Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา
Education > TCAS > บทความ
[รีวิว] คณะสัตวแพทย์ ม.เกษตรศาสตร์ การเรียนที่มากกว่าการรักษาสัตว์

  Favorite

สวัสดีครับ พี่ตาร์ก ปี 3 คณะสัตวแพทยศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ นะครับ จะมาแชร์ประสบการณ์การเรียน สัตวแพทย์ ที่ ม.เกษตร การเรียนที่มากกว่าการรักษาสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ แน่นอนว่ายังไงก็ต้องเกี่ยวข้องกับสัตว์โลกที่น่ารักนั่นเอง เป็นเรื่องด้านการรักษาและการจัดการด้านสุขภาพ เราจะเรียนตั้งแต่พื้นฐานของพื้นฐานเลย ก็จะเรียนทั่ว ๆ ไป ทั้งวิชาเคมี พันธุศาสตร์ เรียนเกี่ยวกับกายวิภาคของสัตว์ การทำงานในระบบต่าง ๆ ของร่างกายสัตว์ เพื่อนำไปใช้ในการเรียนด้านการรักษาในอนาคต

 

ภาพบรรยากาศการเรียนครับ

ภาพ : ก็อต VET79 KU

 

เรียนจบปี 2 ก็เฮฮฮฮ

ภาพ : ก็อต VET79 KU


สัตวแพทย์ไม่มีสาขา

การเรียนวิชาสัตวแพทย์เราจะไม่แยกตั้งแต่แรกครับ ก็คือเราจะเรียนเหมือนกันโดยมีสัตว์ที่เป็นโมเดลในการเรียนตอนช่วง ปี 1 – ปี 3 คือ สุนัข หมู วัว และม้า เพื่อเป็นพื้นฐานในการประยุกต์ใช้ในสัตว์อื่น ๆ พอเรียนถึง ปี 4 – ปี 6 ก็จะใช้จากพื้นฐานเดิมในการประยุกต์การเรียนในสัตว์ต่าง ๆ เจาะลึกด้านการรักษา มีเรียนโมเดลเกี่ยวกับปลาและสัตว์ป่าเพิ่ม ซึ่งพอเราถึง ปี 6 เราจะได้เรียนแบ่งเป็น 2 เทอม เทอมหนึ่ง เรียนสัตว์เล็ก และอีกเทอมหนึ่งเรียนสัตว์ใหญ่ (สัตว์เศรษฐกิจ) แต่เมื่อพอเรียนจบเราสามารถจะเลือกศึกษาในชนิดที่เราสนใจ ถ้าหากลองแบ่งง่าย ๆ ก็จะเป็น 1.สัตว์เลี้ยงประเภท สุนัข แมว 2.สัตว์เศรษฐกิจ เช่น หมู ไก่ วัว แพะ แกะ 3.สัตว์เลี้ยงExotic (สัตว์เลี้ยงที่ไม่ใช่สุนัข แมว และสัตว์เศรษฐกิจ) 3.สัตว์ป่า 4.สัตว์น้ำ เราสามารถจะเลือกได้ในระหว่างการเรียนเลยจากการฝึกงานที่จะทำให้เราได้ลองทำก็จะมีทั้งฝึกงานบนโรงพยาบาลสัตว์เล็ก ที่โรงพยาบาลสัตว์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ทั้งสัตว์เล็ก และ Exotic pet และฝึกงานตามฟาร์ม ตามสวนสัตว์ ซึ่งหากเราพบตัวเองว่าเราสนใจทางด้านไหน เราสามารถฝึกงานได้เพื่อต่อยอดในการเลือกเป็นสาขาในอนาคต

 

การเรียน 6 ปีของสัตวแพทย์

พี่ขอแบ่งคร่าว ๆ ให้เข้าใจก่อนนะ ก็คือถ้าเป็นที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะสัตวแพทย์จะเรียนทั้งหมด 2 ที่ คือที่บางเขน และที่วิทยาเขตกำแพงแสน ที่บางเขนเราจะเรียนตอน ปี 1 – ปี 3 เรียนในส่วน Preclinic เรียนพื้นฐานก่อนนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนด้านการรักษา ปี 4 – ปี 5 เรีนนที่วิทยาเขตกำแพงแสน เรียน Clinic ก็คือนำความรู้ทาง Preclinic มาใช้ และ ปี 6 จะแบ่งการเรียนเป็น 2 เทอม เทอมหนึ่งจะเรียนที่บางเขนการรักษาสัตว์เล็ก และอีกเทอมหนึ่งจะเรียนที่วิทยาเขตกำแพงแสนรักษาสัตว์ใหญ่ครับ

ปี 1 เราจะเรียนพื้นฐานของวิชาต่าง ๆ เพื่อปรับตัวก่อนครับ เช่น ในเทอม 1 เราจะเรียนเคมีสำหรับสัตว์แพทย์ (เรียกกันว่า chem vet) ที่เหลือก็จะเป็นวิชาบูรณาการและภาษาอังกฤษ เทอม 2 กายวิภาคเปรียบเทียบคอร์เดต และพันธุศาสตร์ ที่เหลือก็จะเป็นวิชาเลือกเหมือนเดิมครับ

ปี 2 – ปี 3 : จะเรียนเกี่ยวกับที่จะใช้ในอนาคตทางด้านการสัตวแพทย์มากขึ้น โดยแบ่งเป็นกลุ่มวิชา กายวิภาคศาสตร์ วิชาพยาธิวิทยา (โรคต่าง ๆ ) วิชาเภสัชวิทยา (ยา) วิชาสรีรวิทยา วิชาจุลชีววิทยาและภูมิคุ้มกัน วิชาปรสิตวิทยา

ปี 4 – ปี 6 จะเรียนหลักต่าง ๆ ในการรักษาในอนาคตครับ

 

แรงบันดาลใจ

อย่างที่อธิบายไปเรื่องสาขาคร่าว ๆ แล้ว ตอนนี้พี่เรียนอยู่ปี 3 ถ้าหากเรียนจบจะเลือกเรียนไปทางด้านสัตว์ป่า แรงบัลดาลใจก็มาจากการที่เป็นคนที่ชอบการเห็นสัตว์อยู่ในป่าอยู่โดยตามธรรมชาติของมันเอง มองเห็นความสมดุลของธรรมชาติ ซึ่งปัจจุบันเราคนมีส่วนเกี่ยวข้องในป่า การทำให้สัตว์เจ็บป่วย ไม่มีที่อยู่อาศัย แหล่งอาหาร การที่จะเป็นสัตวแพทย์สัตว์ป่าเพื่อช่วยรักษาสัตว์เหล่านี้ที่ได้รับผลกระทบจากพวกเรานี่เอง และจะเป็นแรงผลักดันในการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับประชาชน

 

การค้นหาตัวเอง

จริง ๆ ก็เหมือนกับคนอื่นที่เข้ามา ครั้งหนึ่งเราเคยเลี้ยงสัตว์ เรารัก เราอยากที่จะดูแลเขา แล้วพอถึงช่วงมัธยมปลายก็ได้รู้จักกับสัตว์ป่าในสวนสัตว์นึกขึ้นมาว่าเมื่อตอนเด็ก ๆ เราก็เคยเห็นเค้าอยู่ในนี้ ตอนนี้ก็ยังเป็นอยู่ แต่พี่อยากเห็นที่เค้าอยู่จริง ๆ ในธรรมชาติเลยคิดว่าจริง ๆ แล้วเราอาจจะเห็นเค้าอยู่ผิดที่หรือเปล่า เริ่มศึกษาและสนใจทางด้านสัตว์ป่ามากขึ้น และก็คิดว่าใช่แล้วล่ะ พอเราสอบติดเราก็ได้มาเจออะไรมากมายในคณะสัตวแพทย์ สัตว์ป่าเป็นสาขาที่ใหม่กว่าอื่นในประเทศเรา แต่มีชุมนุมอนุรักษ์สัตว์ป่า ตอนปี 1 ได้มีโอกาสไปค่ายแล้วได้รับความรู้ทั้งสัตว์ป่า และด้านการอนุรักษ์ ก็เริ่มใช่กับตัวเองขึ้นมาเรื่อย ๆ ตอนนี้ก็ตัดสินใจได้แน่วแน่แล้วครับ

 

ความสุขในการเรียน

บอกเลยว่าสัตวแพทย์ มีอะไรให้เรียนรู้ตลอดเวลา เรียนหนัก กิจกรรมก็หนัก กิจกรรมจะมีไว้เพื่อค้นหาตัวเองในทางด้านความถนัด และฝึกฝนตัวเองเพื่อใช้ในการประกอบอาชีพในอนาคต ยกตัวอย่างชุมนุมในคณะสัตวแพทย์

1. ชุมนุมสัตวแพทย์อาสาเพื่อชนบท จะได้ลงพื้นที่ในการช่วยเหลือประชาชนที่ทำการเลี้ยงสัตว์ปศุสัตว์

ภาพ : เต้ VET79 KU

 

ภาพ : เต้ VET79 KU

 

ภาพ : เต้ VET79 KU

 

ภาพ : เต้ VET79 KU

 

ภาพ : เต้ VET79 KU

 

ภาพ : เต้ VET79 KU

 

2. ชุมนุมอนุรักษ์สัตว์ป่า จะเป็นชุมนุมจัดค่าย กิจกรรมให้ความรู้ กิจกรรมดูนก ซึ่งค่ายจะมีจัดให้กับน้อง ๆ มัธยมด้วย หากสนใจติดตามได้ที่ เพจ Wildlife Conservation Club Vet. KU ได้ครับ ในค่ายจะมีกิจกรรมมากมายความรู้และศึกษาธรรมชาติ เช่น ดูนก

ภาพ : แฮม VET79 KU

 

แฮม VET79 KU

 

ภาพ : แฮม VET79 KU

 

ความสำคัญของวิชาชีพสัตวแพทย์

วิชาชีพสัตว์แพทย์ ไม่เพียงแต่แค่รักษาสัตว์ แต่ยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับคนด้วย ทั้งด้านของอาหารการกิน ควบคุมเพื่อให้อาหารการกินของคนนั้นดี การควบคุมโรคที่อาจเกิดการติดต่อจากสัตว์ก็เป็นหน้าที่ของสัตวแพทย์

 

เทคนิคเตรียมตัวสอบเข้า

หัวข้อนี้พี่ได้เขียนไว้ในบทความเรื่องการเตรียมสอบอย่างละเอียดแล้วครับ เข้าไปอ่านกันได้ Click >> อยากเรียน สัตวแพทย์ เตรียมตัวอย่างไร… สิ่งหนึ่งที่ต้องรู้คือ การรู้เขารู้เรา ก่อนอ่านหนังสืออย่าลืมศึกษาข้อมูลด้านการเข้าศึกษา ต้องสอบข้อสอบไหนบ้าง วิชาไหนบ้าง และนำข้อสอบเก่า ๆ มานั่งดูก่อนเพื่อจำกัดเนื้อหาในการอ่าน และทำแบบฝึกหัดเยอะ ๆ และสำคัญสุด ๆคือความตั้งใจครับ ถ้าตั้งใจ รัก อย่างไรเราก็ผ่านมันไปได้แน่นอนครับ

 

ตลาดงาน

เรียกได้ว่าสัตวแพทย์มีหลากหลายทางอาชีพมากพอสมควร ทั้งเป็นเซลล์อุปกรณ์ทางการสัตวแพทย์ หมอสัตว์ประจำอยู่ตามโรงพยาบาลหรือคลินิค สังกัดกรมปศุสัตว์ กรมควบคุมโรค กรมอุทธยาน และอื่น ๆ อีกมากมายเลยครับ ถ้าหากเรารักไม่มีทางตกงานและมีความสุขแน่นอนครับ

 

ข้อมูลการสอบเข้า

คณะสัตวแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
vet.ku.ac.th

TCAS
รอบที่ 1 โครงการนักกีฬาทีมชาติและเยาวชนทีมชาติฯ
รอบที่ 1 โครงการเรียนล่วงหน้า
รอบที่ 2 โครงการรับนักกีฬาดีเด่นฯ
รอบที่ 2 โครงการรับนักเรียนดีเด่นจากโรงเรียนสาธิตฯ
รอบที่ 3 รับตรงร่วมกัน GPAX 3.20 วิชาสามัญ (อังกฤษ, คณิต 1, ฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา)

Admissions
GPAX 20%, O-NET 30%, GAT 20%, PAT 2 30%

 

เรื่อง : รัฐพงศ์ สุขขีวรรณ์ 

Tags
Posted by
Plook TCAS
ข่าวค่ายและกิจกรรม
ข่าวรับตรงล่าสุด
Follow us