สำหรับน้อง ๆ ม.ปลายคนไหนที่แอบเล็งไว้ว่าจะเข้าเรียนคณะจิตวิทยา ควรมีความรู้เกี่ยวกับจิตวิทยาติดตัวไว้บ้างก็ดีนะ ความรู้เบสิค ๆ ที่คนเรียนจิตวิทยาควรรู้คงหนีไม่พ้นแนวคิดหลักทางจิตวิทยา พร้อมกับหน้าตา ประวัติของเจ้าของแนวคิดนั้น ๆ วันนั้นพี่จะมาแชร์ 5 แนวคิดทางจิตวิทยา ที่จะช่วยทำให้น้อง ๆ ได้เปรียบคนอื่น ๆ อย่างแน่นอน และเพื่อเอาไปใช้ตอบในข้อสอบเพิ่มคะแนนได้อีกด้วย
นักจิตวิทยากลุ่มนี้กล่าวว่าพฤติกรรมของมนุษย์เป็นผลจากการทำงานของสมอง ระบบประสาท สารเคมีภายในร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป จนแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เราสามารถพบเห็นกันได้ในชีวิตประจำวัน นักจิตวิทยา นักสรรีวิทยาจะทำการศึกษาสมองแต่ละส่วนว่าควบคุมอวัยวะส่วนไหน และดูว่าสารเคมีต่าง ๆ ในระบบประสาทและระบบไร้ท่อเกี่ยวข้องกับจิตใจ ร่างกาย อารมณ์อย่างไรบ้าง จนสรุปได้ว่าพฤติกรรมเกิดจากการส่งสารเคมีผ่านเส้นประสาททั่วร่างกาย ทำให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหว เกิดการรับรู้ความรู้สึก สัมผัสจากสิ่งเร้าภายนอก
กลุ่มนี้ศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์จากการสังเกต เชื่อในสิ่งที่เห็นด้วยตามากกว่า ไม่ใช่เรื่องภายในที่มองไม่เห็น และจับต้องไม่ได้ สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดพฤติกรรม คือ สิ่งแวดล้อมที่มีเงื่อนไขนั้นเอง น้อง ๆ หลายคนอาจจะเคยได้รู้มาบ้างเกี่ยวกับการทดลองวางเงื่อนไขกับหมา เกิดจากความช่างคิดช่างสังเกตของนักสรรีวิทยาและพบว่า สุนัขน้ำลายไหล ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้อาหาร จึงเริ่มทำการทดลองหาสาเหตุ ด้วยการสั่นกระดิ่ง ก่อนจะให้อาหารสุนัข และวัดปริมาณน้ำลายของเจ้าสุนัข หลังจากนั้นเริ่มแค่สั่นกระดิ่งอย่างเดียว พบว่าน้ำลายสุนัขมีปริมาณพอ ๆ กับสั่นกระดิ่งและให้อาหารด้วย นี่แหละคือสาเหตุที่ทำให้สุนัขน้ำลายไหล นักจิตวิทยาในกลุ่มนี้ได้แก่ สกินเนอร์ (B.F. Skinner) วัตสัน (J.B.Watson) พาฟลอฟ (Ivan Pavlov)
นักจิตวิทยากลุ่มแนวคิดพฤติกรรมนิยม ภาพซ้ายแรกคือ สกินเนอร์ (B.F. Skinner) วัตสัน (J.B.Watson) พาฟลอฟ (Ivan Pavlov) ตามลำดับ
วิธีจำแนวคิดนี้ง่าย ๆ เลยให้นึกถึงเจ้าตัวหนอนสีเขียวชิเมโจได๋ ชิเมโจได๋ เพราะการสะกดจิตเป็นวิธีการสำคัญของแนวความคิดจิตวิเคราะห์ ซิกมุนด์ ฟรอยด์ เจ้าของความคิดนี้ เชื่อว่าพฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากสัญชาติญาณตั้งแต่กำเนิด ซึ่งเป็นสัญชาติญาณจากส่วนลึกของจิตใจ มนุษย์จะเก็บกดสิ่งที่ไม่ดี สิ่งที่สังคมไม่ยอมรับ สิ่งที่ตัวเราเองไม่ชอบ ไว้ภายในจิตใจ จนสะท้อนออกกลายเป็นพฤติกรรมต่าง ๆ เช่น การพูดคำหยาบ พลั้งปากด่าว่าคนอื่น ความฝัน อาการเจ็บป่วยทางจิต เป็นต้น
ซิกมุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์
จากแนวคิดพฤติกรรมนิยม (Behavioral Approach) มีแนวคิดย่อย ๆ อยู่ว่า เมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้น จะเกิดการแสดงพฤติกรรมทันที แต่สำหรับนักจิตวิทยากลุ่มรู้คิดกลับคิดว่า มนุษย์จะไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าทันที แต่จะมีกระบวนการคิดก่อนที่จะแสดงพฤติกรรม ตรงนี้นี่เองทำให้มนุษย์กับสัตว์แตกต่างกัน เพราะมนุษย์จะรู้จักกาลเทศะ รู้ว่าอะไรควรไม่ควรที่จะแสดงออก ส่วนสัตว์เมื่อมีสิ่งเร้า จะตอบโต้กับสิ่งเร้าทันที ยกตัวอย่างไปสักหน่อยก็แล้วกัน ส่วนนักจิตวิทยาที่อยู่กลุ่มนี้จะมี วุนดท์ (Wilhelm Wundt) และเจมส์ (William James)
นักจิตวิทยาในกลุ่มจิตวิทยารู้คิด ภาพซ้าย คือ วุนดท์ (Wilhelm Wundt) และภาพขวา คือ เจมส์ (William James)
เรียกว่าเป็นกลุ่มแหกคอก แหวกแนว ไม่เชื่อว่าพฤติกรรมเกิดจากสิ่งเร้า สัญชาติญาณต่าง ๆ อย่างที่กลุ่มแนวคิดก่อนหน้านี้ได้กล่าวไว้ แต่เชื่อว่าพฤติกรรมของคนจะเป็นอย่างไร อยู่ที่การรับรู้ ประสบการณ์ส่วนตัว และความสามารถในการตีความต่อเหตุการณ์ และยังเน้นย้ำว่ามนุษย์มีอิสระในการเลือกทำสิ่งต่าง ๆ กำหนดชีวิตของตัวเอง อนาคตตัวเอง และเชื่อว่ามนุษย์มีศักยภาพมากพอที่จะพัฒนาให้ตนเป็นมนุษย์ที่ดี นักจิตวิทยากลุ่มนี้ ได้แก่ มาสโลว์ (Abraham Maslow) และรอเจอส์ (Carl Rogers)
นักจิตวิทยาในกลุ่มจิตวิทยารู้คิด ภาพซ้าย คือ มาสโลว์ (Abraham Maslow) และภาพขวา คือ รอเจอส์ (Carl Rogers)
เรื่อง : พิชญา เตระจิตร