Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา
Education > TCAS > บทความ
[รีวิว] ปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ (paramedic) ม.มหิดล

  Favorite

ถ้าใครอยากเรียนสายการแพทย์แต่ไม่อยากเป็นหมอ สาขาใหม่ที่น่าสนใจอย่าง ปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ (paramedic) คือทางเลือกที่จะทำให้เราได้เรียนคณะแพทย์ ได้ขึ้นเวร และเรียนกับอาจารย์ใหญ่เหมือนนักศึกษาแพทย์ด้วย แต่ความพิเศษของสาขานี้คือ การเรียนกู้ชีพขั้นสูงระดับแอดวานซ์ แบบรุ่นพี่ปี 2 พี-พีรวิชญ์ พลอยนำพล สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 
 

 


เพราะหัวใจที่ยังเต้นอยู่จึงเกิดเป็นแรงบันดาลใจ

คือผมอยากเรียนสายการแพทย์ แต่ไม่เก่งถึงขั้นจะเป็นหมอ ตอนนั้นเลือกไว้สองสาขา กายภาพ กับ ปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ ซึ่งผมก็ศึกษาข้อมูลก่อนว่าสาขานี้เรียนอะไร ทำไมวุฒิที่ได้เป็นวิทยาศาสตรบัณฑิต แต่อยู่ในคณะแพทย์ พอได้ศึกษาข้อมูลว่าเป็นการเรียนกู้ชีพขั้นสูง สามารถใช้เครื่องมือช่วยชีวิตได้ ถ้าเกิดเราสามารถทำให้คนคนหนึ่งที่หัวใจหยุดเต้นกลับมาเต้นอีกครั้งหนึ่ง เราจะรู้สึกดีมากแค่ไหน
 


ความสำคัญของสาขาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์

แก้ไขภาวะฉุกเฉินของผู้ป่วยอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และกระทบต่อผู้บาดเจ็บให้หน่อยที่สุด ซึ่งมันสำคัญมาก ต้องมีพื้นฐานการทำหัตถการทางการแพทย์ หมายถึงการรักษาผู้ป่วยโดยใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าสู่ร่างกายผู้ป่าย เช่น การใช้เข็มฉีดยาฉีดเข้าในเส้นเลือดดำ การใส่ท่อช่วยหายใจ เป็นต้น จะได้เรียนกับอาจารย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินร้อยเปอร์เซนต์ อุปกรณ์การเรียนครบได้ใช้จริง
 


การเรียนแต่ละชั้นปี

ปี 1 เรียนความรู้ตอน ม. 6 ปูพื้นฐานวิชาแพทย์เหมือนกันหมด เรียนวิชาเรียน Anatomy และได้เข้าไปศึกษากับอาจารย์ใหญ่บ้าง

ปี 2 เรียนวิชาภาค สรีระวิทยา การซักประวัติ วิธีตรวจร่างกาย เรียนทำวิจัย สิ่งที่พิเศษสุด ๆ สำหรับสาขานี้คือ มีการขึ้นเวร แบ่งเป็นเวรเช้า (08.00-16.00 น.) เวรบ่าย (16.00-00.00 น.) สาเหตุที่อาจารย์ให้เราขึ้นเวร เพราะต้องการให้นักศึกษาเห็นภาพรวมการทำงาน ได้สังเกตการณ์ (Observer) กับพี่แพทย์ปี 6 (Extern) ที่เป็น นักศึกษาแพทย์เวชปฏิบัติ ดูการซักประวัติคนไข้ ปีนี้จะมีพิธีมอบชุดกาวน์เอาไว้เรียนในภาค กับชุดสกิล (ชุดสีน้ำเงินปฏิบัติงาน)

ปี 3 จะเข้ามาเรียนที่ รพ.รามา เจาะลึกเรื่องโรคต่าง ๆ เรื่องยา เรียนหลักการยกเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ศึกษาเคสจำลอง

ปี 4 ฝึกงาน ออกไปตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ที่ละ 2 อาทิตย์วนกันไป คือเราไม่ต้องประกบใคร สามารถออกได้เลย และทำวิจัยกลุ่ม ถือเป็นวิชาปราบเซียน
 

 


เคสปฏิบัตินอกสถานที่

มีครับ เวลาที่ขึ้นเวรจะไปสังเกตการณ์พี่ปี 6 แต่เวลาออกไปกับ Ambulance (รถพยาบาล) พี่ปี 3 จะไปประกบพี่ Paramedic ของรามา บางครั้งถ้าเราสามารถไปด้วยได้ พี่ปี 3 จะชวนเราไป เคสมีเคสหนึ่งที่ได้ออกไปคือ เส้นเลือดแตกในสมอง แต่ตอนนั้นผมยังทำได้แค่สังเกตการณ์กับส่งของให้พี่ ในรถพยาบาล 1 คัน มีบุคลากรทางการแพทย์ 4 คนรวมคนขับ พอถึงซีนที่เกิดเหตุเราก็ลงรถพร้อมกัน ทำหน้าที่ซักประวัติ ล็อกศีรษะ เตรียมยาเตรียมของ บันทึกจดเวลาครับ

 

ต้องเป็นคนแบบไหนที่จะเรียนสาขานี้ได้

ต้องใจรักและอยากที่จะช่วยคนเพราะมันเหนื่อยมาก แต่ถ้าเราชอบความเหนื่อยนั้นมันจะหายไปเอง ขึ้นเวรผมต้องยืน 8 ชม. อาจจะได้พักนิดเดียว มันเรียนหนัก ต้องอดทน อย่างวิชาวิจัยต้องเรียนวันเสาร์ วันอาทิตย์ด้วย ถ้าเกิดวันไหนเช้ามีเรียนที่ศาลายา ตอนบ่ายต้องเข้ามาเรียนวิชาภาคที่รามา จะเหนื่อยเดินทางหน่อย ต้องแบ่งเวลา เช็คตารางเรียน วางเวลาให้เป๊ะทำตรงนี้ถึงตรงนี้กี่โมง แล้วมีเวลามากพอไหมที่จะไปทำอย่างอื่นต่อ
 

 


ตลาดงาน

ปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ทำงานกับ Ambulance (รถพยาบาล) ตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ไปแก้ไขภาวะฉุกเฉินผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุ ถ้าผู้ป่วยรายนั้นออกซิเจนไม่พอเราก็ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ หรือหัวใจหยุดเต้นก็ต้องใช้เครื่อง Defib การเคลื่อนย้ายที่พิเศษ เช่น ถอดหมวกกันน็อกยังไงไม่ให้กระทบกระเทือนจุดอื่นที่ทำให้ผู้ป่วยเจ็บเพิ่มขึ้น ซึ่งทำที่รถพยาบาลได้เลย พอถึงโรงพยาบาลก็ส่งต่อให้พี่แพทย์ฉุกเฉิน อาจจะเข้าไปสังเกตการณ์ Consult พี่แพทย์ ครับ

 

ข้อมูลการสอบเข้า

สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล
med.mahidol.ac.th

 

TCAS

รอบที่ 2 โครงการพื้นที่, โครงการโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ
รอบที่ 3 รับตรงร่วมกัน
รอบที่ 4 Admissions
รอบที่ 5 รับตรงอิสระ

 

Admissions

GPAX 20%, O-NET 30%, GAT 20%, PAT 2 30%
 

 

 

Tags
Posted by
Plook TCAS
ข่าวค่ายและกิจกรรม
ข่าวรับตรงล่าสุด
Follow us