวลชน
- คณะอักษรศาสตร์ / คณะศิลปศาสตร์

 

คะแนนใช้ในระบบ TCAS รอบไหนบ้าง

O-NET หลัก ๆ ใช้ในรอบที่ 4 รับกลางร่วมกัน (Admission 2) หากไม่มี O-NET ยื่นรอบ 4 ไม่ได้เลยนะบอกเลย แต่ในรอบที่ 2 – 3 ก็มีบางสถาบันที่ขอดูคะแนน O-NET อาจจะนำไปคำนวณการคัดเลือก หรือแค่ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติ อย่างเช่น กสพท ที่ ม. 6 ทุกคนต้องมีคะแนน และผ่านเกณฑ์ 60%

PAT  1 รอบที่ใช้ GAT/PAT คือรอบที่ 2 โควตา, รอบที่ 3 รับตรงร่วมกัน (Admission 1) รอบที่ 4 รับกลางร่วมกัน (Admission 2) และรอบที่ 5 รับตรงอิสระ  PAT 1 ไม่ได้ใช้ทุกคณะ น้อง ๆ ก็ศึกษาข้อมูลกันดี ๆ คณะในฝันของเรานั้น ต้องสอบ PAT 1 มั้ย จะได้ไม่พลาด

คณิตศาสตร์ วิชาสามัญ สำหรับวิชาสามัญ จะเน้นใช้ในรอบ รอบที่ 2 โควตา และ รอบที่ 3 รับตรงร่วมกัน (Admission 1) โดยเฉพาะรอบที่ 3 วิชาสามัญคือหัวใจหลักในรอบนี้

 

บทความที่เกี่ยวข้อง
มารู้จักคะแนนที่ใช้ใน TCAS มีคะแนนอะไรบ้าง ?
ความแตกต่างของ ข้อสอบคณิตศาสตร์ O-NET / PAT 1 / วิชาสามัญ
คณะไหน ใช้ PAT 1 คณิตศาสตร์ บ้าง !?
วิเคราะห์ข้อสอบ TCAS คณิตศาสตร์ บทออกมาก ออกน้อย (GAT/PAT, 9 วิชา, O-NET)  ในปี 62

Tags
Posted by
Plook TCAS
ข่าวค่ายและกิจกรรม
ข่าวรับตรงล่าสุด
Follow us