Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา
Education > TCAS > บทความ
[รีวิว] การออกแบบอุตสาหกรรม จุฬาฯ เรียนอะไรบ้าง แชร์จากปากรุ่นพี่ ID

  Favorite

มีไอเดีย ชอบการคิดสร้างสรรค์ คิดสิ่งใหม่ ๆ สนใจเทคโนโลยี เข้าใจความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ รวมทั้งการตลาด และจิตวิทยา เพื่อตอบโจทย์ความต้องการผู้บริโภค สำรวจตัวเองเลยว่าเรามีข้อต่อไปนี้เหมือนรุ่นพี่ปี 2 ภิ้ม-ภัชชา เศวตวิลาศ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือไม่ ถ้ามีข้อใดข้อหนึ่งหรือมากกว่านั้นจะสามารถเรียนสาขานี้ได้ไหม มาฟังคำตอบจากรุ่นพี่กัน

 

ค้นหาตัวเองว่าชอบจากการวาดรูป

ใช่ค่ะ ชอบวาดรูป ชอบทำกราฟิก ประดิษฐ์ของขวัญ เหมือนเป็นงานอดิเรกเลยค่ะ การค้นหาว่าเราชอบอะไร รู้ได้จากเราอยู่กับอะไรได้นานที่สุดโดยที่ไม่เบื่อ จากตรงนี้กลายเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้ค้นหาตัวเองเจอว่าชอบทางนี้ เลยเลือกเรียนสาขาการออกแบบอุตสาหกรรม พอเข้ามาเรียนแรก ๆ ก็ไม่รู้ว่าจะใช่ไหม ซึ่งระหว่างที่เรียนไปก็เหมือนเป็นการค้นหาตัวเองไปเรื่อย ๆ ก็รู้สึกว่ายิ่งเรียนยิ่งชอบค่ะ
 

 


ความสำคัญของการออกแบบอุตสาหกรรม

การออกแบบเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ คิดอย่างสร้างสรรค์ ออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีคนใช้เยอะทำให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งการคิดสิ่งใหม่ ๆ หรือแม้แต่คิดเพื่อพัฒนาส่งเสริมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีกว่าให้เขาเลือกด้วย และที่สำคัญเราจะได้เรียนตั้งแต่ความรู้ในเรื่องเทคโนโลยี การเลือกใช้วัสดุ กรรมวิธีการผลิต หลักการออกแบบสื่อโปสเตอร์ สื่อโฆษณา กราฟิกดีไซน์ แพ็กเกจจิ้ง เซรามิก เป็นต้น

 

การเรียนแต่ละชั้นปี

ปี 1 เรียนพื้นฐานดรออิ้ง เขียนแบบ วิธีใช้อุปกรณ์ช็อปพื้นฐานพวกไม้ เซรามิก ปูน พื้นฐานการออกแบบ งานสองและสามมิติ ปี 2 เรียนงานสี่มิติโดยใช้โปรแกรมขึ้นโครงสร้าง เทอมสองจะมีวิชาเลือกให้เลือก เช่น เซรามิก ออกแบบเครื่องประดับ ทอผ้า กราฟิกฟอร์โปรดัก กราฟิกฟอร์แพกเกจจิ้ง กราฟิกแลนดิ้ง ปี 3 ค้นคว้าทำวิจัย เพื่อเขียนนำเสนอส่งหัวข้อธีสิสปีสี่ และฝึกงานตอนปิดเทอมปีสามขึ้นปีสี่ พอปี 4 จะทำธีสิสอย่างเดียว เทอมแรกเป็นหาวิธี แนวทางในการทำ เทอมสองก็ลงมือได้เลย ส่วนโปรแกรมที่เรียนก็มี Illustrator, Rhino, Blender, Processing ประมาณนี้ค่ะ
 


งานออกแบบ Sharing Space

เป็นงานกลุ่มตอนปี 2 ค่ะ สำหรับแบ่งปันสิ่งของให้คนในภาคไอดีใช้ ซึ่งมันจะมีตู้แชร์สิ่งของนี้อยู่ แต่คนใช้น้อย เพราะว่าเป็นตู้ที่เก่าแล้ว ดูไม่น่าใช้ กลุ่มเราก็เลยทำการศึกษาว่าต้องใช้รูปทรงแบบไหน สร้างวิธีการใช้ยังไงให้มีคนเข้ามาใช้มากขึ้น จากนั้นทำขึ้นเป็นรูปสามมิติส่งให้อาจารย์ คือการคิดออกแบบต้องมีการศึกษาจากเคสที่มีคนทำมาก่อนแล้ว เพื่อที่จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้เรียนรู้วิธีการได้
 

ภาพ : ภัชชา เศวตวิลาศ ผลงาน Sharing Space

 

ภาพ : ภัชชา เศวตวิลาศ ผลงานจิวเวอรี่


คุณสมบัติของคนเรียนสาขานี้

ต้องทนความกดดันได้ เพราะว่างานค่อนข้างเครียดเวลาหาไอเดียมาสร้างงาน แต่ถ้าเราหาทางออกไม่ได้ก็สามารถปรึกษาอาจารย์ขอคำแนะนำได้ตลอด ต้องฝึกเรื่องภาษาอังกฤษด้วย เพราะวิชาการตลาดอาจารย์เป็นชาวต่างชาติต้องมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีจินตนาการ และพร้อมที่จะพัฒนาผลงานที่เราออกแบบ

 

ตลาดงาน

เรียนจบด้านนี้สามารถประกอบอาชีพได้หลากหลายมาก โดยใช้ความรู้ความสามารถที่ได้รับจากการเรียนรู้และฝึกฝนมาทั้งหมด เราเรียนหลายอย่าง แล้วแต่ว่าใครจะถนัดทางด้านไหนที่สุด และนำไปประกอบอาชีพ ได้ทั้งการออกแบบและการวางแผนงานต่าง ๆ เช่น กราฟิกดีไซเนอร์ แพกเกจจิ้งดีไซน์เนอร์ จิวเวลรี่ดีไซเนอร์ ครีเอทีฟ ช่างปั้นเซรามิก งานสื่อต่าง ๆ รวมถึงงานอื่น ๆ ที่สามารถใช้ความคิดสร้างสรรค์เข้าไปประกอบ
 


 


ข้อมูลการสอบเข้า

สาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
www.arch.chula.ac.th

TCAS 61

รอบที่ 3 รับตรงร่วมกัน
รอบที่ 4 แอดมิชชั่น

Admissions

GPAX 20%, O-NET 30%, GAT 10%, PAT 4 40%

Tags
Posted by
Plook TCAS
ข่าวค่ายและกิจกรรม
ข่าวรับตรงล่าสุด
Follow us