เรียนทำไม ม.เอกชน ! หลากหลายความเข้าใจผิด ที่ถูกส่งต่อกันมาจนเป็นภาพจำ จนกลายเป็นความเชื่อเลยก็ว่าได้ ตามไปดูเลยว่า 5 เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับ ม.เอกชน มีอะไรบ้าง
แค่เดินไปจ่ายตังค์ ก็ได้เรียนแล้ว ! หลายคนเข้าใจผิดเรื่องนี้เยอะมาก โดยเฉพาะพ่อแม่ผู้ปกครอง จริง ๆ ม.เอกชน ก็มีเกณฑ์การรับเหมือนมหาวิทยาลัยทั่ว ๆ ไป มีการยื่นคะแนน GAT/PAT O-NET หรือ 9 วิชาสามัญ รวมไปถึงการสอบข้อเขียนด้วย แต่อาจจะไม่ได้กำหนดเกณฑ์คะแนนที่สูงมาก หรืออย่างบางที่ก็ใช้การสอบสัมภาษณ์ เพื่อพิจารณาคุณสมบัติของผู้สมัคร ซึ่งถ้าเราไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ก็หมดสิทธิ์เข้าศึกษาเหมือนกัน
หลายคนชอบคิดว่า ม.เอกชน เนื้อหาการเรียนวิชาการ จะไม่ค่อยดี เรียนแบบไม่แน่น แต่จริง ๆ แล้ว ม.เอกชน มีการเรียนที่หลากหลายมาก ที่โดดเด่นเลยคือ มีเครื่องมือ เทคโนโลยีที่ทันสมัย ใช้ในการเรียนการสอน พร้อมให้นักศึกษา ได้เรียนรู้และทดลองปฏิบัติจริง นอกเหนือไปจากการเรียนในตำรา หรือบางวิชาก็มีการจ้างอาจารย์พิเศษมาสอน ที่มีประสบการณ์โดยตรง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และที่สำคัญเราจะเห็นว่า ม.เอกชน จะมีการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนตลอด เพื่อรองรับกับสังคมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพราะฉะนั้นไม่ต้องกลัวว่าเรียนไม่แน่น เพราะเรียนครบจัดเต็มทุกด้าน
เรื่องนี้ต้องปรับแนวคิดกันใหม่ ตัวเราเลือกได้ ตัดสินใจเองได้ ว่าอยากอยู่ในพื้นที่แบบไหน ถ้าจะหาพื้นที่ ที่ดีร้อยเปอร์เซ็นต์ น้อง ๆ คงต้องเปลี่ยนไปอีกหลายมหาวิทยาลัยแน่นอน เพราะความจริงทุกที่ก็ล้วนมีพื้นที่สีขาวและสีดำปะปนกันไป เอาเป็นว่าถ้าเราเลือกเข้าหาในสิ่งที่ดี มันก็จะเกิดผลดีกับตัวเราเอง หรือถ้ามันไม่ดี เราก็แค่ถอยออกมา อยู่ในจุดที่ตัวเองพึงพอใจ และโฟกัสสู่เป้าหมายของเราอย่างเต็มที่ดีกว่า
เอาเป็นว่าไม่มีอะไรที่ได้มาง่าย ๆ เสมอไป การเรียนของ ม.เอกชน ก็มีเหมือนทั่ว ๆ ไป มีเรียน มีกิจกรรม ทำโปรเจคเหมือนกันหมด สอบไม่ผ่านก็ต้องไปลงเรียนใหม่ จนกว่าจะผ่านตามเกณฑ์มหาวิทยาลัย เพราะฉะนั้นเข้าไปเรียนแล้ว ก็ต้องตั้งใจเหมือนกันหมด เพราะถ้าคิดว่าเรียนง่าย จบง่าย ไม่ต้องตั้งใจมาก เราอาจจะตกแล้วเรียนไม่จบโดยไม่รู้ตัวนะ
เมื่อก่อนหลายคนมีความคิดแบบนี้อยู่มากว่า จบเอกชนมา ยังไงก็หางานยาก จนมองข้ามไปว่าปัจจุบันการเรียน ม.เอกชน ค่อนข้างให้ความสำคัญกับภาษามาก บางคนก็เลือกเรียน ม.เอกชนเลย เพราะอยากที่จะเรียนรู้ด้านภาษาในการเรียนส่วนใหญ่จะมีให้นักศึกษาได้ไปเรียนรู้งานจากต่างประเทศบ้าง เรียนกับอาจารย์ต่างชาติบ้าง ซึ่งทุกวันนี้ภาษาจำเป็นมาก ใครได้ภาษาไป โอกาสมาแน่นอน เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเรียนจบมาจากที่ไหนก็ไม่สำคัญ ถ้าตัวเรามีความสามารถจริง ๆ ไม่ว่าที่ไหนเขาก็ต้องการ จะไม่ได้หยุดแค่จบมาจากสถาบันไหน
ความคิด ความเชื่อของแต่ละคนเราไม่สามารถไปเปลี่ยนแปลงได้ สิ่งที่เราทำได้คือ การพิสูจน์ตัวเอง ทำและสร้างผลงานออกมาให้ได้ อย่าไปปิดกั้นความคิดเพียงเพราะความเชื่อผิด ๆ เพราะไม่ได้มีอะไรมาการันตีเลยว่า เรียนที่นี้ จบจากสถาบันนี้แล้วเราจะประสบความสำเร็จหรือไม่ประสบความสำเร็จ
บทความที่เกี่ยวข้อง
[รีวิว] เด็ก ม.กรุงเทพ เมื่อได้มาใช้ชีวิต เป็นไปอย่างที่คิดมั้ย ?
[รีวิว] ม.อัสสัมชัญ (ABAC) มหาวิทยาลัยหลักสูตรอินเตอร์
[รีวิว] สถาบันเทคโนโลยีไทย - ญี่ปุ่น สถาบันเล็ก ๆ สไตล์ญี่ปุ่นที่เดียวในไทย
ค่าเทอม ม.เอกชน 9 แห่ง ที่เด็กอยากรู้มากที่สุด