น้อง ๆ หลายคนอาจจะสงสัยว่าการสมัครคัดเลือกเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา โดยเฉพาะยุคนี้ ที่เป็นยุคของระบบ TCAS ต้องเตรียมตัวอย่างไร ใช้คะแนนอะไรบ้าง มารู้จักคะแนนที่ใช้ใน TCAS กันเลย
Portfolio หรือ แฟ้มสะสมผลงาน ใช้ยื่นในรอบแรกของ TCAS ยื่นพอร์ตอย่างเดียว ไม่มีการสอบ ใคร ๆ ก็อยากติดตั้งแต่รอบนี้ แต่ก็ใช่ว่าจะผ่านกันได้ง่าย ๆ Portfolio แต่ละคณะ/มหาวิทยาลัย กำหนดคุณสมบัติและความต้องการของผลงานไว้ ผลงานเยอะไม่ได้แปลว่าคะแนน Portfolio จะเยอะด้วย Portfolio ที่ดี ต้องตรงตามที่ทางคณะ/มหาวิทยาลัยต้องการเท่านั้น
การนำคะแนนไปใช้
รอบที่ 1 คะแนน Portfolio 80-100%
รอบที่ 2, 3 และ 5 มีแค่บางคณะที่ต้องการผลงานประกอบการพิจารณา เช่นคณะแนวอาร์ต
ผลการเรียนหรือเกรดเฉลี่ย (GPAX ) ไม่ใช่การสอบแต่อย่างใด มันคือเกรดเฉลี่ยรวมทุกวิชาตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายของเรานี่แหละ เป็นคะแนนที่ใช้ใน TCAS ไม่ว่าจะเป็นเกณฑ์ขั้นต่ำผ่านคุณสมบัติ หรือ ใช้คำนวณคะแนนในการคัดเลือก เพราะฉะนั้นอย่าเทการเรียนในห้อง
การนำคะแนนไปใช้
รอบที่ 1 – 3 ใช้เกรดเฉลี่ย 5 เทอม (ม. 4, ม. 5 และ ม. 6 เทอม 1) เป็นเกณฑ์ขั้นต่ำผ่านคุณสมบัติ หรือ ใช้คำนวณคะแนนในการคัดเลือก แล้วแต่คณะ/มหาวิทยาลัยกำหนด
รอบที่ 4 ใช้เกรดเฉลี่ย 6 เทอม (ม. 4 – ม. 6) ใช้คำนวณคะแนนในการคัดเลือก ค่าน้ำหนักคะแนน 20% หรือเท่ากับ 6,000 คะแนน (คะแนนเต็ม 30,000)
รอบที่ 5 ใช้เกรดเฉลี่ย 6 เทอม เป็นเกณฑ์ขั้นต่ำผ่านคุณสมบัติ หรือ ใช้คำนวณคะแนนในการคัดเลือก แล้วแต่คณะ/มหาวิทยาลัยกำหนด
O-NET การทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นการทดสอบเพื่อวัดความรู้และความคิดของนักเรียน รวมไปถึงการประเมินคุณภาพการเรียนการสอนของโรงเรียน ซึ่งจะทำการสอบในตอนที่จบการศึกษาชั้น ป. 6, ม. 3 และ ม. 6 ซึ่งคะแนนการสอบของ ม. 6 ใช้เป็นองค์ประกอบในการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยอีกด้วย น้อง ๆ สามารถสอบได้ครั้งเดียวเท่านั้น คะแนนใช้ได้ตลอดชีวิต
วิชาสอบ
- มีทั้งหมด 5 วิชา ภาษาไทย, สังคม, ภาษาอังกฤษ, คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
- ต้องสอบให้ครบทั้ง 5 วิชา
การสมัคร
ม. 6 โรงเรียนสามัญไม่ต้องสมัคร ส่วนน้อง ๆ เทียบเท่า ปวช. กศน. ก็สามารถสอบได้ในปีการศึกษาที่จบ สมัครสอบผ่านเว็บไซต์ สทศ. www.niets.or.th เปิดรับสมัคร 1 – 15 พ.ย. ทุกปี ฟรีไม่เสียค่าใช้จ่าย
การนำคะแนนไปใช้
รอบที่ 2, 3, 5 แล้วแต่มหาวิทยาลัยกำหนด
รอบที่ 4 ใช้คำนวณคะแนนในการคัดเลือก ค่าน้ำหนักคะแนน 30% หรือเท่ากับ 9000 คะแนน (คะแนนเต็ม 30,000)
แบบทดสอบความถนัดทั่วไป คือ การวัดศักยภาพการเรียนในมหาวิทยาลัยให้ประสบความสำเร็จ
วิชาสอบ
แบ่งเป็น 2 พาร์ท
1. GAT เชื่อมโยง ความสามารถในการอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์ และแก้โจทย์ปัญหา
2. GATภาษาอังกฤษ ความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ
**ทั้ง 2 พาร์ท สอบวันเดียวกัน แบ่งครึ่งแรกและครึ่งหลัง
การสมัคร
น้อง ๆ ม. 6 และเทียบเท่า ต้องสมัครสอบเอง ผ่านเว็บไซต์ สทศ. www.niets.or.th มีค่าใช้จ่ายในการสมัครสอบ 140 บาท สอบได้ครั้งเดียวต่อปี คะแนนมีอายุ 2 ปี
การนำคะแนนไปใช้
รอบที่ 2 ใช้เป็นส่วนน้อย แล้วแต่มหาวิทยาลัยกำหนด
รอบที่ 3 ใช้คะแนน GAT/PAT เป็นหลัก แล้วแต่มหาวิทยาลัยกำหนด
รอบที่ 4 ใช้ทุกคณะ/สาขา ค่าน้ำหนักคะแนน 10-50% แล้วแต่คณะ/สาขากำหนด
ความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ คือ การวัดความรู้พื้นฐานและศักยภาพที่จะเรียนในวิชาชีพนั้น ๆ ให้ประสบความสำเร็จ
วิชาสอบมี 7 วิชาความถนัด
1. PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์
2. PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์
3. PAT 3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์
4. PAT 4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
5. PAT 5 ความถนัดทางวิชาชีพครู
6. PAT 6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์
7. PAT 7 ความถนัดทางภาษาต่างประเทศ (เลือกสอบได้ 1 ภาษา)
PAT 7.1 ภาษาฝรั่งเศส
PAT 7.2 ภาษาเยอรมัน
PAT 7.3 ภาษาญี่ปุ่น
PAT 7.4 ภาษาจีน
PAT 7.5 ภาษาอาหรับ
PAT 7.6 ภาษาบาลี
PAT 7.7 ภาษาเกาหลี
การสมัคร
ไม่ต้องสอบทุกวิชา สอบเฉพาะวิชาที่ใช้ ตามที่คณะ/สาขาต้องการ น้อง ๆ ม. 6 และเทียบเท่า ต้องสมัครสอบเอง ผ่านเว็บไซต์ สทศ. www.niets.or.th มีค่าใช้จ่ายในการสมัครสอบวิชาละ 140 บาท สอบได้ครั้งเดียวต่อปี คะแนนมีอายุ 2 ปี
การนำคะแนนไปใช้
รอบที่ 2 ใช้เป็นส่วนน้อย แล้วแต่มหาวิทยาลัยกำหนด
รอบที่ 3 ใช้คะแนน GAT/PAT เป็นหลัก ค่าน้ำหนักและวิชาที่ใช้ แล้วแต่มหาวิทยาลัยกำหนด
รอบที่ 4 ไม่ได้ใช้ทุกสาขา ค่าน้ำหนักคะแนน 0-40% แล้วแต่คณะ/สาขากำหนด
เป็นข้อสอบกลางที่จัดสอบโดย สทศ. เพื่อนำมาใช้ในการรับตรงเข้ามหาวิทยาลัย
วิชาสอบ
จำนวน 9 วิชา ภาษาไทย, สังคม, ภาษาอังกฤษ, คณิตศาสตร์ 1, ฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา, คณิตศาสตร์ 2 และวิทยาศาสตร์ทั่วไป ไม่ว่าจะเรียนสายวิทย์หรือสายศิลป์ ก็เลือกสอบได้ทุกวิชา สทศ.กำหนดให้สอบได้สูงสุด 7 วิชา แต่ไม่จำเป็นต้องสอบครบทั้งหมด ให้น้อง ๆ เลือกสอบตามเกณฑ์การรับของแต่ละคณะ/มหาวิทยาลัย
การสมัคร
น้อง ๆ ม. 6 และเทียบเท่า ต้องสมัครสอบเอง ผ่านเว็บไซต์ สทศ. www.niets.or.th มีค่าใช้จ่ายในการสมัครสอบวิชาละ 100 บาท สอบได้ครั้งเดียวต่อปี คะแนนมีอายุ 1 ปี
การนำคะแนนไปใช้
รอบที่ 2 ใช้เป็นส่วนน้อย แล้วแต่มหาวิทยาลัยกำหนด
รอบที่ 3 ใช้คะแนน 9 วิชาสามัญ เป็นหลัก ค่าน้ำหนักและวิชาที่ใช้ แล้วแต่มหาวิทยาลัยกำหนด
รอบที่ 5 แล้วแต่มหาวิทยาลัยกำหนด
รอบที่ 4 ไม่ใช้คะแนน 9 วิชาสามัญ
คะแนนวิชาเฉพาะ คือวัดความรู้ความสามารถเฉพาะสาขาวิชา เช่น ความถนัดแพทย์, ความถนัดทางเภสัชศาสตร์, ความถนัดทางรัฐศาสตร์ วิชาเฉพาะต่าง ๆ ที่มหาวิทยาลัยจัดสอบเอง น้อง ๆ สมัครและสอบกับทางมหาวิทยาลัยได้เลย
การนำคะแนนไปใช้
รอบที่ 2, 3 แล้วแต่มหาวิทยาลัย
คะแนนวัดความสามารถทางภาษา เช่น TOEIC, TOEFL , IELTS, CU-TEP, SAT หรือภาษาที่สาม HSK, NJLPT เป็นต้น คะแนนนำไปใช้ยื่นเข้ามหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้ โดยส่วนใหญ่ที่ใช้คะแนนวัดความรู้ทางภาษานี้ จะเป็นหลักสูตรนานาชาติ
การนำคะแนนไปใข้
รอบที่ 1, 2, 3 ในหลักสูตรนานาชาติ หรือหลักสูตรปกติ ที่ต้องการวัดความรู้ทางภาษามาพิจารณาในการคัดเลือก
ด่านสุดท้ายของทุก ๆ รอบต้องมีการสัมภาษณ์ แบ่งออกเป็น 2 แบบใหญ่ ๆ สัมภาษณ์แบบมีคะแนน มีปรับตก และสัมภาษณ์เพื่อทำความรู้จัก เช็คคุณสมบัติพื้นฐาน หากไม่ได้ผิดคุณสมบัติร้ายแรงก็ไม่มีตกแน่อน
การให้คะแนน
รอบที่ 1 - 2 มีคะแนน มีปรับตก
รอบที่ 3 - 4 ทำความรู้จัก เช็คคุณสมบัติพื้นฐาน
รอบที่ 5 ทำความรู้จัก เช็คคุณสมบัติพื้นฐาน
บทความที่เกี่ยวข้อง
ปฏิทิน กำหนดการ TCAS 63 การสมัคร การสอบวิชาต่าง ๆ
เทคนิคการเรียนง่าย ๆ คว้าเกรด 4 มาครอง
เทคนิคสอบสัมภาษณ์ฉบับเด็ก TCAS
เทคนิคการทำ Portfolio โดดเด่น ถูกใจกรรรมการ
ตัวอย่าง Portfolio ของรุ่นพี่ที่ผ่าน TCAS รอบแรก