น้อง ๆ หลายคนอาจจะคิดว่าการทำกิจกรรมทำให้การเรียนของเราเสียหายเลยไม่กล้าที่จะทำกิจกรรม เน้นการเรียนเพียงอย่างเดียว แต่จริง ๆ แล้ว “พี่พิงค์” เชื่อว่าเราควรแบ่งเวลาให้ทั้งการเรียนกับกิจกรรมควบคู่กันไปเพราะจริง ๆ แล้วการทำกิจกรรมให้อะไรมากกว่าที่เราคิดเยอะเลยล่ะค่ะ ในบทความนี้พี่พิงค์ได้นำพี่ ๆ ที่เรียกได้ว่าเป็นคนที่ “เรียนดี กิจกรรมเด่น” ทั้งหกคนจากรั้วจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาแนะนำให้น้อง ๆ ได้รู้จักกัน มาดูกันค่ะว่าพี่ ๆ เค้าทำกิจกรรมอะไรกันบ้าง การเป็นเด็กกิจกรรมนั้นมีข้อดีอย่างไร และพี่ ๆ มีเทคนิคอะไรในการแบ่งเวลาให้ทั้งการเรียนและกิจกรรมอย่างเหมาะสมกันค่ะ
คนแรกที่พี่พิงค์จะแนะนำให้รู้จักนั่นก็คือ
เราเรียนคณะวิศวะกรรมศาสตร์ และเราก็อยู่ภาคไฟฟ้า บรรยากาศการเรียนจะเป็นพวกเลคเชอร์ เรียนพวกทฤษฎีเยอะและค่อนข้างมีการสอบย่อยบ่อยคือ สอบทุกอาทิตย์ และก็มีทำแลปบ้างเทอมละตัว
กิจกรรมที่ทำก็จะเกี่ยวกับการถ่ายภาพ ปีหนึ่งทำพวกการถ่ายภาพทั่วไปในคณะ พอขึ้นปีสองเราก็เข้ามาในชมรมการถ่ายภาพหรือ CU PHOTO CLUB ปีสามเราก็ทุ่มเทให้กับกิจกรรมของชมรมล้วน ๆ ซึ่งเราก็เป็นประธานชมรมปีที่แล้วด้วย CU PHOTO CLUB เป็นชมรมถ่ายภาพ สมาชิกแต่ละคนก็มีใจรักในการถ่ายภาพทั้งนั้น ไม่เกี่ยวว่าถ่ายเก่งไม่เก่ง มีพื้นฐานหรือไม่มีพื้นฐาน ขอแค่มีใจรักในการถ่ายภาพก็สามารถเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชมรมได้ กิจกรรมของชมรมก็จะเป็นพวก การไปถ่ายภาพแบบ one-day trip, มี advance lecture จากช่างภาพเก่ง ๆ มาแนะนำเทคนิคการถ่ายภาพ, และก็มีพวกค่าย เพื่อเสริมทักษะการถ่ายรูปของมหาวิทยาลัย
หน้าที่หลักของเราคือเรียนอยู่แล้ว เราเลยแบ่งเวลาให้เรื่องเรียนก่อนเป็นอันดับแรก การเรียนต้องมาก่อนกิจกรรม เพราะการเรียนมันเป็นสิ่งที่สำคัญในชีวิตนิสิต แต่สองสิ่งที่เราต้องใช้เพื่อเป็นพื้นฐานในการทำงานในอนาคตนั่นก็คือทั้งกิจกรรมและวิชาการ งานอดิเรกอื่น ๆ ของเราก็เช่น การเล่นฟุตบอล ออกกำลังกาย อ่านหนังสือนอกห้องเรียน หนังสือที่เราสนใจส่วนมากจะเป็นเรื่องของเทคโนโลยี
อย่างแรกคือเราได้ความสามารถในการ “ย่อยของยากให้เป็นของง่าย” คือเราทำงานกับคนหลายคณะ และแต่ละคนก็เข้าใจไม่เหมือนกัน เราต้องทำให้คนอื่นเข้าใจเหมือนกับเรา อีกอย่างหนึ่งคือคอนเนคชั่นที่ไม่ใช่เรื่องของผลประโยชน์แต่เป็นเรื่องของการแลกเปลี่ยนแนวคิดมากกว่า
ในมหาวิทยาลัยสำคัญอยู่สองอย่างคือ เรื่องความรับผิดชอบกับเรื่องการบริหารเวลา ถามตัวเองว่าความรับผิดชอบหลักคืออะไร นอกจากนั้นมันก็มีพื้นที่ต่าง ๆ ที่เราสามารถใช้ลองสิ่งที่เราชอบ แล้วถามตัวเองต่อว่าเราต่อยอดจากสิ่งที่เราชอบได้หรือเปล่า ถ้าเราชอบเราก็ทำและบางทีมันก็เปลี่ยนชีวิตเราได้เลย
ส่วนคนที่สองที่พี่พิงค์จะพาไปทำความรู้จักก็คือ
มีทั้งเรียนและทำกิจกรรม แต่กิจกรรมค่อนข้างเยอะกว่าคณะอื่นเพราะเป็นคณะที่เราได้ความรู้จากการลงมือปฏิบัติ บรรยากาศสนุกสนาน มีการทำงานร่วมกันทั้งรุ่นพี่รุ่นน้อง ในหนึ่งกิจกรรมก็มีหลายตำแหน่งซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ทุกคนได้ทำ มีทั้งวิชาพื้นฐานและก็วิชาเจาะลึกในแต่ละแขนงของการสื่อสารค่ะ
งานส่วนมากของเราจะเป็นการทำ PR ให้กับทางมหาวิทยาลัย มีทั้งของ CHULA EXPO คล้าย ๆ กับงานวิชาการ มีของ อบจ. ละครนิเทศฯ และก็ CU BAND ด้วย นอกจากนั้นก็มีไปทำเป็น copy writer ให้กับงาน “TED X CHULA” และเราก็ยังได้มีโอกาสเป็น บก. ของนิตยาสาร “CHU” ของมหาวิทยาลัย ตอนมีพวกเทศการละครเราก็ไปร่วมแสดงด้วย
เราจะยึดเรียนก่อนเป็นหลัก แล้วถ้าเราเห็นว่ามันมีเวลาพอไปทำกิจกรรมได้ เราก็เลือกที่จะทำ อย่างเช่นช่วงสอบเราก็อาจจะทำกิจกรรมลดน้อยลงมาหน่อย พยายามไม่ให้ชนกับเวลาเรียน แต่ส่วนใหญ่เค้าจะนัดประชุมตอนเย็นหลังเลิกเรียนเลยไม่ชนกับเวลาเรียน แต่มีช่วงงานบอลประเพณี มันชนกับเวลาเรียนเราต้องขอออกก่อน เราก็ต้องทำจดหมาย อธิบายให้อาจารย์เข้าใจ และต้องกลับมาตามกับเพื่อนว่าอาจารย์สั่งอะไรไปบ้าง และเราก็อีเมลไปถามอาจารย์หรือเพื่อนถ้าสงสัยในบทเรียนที่เราได้ขาดไป
เวลาทำกิจกรรมมันทำให้เรารู้ว่าเราชอบอะไรหรือเราไม่ชอบอะไร เวลาเราถามจากคนอื่นเค้าก็แค่บอกว่าแต่ละตำแหน่งทำหน้าที่อะไรเท่านั้น แต่เราไม่รู้หรอกว่าดีไม่ดีจนกว่าเราจะได้ลงมือทำจริง ๆ และเราก็จะรู้ด้วยว่าเราทำอะไรได้ดี เราก็เอามาต่อยอดได้ด้วย
สำหรับน้อง ๆ ที่กำลังจะเข้ามาปีหนึ่ง เราต้องเข้าใจว่ามัธยมกับมหาวิทยาลัยมันก็ต่างกัน บางคนคิดว่าการทำกิจกรรมทำให้การเรียนเสีย แต่ถ้าเราบริหารเวลาเป็นมันจะคุ้มค่ามาก ๆ เราอยากให้น้อง ๆ เปิดใจทำกิจกรรม มันเป็นการก้าวออกจาก comfort zone และเราจะสามารถพัฒนาตัวเองต่อไปได้ในอนาคต
คนที่สามที่จะพาไปรู้จักนั่นก็คือ
ตอนปีหนึ่งจะมีวิชาเกี่ยวกับการคำนวณ เรื่องแคลคูลัส มีวิชาบัญชี และมันก็จะไต่ระดับขึ้นไปเรื่อย ๆ เป็นขั้นต้น ขั้นกลาง ขั้นสูง เด็กบางคนก็รู้อยู่แล้วเรื่องพื้นฐาน แต่เราไม่รู้เลย เราก็ต้องอ่านเพิ่ม ปรับตัว จัดตารางอ่านหนังสือ ห้ามขี้เกียจ กิจกรรมในคณะจะเป็นชมรมกีฬาแทบทุกชนิดเลย มีชมรมทางวิชาการและการบำเพ็ญประโยชน์ด้วย
เป็นคนหลัก ๆ ในการทำบ้านรับน้อง เราจะเรียกว่าเป็น “แม่บ้าน” ของบ้านรับน้องที่ชื่อว่า “บ้านโจ๋” คือตอนรับน้องของจุฬาฯ มันจะแบ่งการรับน้องเป็นบ้าน ๆ ไป น้อง ๆ ปีหนึ่งก็สามารถเลือกได้ว่าเราอยากเข้าไปอยู่ในบ้านไหน นอกจากนั้นเราก็ เป็นหัวหน้าฝ่ายกิจกรรมของกรุ๊ปในบัญชี เป็นหัวหน้ากิจกรรมของชมรมวิ่ง และ PR ของ Mc of Chula หรือพิธีกรแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั่นเอง นอกจากนั้นก็มีการไปค่ายชมรมชื่อค่ายว่า “จุฬาสู่ชุมชน” เป็นค่ายสอนที่เน้นในการปลูกฝังให้เด็ก ๆ ให้ได้กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก
ช่วงเปิดเทอม เวลาเรียนตามตารางเรียนเราก็จะตั้งใจเรียนอย่างเต็มที่ กิจกรรมส่วนใหญ่ที่มีตอนเย็นเราก็จะตั้งใจทำกิจกรรมอย่างเต็มที่เหมือนกัน เราต้องทำทุกอย่างให้เต็มที่ในช่วงเวลาของมัน
ข้อดีของการเป็นเด็กกิจกรรมคือเราจะได้คอนเนคชั่นแบบเยอะมาก ๆ อย่างที่สองคือได้ค้นพบมุมมองของตัวเอง เราไม่เคยทำ PR เลย พอได้เข้ามาทำเราก็เปิดมุมมองใหม่ของเราอีกมุมหนึ่ง PRเราเป็นเด็กบัญชีคนเดียวที่เหลือเป็นเด็กนิเทศ ตอนเข้ามาแรก ๆ ก็ไม่รู้จะทำได้ไหม แต่พอเข้าไปจริง ๆ ก็รู้ว่าเป็นเด็กบัญชีก็ทำได้ สามคือเราได้รู้จักวิธีการสร้างสมดุลระหว่างกิจกรรมกับการเรียน พอเราทำไปเรื่อย ๆ เราเริ่มจัดการเวลาเป็น และสี่คือเราได้รับประสบการณ์จากการทำกิจกรรม เมื่อเราโตขึ้นเราเชื่อว่าเราจะรับมือปัญหาต่าง ๆ ได้ง่ายกว่าคนที่ไม่เคยทำกิจกรรมมาก่อน
อย่างแรกคืออยากบอกน้อง ๆ ว่ามหาวิทยาลัยมีสิ่งน่าตื่นตาตื่นใจ มีความรู้ที่มีค่า เราอยากให้น้อง ๆ ให้ใช้สิ่งเหล่านี้ให้ครบในชีวิตมหาลัย มันมีหลายสิ่งหลายอย่างให้เราได้รู้และทดลอง มหาวิทยาลัยมันเหมือนสนามเด็กเล่นให้ลองผิดลองถูก แต่พอออกไปแล้วเราไม่สามารถผิดเล็กผิดน้อยได้เลย ถ้ามีโอกาสก็อยากให้น้องคว้าเอาไว้ดีกว่า การใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยเป็นเหมือนการต่อจิ๊กซอว์ขนาดเล็กไปเรื่อย ๆ เพื่อเติมเต็มตัวตนของเราให้เติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่ดีและส่งต่อสิ่งดี ๆ ให้คนอื่นต่อไปได้
คนเก่งคนที่สี่ของเรานั่นก็คือ
มีการเรียนเป็นส่วนมากเลยจะเป็นเลคเชอร์ เราก็ต้องตั้งใจฟังอาจารย์ จดให้ครบ ส่วนมากคือต้องแบ่งเวลาไปอ่านหนังสือเองด้วยเพราะเวลาเรียนเราได้แก่นเฉย ๆ ถ้าเรียนแค่ในห้องมันไม่มีทางสอบผ่านอยู่แล้ว ยังไงก็ต้องไปทำโจทย์เอาเองอยู่ดี
เป็นเชียร์ลีดเดอร์ของคณะ และก็มีทำบ้านรับน้อง การซ้อมเชียร์ลีดเดอร์ถือว่าเราซ้อมกันหนักมาก ตอนปิดเทอมซ้อมวันปกติเริ่มซ้อมแปดโมงถึงห้าโมง พอใกล้ ๆ เปิดเทอมก็ซ้อมแปดโมงถึงสองสามทุ่ม เพื่อให้ทันวันที่มีงานต่าง ๆ และอย่างตอนเปิดเทอมมาเรียนเสร็จก็ไปซ้อมสี่โมงถึงห้าทุ่ม คือถือว่ามันเหนื่อยแต่มันก็คุ้มค่ามากถ้าเราบริหารตัวเองดี ๆ
อันนี้แล้วแต่คนนะแต่เราชอบที่จะแบ่งเวลาเป็นเดือน ๆ ไปมากกว่า คือถ้าเดือนนี้เป็นเดือนของการทำกิจกรรมเราก็จะทำกิจกรรมให้เต็มที่มาก ๆ เวลาเรียนก็ตั้งใจเรียนแต่อาจจะไม่ได้ทบทวนเท่าไหร่เพราะเอาเวลามาทุ่มกับกิจกรรม แต่พอหมดช่วงที่ทำกิจกรรมแล้วเราก็จะกลับมาเรียนอย่างเดียว อ่านหนังสือทุกวันและอ่านหนักมาก ๆ เพื่อให้ทันกับช่วงเวลาสอบ
ได้รู้จักเพื่อนใหม่ และได้เป็นที่รู้จักของคนในคณะ ได้ at หรือคะแนนกิจกรรมด้วย ตอนทำบ้านรับน้องก็ได้การทำ process คือเวลาเราจะทำอะไร เราต้องรู้จักการทำงานอย่างเป็นระบบ เราก็ต้องมีแผนสำรองไว้ด้วย สมมุติถ้าฝนตกระหว่างทำกิจกรรมต้องย้ายน้องไปไหน เก็บกระเป๋ายังไง เป็นต้น นอกจากนั้นคือเราได้รู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม ต้องทำงานกับอีกหลาย ๆ ฝ่าย เพื่อให้มันออกมาเป็นบ้านรับน้อง
ต้องแบ่งวเลาให้ถูก เราต้องรับผิดชอบตัวเองเพราะมันไม่เหมือนมัธยมศึกษา ไม่มีครูมาบังคับเราแล้ว เวลาเล่นคือเล่นเรียนคือเรียน จะทำให้เราใช้เวลาได้อย่างคุ้มค่าที่สุด
ต่อมาเรามาทำความรู้จักกับคนเก่งคนที่ห้าของเราดีกว่าค่ะ
เราอยู่เอกดนตรี วิชาคณะเป็นเลคเชอร์อยู่แล้ว มีลงพื้นที่ไปฝึกงานบ้าง และก็มีไปฝึกสอนปีนึงด้วย แต่ยังไงก็ตามเอกดนตรีมันก็จะเน้นปฏิบัติมากกว่าเอกอื่น ๆ อยู่แล้ว
แบ่งเป็นสามส่วนหลัก ๆ คือ เรื่องดนตรี เราเป็นสมาชิกชมรมดนตรีไทย คอยเล่นดนตรีเวลามีงานต่าง ๆ ส่วนที่สองคือเป็นเลขาของรุ่น และส่วนที่สามก็ทำงานพิธีกร ล่าสุดก็ได้ทำ mc of chula นอกจากนั้นเราก็เคยไปโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมที่ลาวและเวียดนาม คือนักเรียนก็ไปแชร์วัฒนธรรมกัน นอกจากนั้นยังได้ไปเรียนรู้ประเทศอาเซียนผ่านกระบวนกิจกรรมที่อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นโครงการของจุฬาฯ ด้วย
จะแบ่งเป็นสองส่วนคือ สิ่งที่ต้องทำจริง ๆ คือพวกการบ้าน กับสิ่งที่เราอยากทำเช่นเข้าฟิตเนส เล่นดนตรี กิจกรรม อ่านหนังสือนอกบทเรียน และพยายามทำสองอย่างให้เท่ากัน เราต้องลำดับความสำคัญให้เป็น นอกจากนั้นคือพี่มองเป็นรายละเอียดเล็ก ๆ ด้วย อย่างเช่น คาบนี้เราได้อะไร ไปกิจกรรมตรงนี้ได้อะไร สมมุติการเรียนเป็นเลคเชอร์ แต่กิจกรรมเป็นพิธีกรงานใหญ่ ๆ เราก็จะเลือกกิจกรรม และเราควรแบ่งเวลาให้การนอนด้วย แต่ก่อนเราเป็นคนทำงานหนักมากแล้วมันส่งผลเสียต่อสุขภาพ เรามือชาคิดอะไรก็ไม่ออกเลย มันทำให้เรานึกขึ้นได้ว่าเราควรที่จะทำเพื่อสุขภาพบ้าง เราทำงานหนัก เราก็ต้องพักผ่อนด้วย เราทำทุกอย่างให้ดีที่สุดเท่าที่เวลามันจะเอื้ออำนวย พี่เรียนหนักมากจริง ๆ เรียนภาษารัสเซียไปด้วยฝึกสอนไปด้วย แต่เคล็ดลับมันอยู่ที่การแบ่งเวลาให้ดี เราพยายามทำทุกอย่างตามเวลาของมัน และเวลาลงวิชาเรียนเราก็จะลงวิชาที่มันช่วยเสริมกัน ที่เนื้อหามันต่อยอดด้วยกันได้ พอเราบูรณาการหลาย ๆ วิชาเข้าด้วยกันแล้วเราก็ไม่เหนื่อยมาก
กิจกรรมก็เป็นการเรียนรู้อีกอย่างนึง เราได้เรียนรู้ทฤษฏีในห้องเรียน พอกิจกรรมที่เป็นภาคสนาม มันก็มีให้เลือกเยอะมาก เราก็สามารถเลือกได้ เราก็ได้เห็นอะไรที่หลากหลาย พี่เรียนครุศาสตร์ แต่จบมาทำงานรายการทีวีก็ได้มาจากกิจกรรมเนี่ยแหละ เรื่องของทุนการศึกษาก็ด้วย มันก็ต้องได้ทั้งเรียนและกิจกรรมถึงจะได้ทุนไม่ใช่เรียนอย่างเดียวแต่กิจกรรมคือไม่เอาเลย
รู้สึกว่าชีวิตในมหาลัยมีแค่สี่ห้าปีบางคนอาจจะหกปี เราไม่ได้เงินเดือนในการเรียน แต่เราเสียค่าเรียน มันมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เยอะมาก พี่ก็อยากจะให้น้อง ๆ ใช้ให้คุ้ม อะไรที่ไม่เคยทำ ตรงนี้เป็นโอกาสให้ลองแล้ว เราจะล้มจะพลาดก็ได้ พอเราเข้าสู่การทำงานจริง ๆ เราจะไม่ได้ทดลองล้มและลุกเหมือนกับตอนอยู่ในมหาวิทยาลัยแล้ว
และคนสุดท้ายที่พี่พิงค์จะพาแนะนำให้น้อง ๆ ได้รู้จักนั่นก็คือ
ส่วนใหญ่เป็นการเรียนในห้องเรียน จดเลคเชอร์ จะพิเศษตรงที่มีประเพณี เรียกว่าประเพณี “เข้าเดือนออกเดือน” เข้าเดือนคือหนึ่งเดือนก่อนสอบนิสิตจะอ่านหนังสือสอบไม่ค่อยทำกิจกรรม เก็บตัว ส่วนออกเดือนเป็นช่วงที่มีกิจกรรมเล่นกันสนุกสนาน ไม่ได้เคร่งเครียดเท่ากับการเข้าเดือน แต่ช่วงเวลาอื่นก็มีกิจกรรมเยอะเหมือนกัน เช่นการแข่งกีฬา กิจกรรมทางวิชาการ การจัดค่ายอาสาที่ นิติสัมพันธ์จัดร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปีหนึ่งเป็นเราก็ได้เป็นหัวหน้าชั้นปี หลัก ๆ คือการติดต่อประสานงานกับอาจารย์หรือเจ้าหน้าที่ในคณะ คอยจัดกิจกรรมที่ปีหนึ่งได้รับมอบหมายให้ทำ อย่างเช่น การทำเฟรชชี่เกมส์ คอยคุมสแตนเชียร์ ควบคุมการเดินพาเหรด พอมาปีสองเราก็เป็นผู้ช่วยรองหัวหน้านิสิตฝ่ายกิจการภายนอก ทำงานกับ อบจ. ซึ่งจะดูแลกิจกรรมส่วนกลางของมหาวิทยาลัย เช่น งาน CU FIRST DATE หรือ งานรับน้องก้าวใหม่เป็นต้น
แบ่งช่วงเข้าเดือนออกเดือนตามคณะเลย คือหนึ่งเดือนก่อนสอบเราก็จะไม่ทำกิจกรรม อาจจะมีบ้างแต่ก็เป็นการประชุมนิด ๆ หน่อย ๆ ไม่ได้ทำเยอะ แบ่งเวลาอ่านหนังสือทบทวนตอนกลับบ้าน ตอนอยู่มหาลัยช่วงทำกิจกรรมก็ทำกิจกรรมให้เต็มที่ แบ่งเป็นเดือน ๆ ไปเลย เดือนนึงอ่านเดือนนึงทำกิจกรรม กิจกรรมนอกคณะก็มีชนบ้างนิดหน่อยแต่ก็ไม่ได้กระทบอะไรมากเพราะทางคณะก็จะไม่มีกิจกรรมอยู่แล้วตอนช่วงใกล้สอบ
รู้จักคนเยอะขึ้น ฝึกการแก้ไขปัญหา เวลาเราเจอปัญหาที่เราไม่คาดคิดมันก็เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปในตัว และเราได้ฝึกการวางแผนงานในแต่ละกิจกรรมให้ทุกคนพอใจด้วยเพราะในการทำงานมันเป็นไปไม่ได้ที่จะเอาแค่ความคิดของใครคนใดคนนึงเท่านั้นแต่ทุกคนต้องร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เราก็พยายามทำให้ผลลัพท์ออกมาเป็นที่พอใจของทุกคน
อยากให้น้อง ๆ ใช้ชีวิตให้เต็มที่เพราะเข้ามาก็มีแค่สี่ปี เราจบไปแล้ว ถ้าเราไม่ได้ทำอะไรเลยเราก็จะเสียดายเวลาที่เข้ามาในมหาวิทยาลัย อยากให้ทำกิจกรรมเยอะ ๆ แต่ก็อย่าให้กระทบกับการเรียนของเรา เราอยากให้ลองมาทำกิจกรรมกันเพราะมันได้อะไรเยอะกว่าที่เราคิดจริง ๆ
เป็นยังไงกันบ้างคะสำหรับแนวคิดของพี่ ๆ ที่ “เรียนดี กิจกรรมเด่น” ของเราในวันนี้ ต้องยอมรับเลยค่ะว่าพวกพี่ ๆ เค้าเก่งจริง ๆ ค่ะ ที่สามารถบริหารเวลาทั้งการเรียนและกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ หวังว่าน้อง ๆ คงได้รับแนวคิดดี ๆ จากบทความนี้และนำเทคนิคดี ๆ ในการเรียนและการทำกิจกรรมไปปรับใช้กันนะคะ สุดท้ายนี้พี่พิงค์อยากจะเชิญชวนน้อง ๆ ให้เปิดใจและกล้าที่จะทำกิจกรรมดูค่ะ แล้วน้อง ๆ จะได้สัมผัสกับประสบการณ์และข้อดีของการทำกิจกรรมอย่างแน่นอนค่ะ
เรื่อง : พิชญา วัชโรดมประเสริฐ